หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขาม

"
หลวงปู่ศุข เกสโร วัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท
พระครูวิมลคุณากร หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า นามเดิมว่าศุข ท่านเกิดในสกุล เกษเวช (ในภายหลังเชื้อสายทายาทท่านใช้นามสกุล เกษเวชสุริยา) เป็นชาวเมืองชัยนาทโดยกำเนิดท่านเกิดปี...
หลวงปู่ศุข เกสโร วัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท
พระครูวิมลคุณากร หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า นามเดิมว่าศุข ท่านเกิดในสกุล เกษเวช (ในภายหลังเชื้อสายทายาทท่านใช้นามสกุล เกษเวชสุริยา) เป็นชาวเมืองชัยนาทโดยกำเนิดท่านเกิดปี พ.ศ. ๒๓๙๐ ตรงกับปีฉลู ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ที่บ้านมะขามเฒ่า หรือในปัจจุบันคือ บ้านปากคลอง ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท โยมบิดาชื่อน่วม มารดาชื่อ ทองดี มีภูมิลำเนาที่ตำบลมะขามเฒ่า ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย และทำสวน หลวงปู่ศุขท่านเป็นบุตรคนหัวปลี (คนโต) มีพี่น้องรวมกัน ๙ คนชีวิตในวัยเยาว์ของหลวงปู่ศุข เป็นเด็กชายศุข ที่มีความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว เชื่อมั่นในตัวเองเป็นที่สุด จึงถูกยกให้เป็นผู้นำของเด็กๆในย่านตลาดวัดสิงห์บ้านของท่านอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา กิจกรรมประจำทุกๆวันก็เหมือนเด็กชนบททั่วไป คือการว่ายน้ำแข่งกัน เกาะเรือพ่วง เป็นที่สนุกสนานตามประสาเด็กที่ซุกซนอย่างมีความสุข

อุปสมบท ด้วยจิตตั้งมั่นที่จะบวชทดแทนบุญคุณบิดามารดา ครั้นเมื่อท่านอายุครบ ๒๒ ปี ท่านได้เข้ารับการอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดโพธิ์ทองล่างในปัจจุบัน ซึ่งตั้งอยู่ปากคลองบางเขนตอนล่าง ซึ่งเป็นวัดอยู่ใกล้บ้านท่านในขณะนั้น โดยมี พระครูเชย จันทสิริ อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ทองล่างเป็นพระอุปัชฌาย์ พระถายม เป็นพระคู่สวด การอุปสมบทนี้โยมบิดามารดาไม่ได้เข้าร่วมพิธีด้วยเนื่องตากการเดินทางในสมัยนั้นไม่ค่อยสะดวก จากชัยนาทถึงนนทบุรี ก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อย ๒-๓ วัน สำหรับพระครูเชยท่านเป็นพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ ที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง ท่านยังเป็นอาจารย์ ฝ่ายวิปัสสนาและพุทธาคมที่เชี่ยวชาญมากองค์หนึ่งในสมัยนั้น ซึ่งหลวงปู่ศุข ท่านได้รับถ่ายทอดวิชาความรู้จากพระอุปัชฌาย์ของท่านมาพร้อมกับอาจารย์ เปิง วัดชินวนาราม และหลวงปู่เฒ่าวัดหงษ์ จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นศิษย์ในสายหลวงพ่อเชย วัดโพธิ์ทองล่างเหมือนกัน

