ท่องธรรมทั่วไทย

Read more
image01

อริยสงฆ์บรมครูไทย

Read more
image01

สมเด็จพระสังฆราช

Read more
image01

พระพิฆเนศ

गणेश हमारे देश में लोक देवता के रूप में पूजे जाते हैं। कन्याकुमारी से लेकर कश्मीर तक गणेशजी की पूजा होती है। वे बुद्धि और विद्या के देवता समझे जाते हैं। ऋद्धि और सिद्धी के स्वामी और सुख-समृद्धि देने वाले देव भी गणेश ही हैं। लड्‌डू उनका प्रिय भोजन है और चूहा उनकी सवारी। लम्बे चौड़े कान और मस्तक पर लगी सूँड हमारी उस पौराणिक कहानी को प्रकट करती है कि स्वयं शिवजी ने अपने पुत्रा गणेश के सिर पर हाथी का सिर काटकर लगा दिया था। शिव और पार्वती के दो पुत्रा गणेश और कर्तिकेय हैं। कार्तिकेय को शक्ति का देवता माना जाता है।

Read more
image01

วัดประจำ ๙ รัชกาล

Read more
image01

พระอภิธรรมโชติกะ

Read more
image01

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

พระคาถาชินบัญชร






สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
วัดระฆังโฆสิตารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
"หมั่นสร้างบารมีไว้...แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง "

ลูกเอ๋ย ... 
ก่อนที่จะเที่ยวไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด 
เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง 
คือ บารมีของตนลงทุนไปก่อน 
เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอ 
จึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย ... 
หากไม่เช่นนั้นแล้วเจ้าจะเอาตัวไม่รอด 
เพราะ ... 
หนี้สินในบุญบารมีที่เที่ยวไปขอยืมมาจนพ้นตัว ... 
เมื่อทำบุญกุศลได้บารมีมา 
ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมด 
ไม่มีอะไรเหลือติดตัวแล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า ... 
หมั่นสร้างบารมีไว้แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง

จงจำไว้นะ ... 
เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้ 
ครั้นถึงเวลา ... ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่ ... 
จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน 
เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลย 
จะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า ...



"จากประสบการณ์จริง ขอน้อมกราบองค์พ่อ"

      


          เมื่อเราเข้าไปสักการะพระพิฆเนศ  หรือผู้เขียนจะเรียก ท่านว่าองค์พ่อพิฆเนศ  เราจะมีความรู้สึกจิตใจโปร่งโล่งเย็นสบาย  ไม่อึดอัด เหมือนมาเยื่ยมญาติผู้ใหญ่ ที่เรานับถือและมีความสนิทกับท่านเป็นพิเศษ  เรามองดูท่านมีพลังอันศักดิ์สิทธิ์  และมีความขลังเสมือนท่านรับฟังเราอยู่ทุกเรื่องราว  

          "ก่อนขอพรท่าน"  ขอให้ทำจิตใจให้สงบนิ่งให้ดีเสียก่อน  ให้มีความตั้งใจแล้วก็ค่อย ๆ เล่าให้ท่านฟังถึงความทุกข์ร้อนภายในใจของเรา  ผ่านทางกระแสจิตอย่างช้า...ช้า...  และให้ชัดเจนอย่างมีสมาธิ  เราไม่ต้องเรียกร้อง  ไม่ต้องต่อรองอะไรกับท่าน  แต่ท่านสามารถรับรู้ได้ว่าจะแก้ไขได้โดยวิธีใด  เพราะท่านเป็นทั้งเทพขจัดอุปสรรค  และเทพแห่งอุปสรรคในองค์เดียวกัน .....แล้วให้สังเกตุชีวิตเราจะค่อย ๆ มีความเปลี่ยนแปลง  ทุกเรื่องที่เกิดขึ้นต่อไปข้างหน้าหลังจากขอพรองค์พ่อแล้ว  ปัญหาต่าง ๆ จะคลี่คลายไปได้  ขอแค่เพียงศรัทธาและมีความเชื่อมั่นในพระองค์ท่าน  ความศรัทธาย่อมอยู่เหนือเหตุผลเสมอ  ก็เพราะมีความเชื่อนี่แหละ  ปาฎิหาริย์จึงเกิดขึ้น  

          เมื่อเราเล่าให้องค์พ่อ  ฟังเสร็จแล้วก็บอกท่านว่าให้ช่วยเหลือเรื่องอะไรก่อนเป็นสิ่งแรก  อาจจะต้องใช้เวลาอยู่สักหน่อยตามปัญหาว่ามากหรือน้อย  แต่ก็จะค่อย ๆ คลี่คลายไปในทางที่ถูกต้องเสมอ  หรืออาจโดนปัญหากระหน่ำ  ถาโถมเข้ามาอย่างหนัก  ทำให้ชึวิตเปลี่ยนเส้นทางไปเลย  ดังเช่นผู้เขียนได้ประสบการณ์มาเอง  

           "วันหนึ่งผู้เขียนอยากทำกิจการขึ้นมาใหม่  ทำไปทำมาเกิดปัญหาแก้ไขไม่ได้นับวันก็ยิ่งหนักขึ้นไปเรื่อย ๆ  จึงนึกถึงองค์พ่อ  แล้วไปขอพรท่าน  อ้อนวอนให้ท่านช่วยแก้ไขปัญหา   ผลที่เกิดตามมาหลังจากที่ไปขอพรท่านไม่นาน  ปัญหาต่าง ๆ กลับหนักหน่วงกว่าเดิมอีกหลายเท่า  ต้องตัดใจทิ้งกิจการนั้นไปเลย   โดยไม่ท่างเลือกใด ๆ ทั้งสิ้น  แล้วชีวิตก็เปลี่ยนเส้นทางใหม่ไปเลยอย่างรวดเร็ว

