จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

พระองค์ที่ ๑๙ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก [ วัดบวรนิเวศวิหาร ] ๒

"
พระองค์ที่ ๑๙ สมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราช  สกลมหาสังฆปริณายก

ปฏิปทาแบบอย่าง
การกล่าวถึงพระคุณธรรมในชีวิตของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ข้างต้นนั้น เป็นการมอง ชีวิตของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ในภาพรวมเช่นกับชีวิตของคนทั่วไปว่า ทรงมีอะไรบ้าง ทรงทำ อะไรบ้าง แต่ถ้ามองชีวิตของพระองค์ในฐานะที่ทรงเป็นพระสงฆ์รูปหนึ่ง ก็จะเห็นแบบอย่าง ของชีวิตในทางธรรมที่ชัดเจนอีกภาพหนึ่ง นั่นคือ ปฏิปทาแบบอย่าง สำหรับพระสงฆ์ทั่วไป พระปฏิปทาอันเป็นแบบอย่างดังกล่าวก็คือ

ความเป็นผู้ทรงปริยัติและไม่ทิ้งปฏิบัติ
ความเป็นผู้สำรวมระวังในพระวินัย
ความเป็นผู้มักน้อยสันโดษ

ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
พ.ศ. ๒๕๒๙ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๓๒ มหาวิทยาลัยมหิดล ถวายปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๓๓ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย ถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๓๗ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาและศาสนา
พ.ศ. ๒๕๓๘ มหาวิทยาลัยนเรศวร ถวายปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๓๙ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๔๑ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาภาษาไทย
พ.ศ. ๒๕๔๓ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๔๕ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

พระศาสนกิจ
ทางการคณะสงฆ์
พุทธศักราช ๒๔๘๔ เป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่งตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
พุทธศักราช ๒๔๘๔ เป็นกรรมการสังคายนาพระธรรมวินัย ซึ่งแต่งตั้งขึ้นตามความในมาตรา ๖๐ แห่ง-พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔

พุทธศักราช ๒๔๘๘ เป็นพระวินัยธรชั้นอุทธรณ์
พุทธศักราช ๒๔๘๙ เป็นเลขานุการสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
พุทธศักราช ๒๔๙๙ รักษาการพระวินัยธรชั้นฎีกา
พุทธศักราช ๒๕๐๓ เป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครอง สั่งการองค์การปกครอง คณะธรรมยุต

พุทธศักราช ๒๕๐๔ เป็นกรรมการโครงการเชิดชูและบำรุงพระพุทธศาสนาโดยตำแหน่ง, เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะธรรมยุตภาคทุกภาค, เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร

พุทธศักราช ๒๕๐๖ เป็นกรรมการมหาเถรสมาคมและเป็นตลอดมาทุกสมัยจนถึงปัจจุบัน, เป็นอนุกรรมการพิจารณาร่างกฎมหาเถรสมาคมตลอดมาทุกสมัย, เป็นอนุกรรมการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี

พุทธศักราช ๒๕๐๗ เป็นอนุกรรมการพิจารณาร่างระเบียบการเดินทางไปต่างประเทศ ของพระภิกษุสามเณร
พุทธศักราช ๒๕๐๙ เป็นประธานอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ
พุทธศักราช ๒๕๑๐ เป็นประธานอนุกรรมการพิจารณาเรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ประจำปี ๒๕๑๑, เป็นประธานอนุกรรมการพิจารณาร่างระเบียบมหาเถรสมาคม ว่าด้วยวิธีปฏิบัติในการปลูกสร้างอาคารที่ดินของวัดซึ่งมีผู้เช่าอยู่, เป็นประธานอนุกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์การยกเว้นค่าโดยสารรถไฟให้แก่พระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา, เป็นอนุกรรมการพิจารณาแก้ไขข้อขัดข้องในระหว่างวัด กับผู้เช่า (พ.ว.ช.)

พุทธศักราช ๒๕๑๑ เป็นประธานอนุกรรมการพิจารณาโครงการรับการศึกษา ของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองเป็นการศึกษาของคณะสงฆ์

พุทธศักราช ๒๕๑๒ เป็นประธานอนุกรรมการพิจารณาเรื่องการศึกษา โรงเรียนมัธยมของคณะสงฆ์, เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โครงการจัดตั้งโรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนกลาง

พุทธศักราช ๒๕๑๔ เป็นประธานอนุกรรมการพิจารณาร่างกฎมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการลงนิคหกรรมแก่พระภิกษุ

พุทธศักราช ๒๕๑๕ เป็นประธานกรรมการบริหารสภาการศึกษาของคณะสงฆ์, เป็นเจ้าคณะนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเจ้าคณะจังหวัดสมุทรปราการ ( ธรรมยุต )