นอกจากนี้ท่านยังได้เรียนวิชาด้าน "รสายนเวท" ได้แก่ "การเล่นแปรธาตุ" กับ "หลวงปู่ทับวัดอนงคาราม" โดยพักอยู่กับสมเด็จพระพุฒาจารย์(นวม) พุทธสรมหาเถร ซึ่งเป็นสหธรรมิกในฐานะชาวชัยนาทด้วยกันวิชาที่ท่านได้มากจากหลวงปู่ทับคือการทำ "โลหะเมฆสิทธิ์" ซึ่งมีคุณวิเศษด้ารการเสริมโชคลาภและกลับเรื่องร้ายให้กลายเป็นเรื่องดี จะเห็นได้ว่ามีพระเครื่องหลวงปู่ศุข จำนวนไม่น้อยที่สร้างด้วยเนื้อเมฆสิทธิ์ตำรับของวัดอนงคาราม ซึ่งในปัจจุบันนี้ตำราการเล่นแร่แปรธาตุทำเมฆสิทธิ์ได้ตกอยู่ที่ "ปู่ดำ คนอำเภออัมพวา" เมื่อปู่ดำสิ้นลงตำราตกอยู่กับ "หมอแช่ม เมืองสมุทรสงคราม" และตกทอดสู่ "พระอาจารย์สุพจน์ วัดท่าตำหนัก"
หลวงปู่ศุขท่านเป็นผู้รอบรู้เชี่ยวชาญแตกฉานในพระไตรปิฏก ทางวิปัสณากรรมฐาน เรื่องวิชาในทางไสยศาสตร์เป็นยอดเยี่ยมท่านได้เคยทดลองในอิทธิปาฏิหาริย์ให้ปรากฎมากต่อมากแล้วในเรื่องนี้มีสานุศิษย์ของท่านผู้ที่เคยใกล้ชิดได้เล่าว่าหลวปู่ศุขวัดมะขามเฒ่า ท่านสำเร็จธาตุทั้ง ๔ นี้ เมื่อผู้ใดทำสำเร็จแล้ว สามารถจะทำให้เป็นอะไรได้ทั้งสิ้นจะผูกหุ่นพยนต์ล่องหนหายตัว กำบังกาย ระเบิดน้ำลงไปเดินในมหาสมุทร เดินบนผิวน้ำก็ได้ เสดาะโซ่ตรวน ขื่อคาออกทั้งสิ้น สะกดทัพ ทำได้ทุกอย่างแล้วแต่จะปราถนาจะต้องการสิ่งใด นอกจากท่านจะสำเร็จวิทยาคมทั้ง ๔ นี้แล้วท่านยังได้สำเร็จ นะ ต่างๆ ของวิชามายาศาสตร์เป็ฯจำนวนมากท่านได้ประกอบกระทำพิธีปลุกเสกด้วยผงดินสอพองแล้วรวบรวมนำมาทำพระพิมพ์แบบพระคะวัมองค์เล็กๆ แจกบรรดาสานุศิษย์จำนวนมาก ณ ที่ทำผง วิเศษต่างๆ นั้นมีผงปถมัง ผงนะปัดตลอด ผงตรีนิสิงเห ผงอิทธิเจ ผงนะคงคา ผงมหาช ผงพุทธคุณ ๑๐๘ ผงนะทรหด ผงนะหน้าทอง ฯลฯ ผงต่างๆ เหล่านี้มีอภินิหาร ความศักสิทธิ์มาก มีอานุภาพเมตตามหานิยมคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดเป็นต้น ท่านพุทธศาสนิกชนผู้ใดได้พระพิมพ์แบบพระคะวัม ของหลวงปู่ศุขวัดมะขามเฒ่าไว้ติดตัวแล้วนั้น จะมีศิริมงคลเจริญด้วยลาภผลมั่งมีทรัย์สินเงินทองป้องกันภัยพิบัติทุกประการ
เสด็จในกรมหลวงชุมพรฯฝากตัวเป็นศิษย์
อนึ่ง มีผู้กล่าวว่าท่านมีวิชาอาคมเวทย์มนต์เก่งมาก สามารถเสกใบไม้ให้เป็นตัวต่อ ตัวแตน เสกหัวปลีให้เป็นกระต่าย เสกก้านกล้วยให้เป็นงูได้ และเรื่องอภินิหารของขลัง คงกระพันชาตรี มีอีกมากมาย อาจจะเป็นด้วย บุญกุศลของหลวงปู่ศุข กับ เสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระบิดาแห่งราชนาวี
ทรงศรัทธาเลื่อมใสในทางมหาพุทธาคมอยู่แล้วได้เสด็จประพาสไปในภาคเหนือ จึงเป็นเหตุให้หลวงปู่ศุขและพระองค์ท่านได้พบกัน และเป็นที่ต้องอัธยาศัยซึ่งกันและกัน จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์ – อาจารย์ เพื่อจักได้ศึกษาทางมหาพุทธาคม และปรากฏว่า พระองค์เป็นศิษย์ที่มีความรู้ความสามารถได้ศึกษาแตกฉานจนกระทั่งหลวงพ่อเองก็หมดความรู้ จึงได้ให้เสด็จในกรมฯ ไปศึกษาเคล็ดวิชากับหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จังหวัดพิจิตรต่อ ดังเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วนั้นและได้วาดภาพพุทธประวัติด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง ที่อุโบสถด้านในหน้าอุโบสถ ซึ่งปรากฏจนทุกวันนี้ หลวงปู่ศุข ท่านมีเมตตามากจึงมีศิษย์เป็นอันมากที่มาเรียนวิชาเหล่านี้ ท่านได้รับสมณศักดิ์ เป็นพระครูวิมลคุณากร และเป็นเจ้าคณะแขวง ( ปัจจุบันเรียกว่าเจ้าคณะอำเภอ ) เป็นองค์แรกของอำเภอวัดสิงห์ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเมื่อใด
เมื่อหลวงปู่ศุข ท่านมีลูกศิษย์อย่างเสด็จในกรมฯ จึงเป็นกำลังสำคัญให้ท่านสามารถที่สร้างวัดปากคลองมะขามเฒ่าให้เสร็จสมบูรณ์ ถาวรวัตถุทางพุทธศาสนาที่คงเหลือเป็นประจักษ์พยานในปัจจุบันนี้ก็คือ ภาพเขียนฝีมือเสด็จในกรมฯ บนฝาผนังพระอุโบสถ วัดปากคลองมะขามเฒ่า ที่ยังรักษาไว้ได้อย่างสมบูรณ์ และเป็นภาพเขียนฝีมือเสด็จในกรมฯ บนฝาผนังพระอุโบสถ วัดปากคลองมะขามเฒ่า ที่ยังรักษาไว้ได้อย่างสมบูรณ์ และเป็นภาพเขียนสีน้ำที่ทางกรมศิลป์ยกย่องว่าเสด็จในกรมฯ ทรงฝีมือในการเขียนภาพเป็นอย่างมาก และทรงสอดแทรกอารมณ์ขันในภาพพระพุทธเจ้าชนะมาร ในกระแสน้ำที่พระแม่ธรณีบีบมวยผมทำให้เกิดอุทกธาราหลากไหลพัดพาเอาทัพพระยามารไปนั้น พระองค์ท่านเขียนเป็นภาพลิงใส่นาฬิกาและหนีบขวดวิสกี้กำลังเดินตุปัดตุเป๋ไปเลย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฤาษีปัญจวัคคีเมื่อเห็นเจ้าชายสิทธัตถะเลิกทรมานการหันมากินอาหาร ก็นึกว่าพระองค์คงจะถ้อถอยละความเพียรแล้ว จึงพากันผละหนีพระองค์ไปนั้น เสด็จในกรมฯ ท่านเขียนใบหน้าของฤาษีปัญจวัคคี โดยสอดอารมณ์ที่ยิ้มเยาะเย้ยหยันอย่างไม่อะไรไยดีต่อพระองค์ เน้นความรู้สึกได้เด่นชัดมาก
ฝีมือของเสด็จในกรมฯ อีกชิ้นหนึ่งก็คือภาพเขียนสีน้ำมันเป็นรูปหลวงปู่ศุขยืนเต็มตัวและถือไม้เท้า ภาพนี้เขียนขึ้นในขณะที่หลวงปู่มีอายุมากแล้วจึงต้องเดินสามขา
ศิลปวัตถุในพุทธศาสนาที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า นอกจากพระอุโบสถแล้วยังมีมณฑปจตุรมุขประดิษฐ์บานรอยพระพุทธบาท ประตูทั้ง ๔ บานนั้นแกะด้วยไม้สัก แกะลวดลายลึกถึงสามชั้น

หลวงปู่ศุขท่านได้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูวิมลคุณากร รั้งตำแหน่งเจ้าคณะแขวง (ปัจจุบันเรียกว่าเจ้าคณะอำเภอ) เป็นองค์แรกของอำเภอวัดสิงห์ หลวงปู่ศุขท่านเริ่มมีอาการอาพาธด้วยโรคชราในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ต่อมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๖ ท่านเริ่มอาพาธมากขึ้น และในเดือนพฤศจิกายน ก็มรณภาพลงด้วยอาการสงบในวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ สิริอายุได้ ๗๕ ปี พรรษาที่ ๕๐
จากอดีตจนถึงปัจจุบัน พระเครื่องและเครื่องราง ที่หลวงปู่ศุข ได้สร้างและปลุกเสกไว้ ต่างเป็นที่ยอมรับในพุทธคุณ เป็นที่เสาะแสวงหากันอย่างกว้างขวาง นี่คือสิ่งที่หลวงปู่ศุข ได้มอบเป็นมรดกให้กับเราและคนรุ่นหลัง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น