           มนุษย์เราชอบชินอยู่กับสิ่งเดิม ๆ ยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้  แต่เมื่อเปลี่ยนนแปลงและโดนโถมทับแล้วก็ต้องยอมรับทุกข์นั้น  เพื่อเปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีกว่า  เราจะนั่งจมในกองทุกข์เดิม ๆ ทำใมเล่า  เพราะสิ่งเหล่านั้นมันเป็นทุกข์ตัวเราของเรา  ยังยึดมั่นถือมั่นไม่ยอมปล่อย  เมื่อเจอสิ่งที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงก็อาจจะเศร้าโศกเสียใจ  เสียยิ่งกว่าสิ่งใด  

          ท่านผู้อ่านทราบมั๊ย  การที่ผู้เขียนได้ตัดทิ้งกิจการนั้น  ทำให้ผู้เขียนเองรู้สึกสบาย และไม่เครียดกับปัญหาที่เกิดขึ้น  เบาสบาย  มีเวลาคิดไตรตรอง  ว่าเราจะทำอะไรต่อไป....." เป็นเกล็ดเล็ก ๆ ที่ได้ประสบกับตัวเอง....เมื่อเวลาผ่านไปและมองย้อนกลับมาจะรู้ว่า  "องค์พ่อได้ช่วยเราแล้วโดยไม่รู้ตัว"   ใช้เวลาแค่พริบตา  ชีวิตก็เปลี่ยนแปลงทันที่
          เสียรู้และหลงโง่จมอยู่กับสิ่งเดิม ๆ อยู่ตั้งนานตอนนี้ดีแล้ว ฉลาดขึ้นเยอะเลย.....





บูชาพระพิฆเนศตามราศี

บูชาพระพิฆเนศตามกำลังวัน


บทความ  ท่องธรรมทั่วไทย 

การบูชาสักการะ ขอพรพระพิฆเนศ

การบูชาสักการะ  แล้วเกิดผลอย่างไร




            การสักการบูชาขอพร พระพิฆเนศ ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นอาชีพใด ประชาชนทุกชนชั้นวรรณะ ก็สามารถขอพรจากพระองค์ท่านได้ไม่จำกัด เพราะท่านเป็นมหาเทพที่ใจดี มีปัญญาลึกล้ำ แก้ไขปัญหาได้เก่ง จนได้รับการขนานนามให้เป็น "เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ"

          วิธีบูชาพระพิฆเนศ วันที่เริ่มต้นครั้งแรกควรเริ่มบูชาในวันอังคาร หรือวันพฤหัสบดี เพื่อถวายตัวเป็นผู้ศรัทธา หรือลูกศิษย์ของพระพิฆเนศ วันต่อไปให้สักการะตามปกติ จะเป็นฤกษ์ยามใดถือเป็นมงคลทั้งสิ้น ของที่ใช้ในการสักการบูชาได้แก่ น้ำสะอาด นม น้ำมะพร้าว แต่ถ้ามีเครื่องสังเวยควรใช้ผลไม้และขนมต่างๆ เช่น อ้อย กล้วยสุก มะพร้าว ... เลือกถวายได้ตามศรัทธา และกำลังทรัพย์ แต่ถ้าสามารถถวายได้ทุกวันก็จะเป็นการดี

             วันและเดือนที่เหมาะแก่การบูชาพระพิฆเนศ หลังจากที่ถวายตัวเป็นผู้ศรัทธาในวันอังคาร หรือวันพฤหัสบดีแล้ว ก็สามารถบูชาได้ทุกวัน ทุกเดือน โปรดเข้าใจไว้ว่าไม่มีวันใดที่ไม่เหมาะแก่การบูชาพระพิฆเนศเลย ผู้ศรัทธาสามารถกราบไหว้ สักการะบูชาองค์พระพิฆเนศได้ทุกวัน ทุกเดือน และขอพรได้ตลอดเวลา

เครื่องสังเวยพระพิฆเนศ ห้ามใช้เนื้อสัตว์ทุกชนิด (สามารถใช้ขนมที่มีส่วนผสมของไข่ได้บ้าง แต่ถ้าเลือกได้ก็ควรเลี่ยง) ให้ถวายผลไม้ที่สุกแล้วเป็นหลัก อ้อย น้ำอ้อย นมวัว ขนมโมทกะ (หรือ ขนมต้มแดง ต้มขาว ของไทย) หรือขนมหวานลาดูป (ชาวอินเดียนิยมถวาย) ตลอดจนข้าวสาร เกลือ พืช ผัก งา สมุนไพร ธัญพืชและเครื่องเทศทุกชนิด ก็สามารถใช้ถวายได้


           1. การบูชาพระพิฆเณศนั้น นับเนื่องในอานิสงส์สำคัญหลายประการด้วย หากเป็นผู้ที่ศึกษาฮินดูแท้ๆ การบูชาพระพิฆเณศย่อมเป็นไปเพื่อการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดบรรลุธรรม ตามหลักโมกษะนั่นแล ด้วยว่า พระพิฆเณศแท้ที่จริงย่อมเป็นพลังงานบริสุทธิ์ พลังแห่งปัญญาอันพิสุทธิ์ การเข้าถึงพระพิฆเณศในแง่แห่งความสูงสุดทางจิตวิญญาณจึงหมายถึง การชำระมลทินภายในจิตใจให้สิ้นไป คงเหลือแต่สภาพจิตที่บริสุทธิ์ เป็นจิตแท้ดังเดิม เพื่อก้าวไปสู่การรวมเป็นหนึ่งกับพระเป็นเจ้า

