จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ช้างทรงพระนเรศวร


             เจ้าพระยาปราบหงสาวดี เดิมชื่อ พลายภูเขาทอง (มีบางบันทึกบอกว่ามีชื่อเดิมว่า "พลายมิ่งเมือง" ในคำให้การชาวกรุงเก่าเรียก "พลายพุทรากระแทก") เป็นช้างคู่พระบารมีในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หลังจากขึ้นระวางแล้ว ได้บรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาไชยานุภาพ ต่อมาได้รับพระราชทานนามว่า เจ้าพระยาปราบหงสาวดี ในครั้งที่ชนะศึกยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2135 (ซึ่งในปัจจุบัน ได้เปลี่ยนมาเป็นวันที่ 18 มกราคม) ถูกบันทึกไว้ในพงศาวดาร เชื่อกันว่าเป็นช้างที่มีความจงรักภักดี และมีความกล้าหาญเสียสละช่วยกอบกู้ชาติให้แผ่นดิน มีลักษณะทางคชลักษณ์ที่ดี ส่วนหนึ่งได้แก่หลังที่โค้งลาด คล้ายก้านกล้วยชื่อ พลายพุทรากระแทก หรือ พลายพุทรากระทืบ ได้มาจากในพงศาวดาร ซึ่งระบุว่า ช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรตัวเล็กกว่าพลายพัทธกอของพระมหาอุปราชา สู้แรงไม่ได้ แต่อาศัยยันโคนต้นพุทรา ทำให้แบกได้ล่าง และสมเด็จพระนเรศวรฟันด้วยพระแสงของ้าว ต้องคอของพระมหาอุปราชาขาดกับคอช้าง
           จากจดหมายเหตุของ de Coutre ระบุว่าเจ้าพระยาปราบหงสา ล้มลงในปี ค.ศ. 1596 (พ.ศ. 2139) หลังศึกยุทธหัตถี 4 ปี สมเด็จพระนเรศวรทรงโปรดได้มีการสร้างพระเมรุ เผาศพช้างหลวงอย่างสมพระเกียรติยศเจ้าพระยา ถึง 7 วัน 7 คืน
          วัดช้างใหญ่ เคยเป็นที่ตั้งของเพนียดคล้องช้าง เป็นที่ต่อช้างฝึกช้างป่า และเป็นที่อยู่ของช้างป่าจำนวนมาก วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ.2360 ตั้งอยู่ใกล้กับวัดตูม ตำบลวัดตูม อำเภอพระนครศรีอยุธยา ตามตำนานท้องถิ่นกล่าวไว้ว่า เป็นวัดที่มีความเกี่ยวข้องกับชาวมอญที่มีความสามารถพิเศษในการเลี้ยงช้างฝึกถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ช้างที่สำคัญคือ เจ้าพระยาไชยยานุภาพระวางสูงสุดที่เจ้าพระยาปราบหงสาวดี เป็นช้างพระที่นั่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และเจ้าพระยาปราไตรจักร เป็นช้างพระที่นั่งของสมเด็จพระเอกาทศรถ หัวหน้าชาวมอญได้รับแต่งตั้งเป็นจาตุรงคบาท ความคุมช้างศึก ต่อมาได้เป็นทหารเอกแม่ทัพหน้าชนะศึกหลายครั้งคือ พระยาราชมนู ตำแหน่งสูงสุดที่เจ้าพระยาอัครเสนาบดีสมุหกลาโหม เพื่อเป็นอนุสรณ์ของชาวมอญและความสามารถของพระยาช้าง เมื่อร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัดไว้ในพระพุทธศาสนาจึงได้ให้นามว่า วัดช้างใหญ่

ภาพถาย อนุสรณ์สถานดอนเจดีย์ จ.กาญจนบุรี