           2. การบูชาพระพิฆเณศเพื่อปัญญาและการหยั่งรู้ พระพิฆเณศตามตำนานเป็นเทพแห่งปัญญาโดยชัดเจน จากเรื่องราวการเดินทางรอบโลกแข่งกันระหว่างพระพิฆเณศกับพระขันธกุมาร ทันทีที่พระอิศวรบัญชาว่าใครเดินทางรอบโลกครบ 7 รอบก่อนจะให้ผลมะม่วงแก่ผู้นั้น เมื่อพระขันธกุมารทรงนกยูงออกไปก่อน ในขณะที่พระพิฆเณศเลือกการทักษิณาวัตรพระอิศวรและพระอุมาซึ่งมีฐานะเป็นบิดา มารดาของตนแล้วกล่าวตามเนื้อหาพระคัมภีร์ว่า ผู้ใดที่ทักษิณาวัตรบิดามารดาของตนเอง ย่อมเท่ากับผู้นั้นได้เวียนรอบโลก เพราะว่าคุณของบิดามารดายิ่งใหญ่กว่าแผ่นดิน นี่คือการชี้คุณลักษณะพิเศษของปัญญา

           ไม่เพียงเรื่องนี้เท่านั้น ปัญญาญาณของพระพิฆเณศยังกล่าวไว้ในเรื่องการเขียนมหาภารตะว่า พระฤๅษีวยาสเป็นผู้บอกเล่าเรื่องราวนี้แก่พระพิฆเนศขอให้เป็นผู้เขียน ในการเขียนนั้นพระพิฆเณศกล่าวว่าอย่าให้สะดุด ต้องบอกกล่าวทีเดียวให้จบ พระฤๅษีก็แก้ว่าย่อมได้ แต่ตนจะใช้โศลกที่เข้าใจยาก เป็นปรัชญาลึกซึ้ง ต้องตีความหมายก่อนเขียน และหากพระพิฆเนศไม่เข้าใจตรงไหนก็ให้หยุดถาม ทั้งนี้ พระฤๅษีเองจะได้พักเหนื่อยด้วย แสดงว่าความสามารถในการเขียน การจำ ของพระพิฆเนศนั้นนับว่าเป็นยอด ด้วยเหตนี้ ผู้ที่นับถือพระพิฆเณศและหมั่นพิจารณา ในคุณข้อนี้ย่อมเป็นผู้ได้มาซึ่งปัญญาแห่งเทวะ ประกอบด้วยคุณความดี คึอ ความกตัญญูต่อบิดามารดา และจากเนื้อเรื่องที่กล่าวมา พระพิฆเนศยังถือว่าเป็นเทพแห่งการเขียนอ่าน ซึ่งก็คือปัญญา ดังนั้น นักเรียนนักศึกษาทั้งหลายจืงควรให้ความนับถือพระพิฆเณศเป็นพิเศษ

             การนับถือพระพิฆเนศ เพื่ออานิสงค์เรื่องปัญญาความรู้นั้น ควรที่ต้องรับถือควบคู่กับ พระแม่สรัสวดี เทวีแห่งปัญญา พรหมจรรย์ และความบริสุทธิ์ ทั้งพระนางยังเป็นเทวีแห่งศิลปวิทยาการอีกด้วย การนับถือคตินี้ จะเห็นได้ชัดจากภาพมี 3 เทพประทับอยู่ด้วยกัน ซึ่งเป็นไตรภาคีระหว่าง พระพิฆเนศ พระแม่ลักษมี พระแม่สรัสวดี ผู้ใดประสงค์ความมีปัญญา ประกอบด้วยความสำเร็จ ความร่ำรวย ความฉลาด ก็หารูปภาพเหล่านี้มาบูชาเอาเถิด (ในลักษณะตรีเทวะ หรือ ไตรภาคี หรือ ตรีเอกานุภาพ เช่น พระตรีมูรติ ก็เป็นตรีเอกานุภาพ)

               3. อำนาจแห่งอำนาจแห่งการขจัดอุปสรรค ดังที่กล่าวมา พระพิฆเนศคืออำนาจแห่งอุปสรรคและเป็นอำนาจแห่งการขจัดอุปสรรคด้วยในตัว ดังนั้น ผู้ที่บูชาพระองค์ย่อมทำกิจการงานราบรื่นหรือหากมีอุปสรรคอันใด พระองค์ท่านย่อมบำราศเสียซึ่งอุปสรรคนั้นๆ

             4. อำนาจแห่งความอุดมสมบูรณ์ ด้วยว่าศีรษะช้างของพระพิฆเนศนั้น เป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นสิริมงคล ช้างหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ ความยิ่งใหญ่ สิริมงคล ด้วยเหตุนี้ พระพิฆเณศจึงเป็นตัวแทนแห่งความอุดมสมบูรณ์ด้วย ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ในพระหัตถ์ของพระพิฆเนศนั้นมักถือขนมโมทกะอยู่ตลอดเวลา อันเป็นสื่อถึงอาหารการกินที่พร้อมเสมอ หมายความว่า พระองค์จะประทานความอิ่มหนำสำราญแก่ผู้บูชาพระองค์ ความอุดมสมบูรณ์จึงพึงบังเกิดแก่บุคคลนั้นไม่รู้สิ้น ชีวิตของผู้ที่มีพระองค์เป็นสรณะจะหอมหวานอยู่เสมอ

              5. อานาจแห่งการผู้ป้องกันภูติผีปีศาจและคุณไสยมนต์ดำทั้งปวง จากคติเรื่องพระพิฆเณศเป็นยมทูต เป็นเจ้าแห่งภูตผีปีศาจ ซึ่งคตินี้น่าจะรับจากการที่พระศิวะ ซึ่งอยู่ในฐานะบิดา ทรงมีภาคภูเตศวร และอีกประการหนุ่งทรงเป็นมหาโยคีที่อาศัยตามป่าช้าเพื่อปฏิบัติกรรมฐาน นั่งสมาธิเข้าฌานสมาบัติให้แก่กล้า และในภาคนี้ พระศิวะเองก็เป็นเจ้าแห่งภูติผี มีภูติผีทั้งหลายแวดล้อมพระองค์ พระองค์ทรงเป็นเจ้าแห่งความตาย คุณสมบัติต่างๆ ของพระศิวะถูกถ่ายทอดสู่พระพิฆเนศผู้เป็นศิวะบุตร ด้วยเหตุนี้ พระพิฆเนศจึงทรงอำนาจยิ่งใหญ่ในโลกวิญญาณ โดยพระองค์ทรงเป็นเจ้าแห่งภูติผีปีศาจทั้งหมด ทรงเป็นใหญ่เหนือใครในโลกวิญญาณ ดวงวิญญาณทุกดวงย่อมอยู่ในอาณัติแห่งพระองค์ และผู้บูชาพระองค์ย่อมปลอดภัยจากการคุกคามของภูติผีปีศาจ ทั้งคุณไสยมนต์ดำทั้งปวง เพราะพระองค์คือผู้บริสุทธิ์ คือเจ้าแห่งอำนาจเหนือธรรมชาติ ดังนั้น ผู้อยู่ใต้บารมีของพระองค์ย่อมพ้นจากภัยทั้งหลายที่มองไม่เห็นเหล่านี้

             6. อำนาจแห่งความเป็นที่รัก เนื่องจากพระพิฆเณศเป็นเทพที่บังเกิดจากพระแม่อุมาเทวี ในเบื้องต้นพระพิฆเณศย่อมเป็นที่รักแห่งนางที่สุด ภายหลังจากการต่อสู้กับพระศิวะด้วยควาเข้าใจผิดจนบานปลายทำให้ศีรษะพระพิฆ เณศหลุดไป ยังความไม่พอใจแก่พระแม่อุมา ต่อเมื่อได้มีการต่อศีรษะใหม่และมีการขอขมาพระแม่อุมา ในเหตุการณ์ดังกล่าว ทวยเทพทั้งหลายต่างมาประชุมพร้อมกัน พร้อมทั้งให้พรแก่พระพิฆเณศ พระพิฆเณศจึงเป็นที่รักของทวยเทพทั้งหลายในสากลจักรวาล พระพิฆเณศจึงเป็นผู้ประทานความเป็นที่รักแก่ผู้บูชาพระองค์อีกประการหนึ่งด้วย

และอีกมากมาย ฯลฯ



คเณศจตุรถี วันเกิดพระพิฆเนศ


คเณศจตุรถี วันเกิดพระพิฆเนศ

          เทศกาลคเณศจตุรถี นับเป็นเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการบูชาพระพิฆเนศ จะกระทำในวันแรม 4 ค่ำ เดือน 9 และวันแรม 4 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งถือว่าเป็นวันกำเนิดของพระพิฆเนศ เชื่อกันว่าพระองค์จะเสด็จลงมาสู่โลกมนุษย์เพื่อประทานพรอันประเสริฐสูงสุดแก่ผู้ศรัทธาพระองค์ท่าน เทศกาลนี้มีการจัดพิธีกรรมบูชาและการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ทั่วอินเดียและทั่วโลก มีการจัดสร้างเทวรูปพระพิฆเนศขนาดใหญ่โตมโหฬาร เพื่อเข้าพิธีบูชา จากนั้นจะแห่องค์เทวรูปไปทั่วเมืองและมุ่งหน้าไปสู่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์สายต่างๆ ถนนหนทางทั่วทุกหนแห่งจะมีแต่ผู้คนออกมาชมการแห่องค์เทวรูปนับร้อยนับพันองค์ ผู้ศรัทธาทุกคนแต่งชุดส่าหรีสีสันสวยงาม ขบวนแห่จะไปสิ้นสุดที่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เช่น แม่น้ำคงคา แม่น้ำสรัสวตี ฯลฯ แล้วทำพิธีลอยเทวรูปลงสู่แม่น้ำหรือทะเล

          เทศกาลคเณศจตุรถีและพิธีกรรมต่างๆ กระทำกันมาแต่โบราณ มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมาย และหนึ่งในพิธีกรรมที่กระทำกันก็คือ
"เอกวีสติ ปัตรบูชา" หรือการบูชาด้วยใบไม้ 21 ชนิดเป็นเวลา 21 วัน (อ่านเรื่องการบูชาด้วยใบไม้ได้จากหน้าแรก)

          ในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ.2538 มีเหตุการณ์ที่ฮือฮากันมากที่สุดก็คือ ปรากฏการณ์ที่เทวรูปดื่มนมสดก็ปรากฏขึ้นมาทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วยซึ่งตรงกับเทศกาลประกอบพิธี คเณศจตุรถี หรือพิธีอุทิศต่อพระคเณศพอดีทำให้ปรากฏการดังกล่าวได้รับความสนใจไปทั่วโลก หนังสือพิมพ์ที่ตีพิมพ์เรื่องราวดังกล่าวขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ผู้คนแตกตื่นพากันไปดูเทวรูปดื่มน้ำนมกันแพร่หลาย

          ในวันที่ประกอบพิธีคเณศจตุรถีนั้น ประชาชนทั้งหลายต่างพากันมาทำสักการะบูชารูปเคารพของพระคเณศที่ปั้นด้วยดิน (เผา ) เครื่องบูชาจะประกอบไปด้วยดอกไม้ (โดยเฉพาะดอกไม้สีสดใส เช่น สีแดง, สีเหลือง, สีแสด,) ขนมต้ม, มะพร้าวอ่อน, กล้วย, อ้อย, นมเปรี้ยว,(แบบแขก) ขณะทำการบูชา ผู้บูชาจะท่อง พระนาม 108 ของพระองค์ หลังจากการบูชาแล้วก็จะเชิญพราหมณ์ ผู้ประกอบพิธีมาเลี้ยงดูให้อิ่มหนำสำราญ และมีข้อห้ามในวันพิธีคเณศจตุรถีนี้คือ ห้ามมองพระจันทร์อย่างเด็ดขาด และถือกันว่าถ้าผู้ใดได้มองพระจันทร์ (เห็นพระจันทร์) โดยพลาดพลั้งเผลอเรอไป พวกชาวบ้านก็จะพากันแช่งด่าผู้นั้นทันที่ และที่ชาวบ้านด่านั้น ก็เป็นความหวังดี มิได้ด่าด้วยความโกรธแค้น แต่ด่าเพราะเชื่อกันว่าการด่าการแช่งนั้นจะทำให้คนๆนั้นพ้นจากคำสาปไปได้
ซึ่งความเชื่อนี้ มีเรื่องเล่าที่มาอยู่ 2 เรื่อง...
          คือสืบเนื่องมาจากการที่พระคเณศพลัดตกจากหลังหนูจนท้องแตก (เพราะหนูตกใจที่มีงูเห่าเลื้อยผ่านหน้า และพระคเณศเสวยขนมต้มมามาก) ขนมต้มทะลักออกมาพระคเณศ ก็รีบเก็บขนมต้มยัดกลับไปในพุง และจับงูเห่าตัวนั้นมารัดพุงขณะเดียวกันพระจันทร์ ก็เผอิญมาเห็นเข้าก็อดขำไม่ได้หัวเราะออกมาดังสนั่นพระคเณศโกรธยิ่งนัก เอางาขว้างไปติดพระจันทร์จนแน่น ทำให้โลกมืดลงทันที่ เพราะไฟดับ (เหมือนราหูอมจันทร์)

          พระอินทร์และทวยเทพทั้งหลายทราบเรื่อง ก็ต้องพากันไปอ้อนวอน พระคเณศจึงยอมถอยเอางาออก แต่พระจันทร์ก็ต้องได้รับโทษอยู่คือ จะต้องเว้าๆแหว่งๆเป็นเสี้ยวๆไม่เต็มดวงทุกคืน จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำและแรม 1 ค่ำ จึงจะเต็มดวง

            ส่วนอีกเรื่องหนึ่งเล่าว่าพระคเณศสาปคนที่มองดูพระจันทร์ในวันที่บูชาพระองค์คือ หากใครมองดูพระจันทร์ในวันนี้ ผู้นั้นก็จะต้องกลายเป็นคนจัณฑาล และคนจัณฑาลในสังคมอินเดียจะเป็นที่รังเกียจของคนวรรณะอื่นๆทุกๆวรรณะ (เพราะถือว่าคนจัณฑาล ไม่มีชนชั้น เป็นชนชั้นต่ำ ) ดังนั้นคำสาปให้เป็นจัณฑาลจึงเป็นโทษร้ายแรงยิ่งนัก




บูชาพระพิฆเนศตามราศี

บูชาพระพิฆเนศตามกำลังวัน


(ขอขอบคุณ - คมชัดลึก / เนชั่น / www.geocities.com/thaiganesh)

กำเนิดและตำนานพระพิฆเนศ

กำเนิดพระพิฆเนศวร

           คัมภีร์ปราณะได้บันทึกไว้ช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ 1 กล่าวถึงการกำเนิดพระพิฆเนศในฐานะเทพ และโอรสของพระแม่อุมาเทวีกับพระศิวะเทพ โดยแต่ละตำนานได้กล่าวไว้แตกต่างกัน ดังนี้
          เมื่ออสูรและรากษส ทำการบวงสรวงพระศิวะเพื่อขอพรต่อพระองค์จนได้รับพร สมประสงค์ ต่อเมื่อได้ใจกลับรุกรานเหล่าเทวดาให้ได้รับความเดือดร้อนไปทั่ว จนความถึงพระอินทร์จึงจำต้องพาเหล่าเทวดาทั่งหลายไปขอเข้าเฝ้าพระศิวะเจ้า เพื่อขอให้ทรงหนหนทางหรือผู้ที่จะปราบเหล่าอสูรและรากษสใจพาลเหล่านั้น เมื่อได้ฟังคำร้องทุกข์จากเหล่าเทวดาแล้ว พระศิวะจึงทรงแบ่งกายเป็นบุรุษรูปงามซึ่งจะไปถือกำเนิดในครรภ์ของพระอุมาเทวี เมื่อถึงเวลากำเนิดแล้ว พระองค์จึงทรงให้พระนามว่าพระวิฆเนศวรเพื่อทำหน้าที่ปราบอสูรและรากษสทั้งหลาย เมื่อเสร็จสิ้นการปราบอสูรแล้ว พระองค์จึงทรงมอบหมายให้พระวิฆเนศวรทรงเป็นผู้ขัดขวาง และป้องกันเหล่าผู้มีจิตใจพาลต่างๆ ที่จะมาขอพรจากพระศิวะเพื่อนำไปใช้ในทางที่ผิด รวมทึ้งเป็นผู้คัดสรรเหล่าเทวดาและมนุษย์ผู้ทำกรรมดีและช่วยเหลือให้ค้นพบกับความสำเร็จ จากการขอพรต่อพระศิวะต่อไป


           เมื่อคราวที่พระปารวตีสรงน้ำอยู่ในอุทยาน พระองค์ทรงนำเหงื่อไคลของพระองค์มาปั้นเป็นหุ่นเทวบุตรรูปงาม และทรงใช้เวทย์มนต์เพื่อให้หุ่นนั้นมีชีวิตขึ้นมา จากนั้นจึงทรงรับสั่งให้เทวบุตรออกไปเฝ้ายังด้านหน้าประตูทางเข้าอุทยาน โดยได้รับสั่งว่าห้ามมิให้ผู้ใดเข้ามาโดยเด็ดขาด เหตุการณ์เป็นเช่นนี้มาโดยตลอดทุกครั้งที่พระแม่อุมาทรงสรงน้ำ ณ อุทยานแห่งนี้ จนกระทั่งเมื่อถึงวันกำหนดเสด็จกลับของพระศิวะ และเมื่อทั้งสองพระองค์พบกันในคราแรกต่างก็จะเข้าไปในอุทยาน อีกฝ่ายก็ปกป้องมิให้ผู้ใดย่างกายเข้าในอุทยานได้ด้วยเทวบุตรทรงได้รับคำสั่งของพระอุมา ห้ามมิให้ผู้ใดล่วงละเมิดเข้าไปยังสถานที่สรงน้ำแห่งนี้ เมื่อเป็นดั่งนั้นพระศิวะจึงทรงสั่งให้บริวารเข้าต่อสู้และได้สังหารเทวบุตร (แต่ในบางคัมภีร์ก็ว่าพระศิวะทรงใช้ตรีศูลตัดเศียรเทวบุตรนั้น บ้างก็ว่าพระวิษณุทรงใช้จักรตัดเศียร)

           เมื่อพระปารวตีทรงพบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พระองค์ทรงโกรธและโมโหพระสวามียิ่ง จนถึงกับทำศึกใหญ่ระหว่างทั้งสองพระองค์ ร้อนถึงพระฤาษีนารอด (นารท) ต้องออกรับหน้าเจรจาศึกในครานี้ โดยพระปราวตีได้กล่าวให้พระศิวะผู้สวามีต้องหาหนทางให้เทวบุตรฟื้นชีวิตจึงจะยอมสงบศึกให้

           พระศิวะจึงทรงมีคำสั่งให้เทวดาผู้เป็นบริวารเดินทางไปทิศเหนือ และให้ตัดศรีษะของสิ่งมีชีวิตแรกที่พบเพื่อนำมาต่อให้กับเทวบุตรผู้เป็นโอรส ไม่นานนักเทวดาก็เดินทางกลับมาพร้อมกับนำเศียรช้าง (มีงาเดียว) เพื่อมาต่อให้พระโอรส ซึ่งต่อมาจึงทรงตั้งพระนามใหม่ คือ คชานนะ (มีหน้าเป็นช้าง) และเอกทันต (ผู้มีงาเดียว) เมื่อได้ชุบชีวิตฟื้นแล้วพระปราวตีจึงทรงเล่าเรื่องราวต่างๆ ให้ทั้งสองพระองค์ได้ฟังว่าทั้งสองพระองค์ทรงเป็นพระบิดาและพระโอรส ซึ่งฝ่ายโอรสได้ฟังดังนั้นถึงกลับหมอบกราบขออภัยโทษเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของตน พระศิวะทรงพอพระทัยยิ่งนัก ถึงกับประทานพรให้พระโอรสให้เป็นผู้มีอำนาจเหนือเหล่าภูตผีทั้งปวง และทรงแต่งตั้งให้เป็น คณปติ ผู้เป็นใหญ่ในที่สุด


           ตำนานกล่าวถึงว่าพระปารวตีได้ทรงนำน้ำที่ใช้ในการสรงน้ำมาผสมเหงื่อไคล ปั้นเป็นเทวบุตรรูปเป็นมนุษย์แต่มีเศียรเป็นช้าง จากนั้นจึงนำน้ำจากพระคงคามาประพรมเพื่อให้มีชีวิตขึ้นมา โดยมีพระประสงค์ให้ไปขัดขวางคนชั่วที่จะไปบูชาศิวลึงค์ เพราะหวังที่จะล้างบาปตนเอง ณ เทวาลัยโสมนาถ และเทวาลัยโสมีศวร เพื่อไม่ให้ตนตกขุมนรก

           จากเรื่องเล่านี้ ทำให้ชาวฮินดูทั้งหลายนิยมนำรูปปั้นพระพิฆเนศมาจุ่มน้ำ ณ วัดคเนศจาตุรถี หรือบางครั้งก็จะนำเทวรูปเล็กๆ นำไปทิ้งตามแม่น้ำคงคาด้วยความเชื่อที่ว่า น้ำจากแม่น้ำคงคาจะทำให้พระคเณศมีชีวิตขึ้นมานั่นเอง



           เล่าไว้ว่าเมื่อครั้งพระปารวตียังไม่มีโอรส พระศิวะเทพผู้สวามีจึงให้คำแนะนำว่าให้จัดทำพิธีปันยากพรต (การบูชาพระวิษณุเทพในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือนมาฆะ) โดยใช้เวลาในการทำพิธีตลอด 1 ปี ซึ่งหากทำโดยตลอดจนครบก็จะประสบความสำเร็จในการขอบุตร ซึ่งพระกฤษณะจะอวตารมาจุติ ต่อเมื่อทุกอย่างเป็นไปตามคำของพระศิวะเทพแล้ว เหล่าเทพเทวดาทั้งหลายก็ได้มาร่วมอวยพรกับการถือกำเนิดของพระโอรสพระองค์นี้ รวมถึงเทพศนิ (พระเสาร์) ก็เข้ามาร่วมพิธีอวยพรด้วย ซึ่งพระศนิพระองค์นี้มีเรื่องกล่าวไว้ว่า เมื่อพระองค์ทรงเพ่งมองสิ่งใดมักจะเกิดไฟเผาผลาญสิ่งนั้นๆ จนหมดสิ้นไป

           ในคราวเข้าร่วมพิธีอวยพร พระศนิก็ทรงได้ชื่นชมพระโอรส จนเผลอตนเพ่งมองพระโอรสจนเศียรของพระกุมารหลุดกระเด็นไปยังโคโลก (ที่ประทับพระกฤษณะ) พระศิวะจึงมีบัญชาให้พระวิษณุออกตามหาเศียรพระโอรส แต่ก็ไม่ทรงพบต่อมาเมื่อผ่านแม่น้ำบุษปภัทร พระวิษณุทรงแลเห็นช้างนอนหันหัวไปทางทิศเหนือ จึงตัดเศียรช้างนั้นนำกลับมาต่อให้พระโอรส


          คราหนึ่งพระศิวะและพระปารวตีได้เสด็จไปยังภูเขาหิมาลัย ได้แลเห็นช้างกำลังสมสู่กัน จึงบังเกิดความใคร่ จากนั้นจึงทรงแปลงกายเป็นช้างและสมสู่กันจนเกิดพระโอรส นามพระพิฆเนศ


          จากที่พระศิวะและพระปารวตีทรงจัดพิธีโสกันต์ให้กับพระโอรสในพิธีฤกษ์คือ วันอังคารจึงได้แจ้งเชิญเทพทั้งหลายทั้งมวลมาเป็นสักขีพยาน แต่คงยังขาดเพียงองค์วิษณุเทพที่ทรงอยู่ระหว่างบรรทม จนเมื่อใกล้เวลาอันเป็นมงคล พระศิวะเทพจึงทรงให้พระอินทร์นำสังข์ไปเป่าเพื่อปลุกให้พระวิษณุเทพตื่นจากบรรทม เมื่อพระวิษณุเทพทรงตืนจากบรรทมด้วยเสียงดังของสังข์ จึงทำให้พระวิษณุเทพพลั่งโอษฐ์ออกไปว่า "ไอ้ลูกหัวขาดจะนอนให้สบายก็ไม่ได้" เพียงวาจานี้ถึงกลับทำให้เศียรของพระโอรสหายไปในทันที เหล่าเทพทั้งหลายเมื่อเห็นดังนี้แล้วจึงปรึกษากันว่า วันอังคารถือเป็นฤกษ์ไม่ดีขอห้ามทำพิธีการมงคลใดๆ ทั้งมวล กลับถึงเรื่อง พระเศียรของโอรสพระศิวะเทพจึงมีบัญชาให้พระวิษณุกรรมไปตัดหัวมนุษย์ที่เพิ่งสิ้นชีวิต ณ ทิศตะวันตก แล้วนำกลับมาโดยเร็ว แต่ในวันนั้นหาได้มีมนุษย์ผู้ใดสิ้นอายุขัยลง พระวิษณุกรรมแลเห็นเพียงช้างพลายงาเดียวเท่านั้นที่สิ้นชีวิตลง จึงตัดหัวช้างพลายตัวนั้นกลับมาถวายพระศิวะเทพ

            ในช่วงเวลาที่ศาสนาพุทธกำลังเติบโตในอินเดีย มีเรื่องเล่ากล่าวในตอนนี้ว่า เมื่อเทวดานำหัวช้างมาต่อแต่ก็ยังไม่สามารถทำให้พระโอรสฟื้นชีวิตได้ พระศิวะเทพจึงต้องให้พระวิษณุเทพไปทูลเชิญเสด็จพระศิริมานนท์อรหันต์ ให้โปรดเสด็จมาสวดพระคาถาชินบัญชรจนสำเร็จทำให้พระโอรสฟื้นชีวิต

            หรือบ้างก็กล่าวว่าในพิธีโสกัณต์ พระราหูได้เตือนพระศิวะแล้วว่าจะเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น จึงควรทูลเชิญเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เข้าร่วมพิธีนี้ด้วย แต่พระศิวะเทพก็หารับฟังไม่ บ้างก็ว่าพระอังคารไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมพิธีจึงโกรธแค้น และได้ลอบตัดเศียรพระโอรสไปโยนทิ้งทะเล




บูชาพระพิฆเนศตามราศี

บูชาพระพิฆเนศตามกำลังวัน


(ขอขอบคุณ - ชมรมพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ www.phraphuttharoop.com)

พระองค์ที่ ๑๙ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


สมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราช  สกลมหาสังฆปริณายก


วันนี้ 24 ตุลาคม  เวลา 20.28น. ผอ.รพ.จุฬาลงกรณ์แถลง สมเด็จพระสังฆราช สิ้นพระชนม์เมื่อเวลา19.30น.พระชันษา100ปี ประดิษฐานพระศพตำหนักเพชรวัดบวรฯ ยังความโศกเศร้าแก่พสกนิกรชาวไทยและพุทธศาสนิกชน






พระองค์ที่ ๑๙ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก [ วัดบวรนิเวศวิหาร ] ๓


พระองค์ที่ ๑๙ สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) 
[ วัดบวรนิเวศวิหาร ] ๓
เป็นพระสังฆราช ที่อยู่ในตำแหน่งพระสังฆราชไทยที่ยาวนานที่สุด และอายุยืนนานที่สุด 

        พ.ศ.๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน เสด็จออกทรงผนวชเป็น พระภิกษุในพระพุทธศาสนา และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงปฏิบัติสมณธรรมเป็นเวลา ๑๕ วัน จึงทรงลาผนวช

        ในการเสด็จออกทรงผนวชของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครั้งนี้ นับเป็นเหตุการณ์ สำคัญของชาติและเป็นภารกิจสำคัญของวัดบวรนิเวศวิหารที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับการทรงผนวชครั้งนี้ให้ลุล่วงไปด้วยดีสมพระราชประสงค์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระราชอุปัธยาจารย์ในการทรงผนวชครั้งนี้ ได้ทรงเลือกเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระโศภนคณาภรณ์ ให้เป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ในการทรงผนวช ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งนับเป็นหน้าที่สำคัญ เพราะจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้ถวาย คำแนะนำต่าง ๆ เกี่ยวกับการทรงผนวชแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นับแต่ก่อนการทรง ผนวชจนตลอดระยะเวลาแห่งการทรงผนวช

        การที่เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงได้รับเลือกให้ปฏิบัติหน้าที่พิเศษดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นว่า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ฯ ทรงไว้วางพระทัยในพระปฏิปทาและความสามารถของเจ้าพระคุณ         สมเด็จ ฯ ว่าจะทรงปฏิบัติที่สำคัญครั้งนี้ได้เรียบร้อยสมบูรณ์ และก็ปรากฏว่า เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ได้ทรง ปฏิบัติหน้าที่พระอภิบาลสนองพระเดชพระคุณได้เรียบร้อยสมบูรณ์ทุกประการ

        จากการที่ได้ทรงปฏิบัติหน้าที่พระอภิบาลในการทรงผนวชครั้งนี้ เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ จึงได้ทรงเป็นที่ทรงเคารพนับถือในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาแต่บัดนั้น และทรงรับหน้าที่ถวาย พระธรรมเทศนาและถวายธรรมกถา แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสต่าง ๆ ตลอดมา ทั้งที่เป็นงานพระราชพิธีและเป็นการส่วนพระองค์

        พ.ศ.๒๕๒๑  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชมาร เสด็จออกทรงผนวช เป็นพระภิกษุ และเสด็จประทับบำเพ็ญสมณธรรม ณ วัดบวรนิเวศวิหารเป็นเวลา ๑๕ วัน จึงทรงลาผนวช เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร ก็ทรงได้รับอาราธนา ให้เป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ ในพระราชพิธีทรงผนวช (สมเด็จพระสังฆราช วาสนมหาเถร วัดราชบพิธ ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์) และทรงทำหน้าที่เป็นพระอาจารย์ถวาย พระธรรมวินัยตลอดระยะเวลาแห่งการทรงผนวช


        กล่าวได้ว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงเป็นพระมหาเถระผู้คงแก่เรียนพระองค์หนึ่งในยุคปัจจุบัน ทรงรอบรู้แตกฉานในพระพุทธศาสนาทั้งในด้านทฤษฎีหรือปริยัติ ทั้งในด้านปฏิบัติ ในด้านปริยัตินั้นทรงสำเร็จภูมิเปรียญธรรม ๙ ประโยคซึ่งเป็นชั้นสูงสุดทางการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย ส่วนในด้านปฏิบัตินั้น เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ทรงเป็นพระนักปฏิบัติ หรือที่นิยมเรียกกันเป็น สามัญทั่วไปว่า พระกรรมฐาน พระองค์หนึ่งดังเป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่พระนักปฏิบัติและสาธุชน ผู้ไฝ่ใจในด้านนี้ ฉะนั้น ผลงานทางพระพุทธศาสนาของพระองค์จึงนับได้ว่ามีความสมบูรณ์พร้อม เป็นองค์ความรู้ที่มีความชัดเจนทั้งในเชิงทฤษฎีและในเชิงปฏิบัติ เพราะเป็นองค์ความรู้ที่ถูก กรั่นกรองออกมาจากความรู้ความเข้าใจที่มีทฤษฎีเป็นฐาน และมีการปฏิบัติด้วยพระองค์เอง เป็นเครื่องตรวจสอบเทียบเคียง เป็นผลให้องค์ความรู้ที่พระองค์แสดงออกมาทั้งในผลงานที่เป็นบท พระนิพนธ์ ทั้งในผลงานที่เป็นการเทศนาสั่งสอนในเรื่องและในโอกาสต่าง ๆ  มีความลึกซึ้ง ชัดเจน และเข้าใจง่าย