พุทธศักราช ๒๕๑๖ เป็นประธานอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงหลักสูตร ศาสนศึกษาของคณะสงฆ์
พุทธศักราช ๒๕๒๑ เป็นรองประธานคณะกรรมการ อำนวยการจัดสร้างพุทธมณฑลฝ่ายสงฆ์
พุทธศักราช ๒๕๒๗ เป็นประธานคณะกรรมการจัดงานสัปดาห์ส่งเสริม พระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา, เป็นประธานคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของคณะสงฆ์

พุทธศักราช ๒๕๓๑ รักษาการเจ้าอาวาสวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดชลบุรี

ทางการมหามกุฏ
พุทธศักราช ๒๔๘๘ เป็นกรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
พุทธศักราช ๒๔๙๐ เป็นกรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
พุทธศักราช ๒๔๙๔ เป็นกรรมการอำนวยการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ฯ, เป็นกรรมการแผนกตำราของมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย
พุทธศักราช ๒๕๐๔ เป็นผู้อำนวยการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ฯ, เป็นประธานกรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
พุทธศักราช ๒๕๓๑ เป็นนายกกรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ฯ, เป็นนายกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ฯ

หน้าที่พิเศษ
พุทธศักราช ๒๔๙๕ ร่วมในคณะทูตพิเศษที่มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ฯ ส่งไปร่วมฉลองพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุพระอัครสาวก ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา
พุทธศักราช ๒๔๙๖ เป็นกรรมการตรวจชำระพระคัมภีร์ฎีกา
พุทธศักราช ๒๔๙๗ ร่วมในคณะพระเถระแห่งคณะสงฆ์ไทย ไปร่วมประชุมสมัยที่ ๒ แห่งฉัฏฐสังคายนาพระไตรปิฏก ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า
พุทธศักราช ๒๔๙๙ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเลือกให้เป็น “ พระอภิบาล ” ( พระพี่เลี้ยง) ของพระภิกษุ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯ สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร ในระหว่างทรงผนวชเป็นพระภิกษุ และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ตั้งแต่วันที่ ๒๒ ตุลาคมถึงวันที่ ๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๙

พุทธศักราช ๒๕๐๑ เป็นกรรมการมูลนิธิส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา และมนุษยธรรม ( ก. ศ. ม.)
พุทธศักราช ๒๕๑๕ เป็นประธานกรรมการมูลนิธิสงเคราะห์คนเป็นโรคเรื้อน
พุทธศักราช ๒๕๑๖ ในฐานะกรรมการมหาเถรสมาคม และรองประธานกรรมการ คณะธรรมยุตทรงได้รับฉันทานุมัติจากกรรมการคณะธรรมยุต ให้เสด็จไปตรวจการคณะสงฆ์และทรงเยี่ยมพุทธศาสนิกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม ๙ จังหวัด คือ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดขอนแก่น

พุทธศักราช ๒๕๑๙ เป็นประธานกรรมการมูลนิธิสังฆประชานุเคราะห์
พุทธศักราช ๒๕๒๐ เป็นประธานอำนวยการมูลนิธิมหาวชิราลงกรณ์
พุทธศักราช ๒๕๒๑ เป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ ฯ สยามมกุฏราชกุมาร ในการทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเป็นพระอาจารย์ถวายการอบรมพระธรรมวินัย ขณะที่พระภิกษุสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ ฯ สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่างวันที่ ๖ – ๒๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๑

พุทธศักราช ๒๕๒๒ เป็นประธานอำนวยการมูลนิธิสิรินธร
พุทธศักราช ๒๕๒๔ ในฐานะกรรมการมหาเถรสมาคม และประธานกรรมการคณะธรรมยุต ทรงได้รับฉันทานุมัติ จาก กรรมการคณะธรรมยุต ให้เสด็จไปตรวจการ คณะสงฆ์และทรงเยี่ยมพุทธศาสนิกชน ในภาคเหนือ รวม ๑๐ จังหวัด คือ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดตาก จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดกำแพงเพชร

พุทธศักราช ๒๕๒๕ เป็นผู้ถวายพระธรรมเทศนามงคลวิเสสกถา ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และถวายตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

พุทธศักราช ๒๕๒๖ เป็นประธานกรรมการมูลนิธิวัดญาณสังวราราม ในพระบรมราชูปถัมภ์
พุทธศักราช ๒๕๒๗ เป็นประธานกรรมการมูลนิธิพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
พุทธศักราช ๒๕๒๘ เป็นผู้อ่านพระอภิธรรมนำพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ในกระบวนพระราชอิสริยยศ สู่พระเมรุมาศ ณ ท้องสนามหลวง, เป็นรองประธานกรรมการสังคีติการกสงฆ์ ในการสังคายนาพระธรรม วินัย ตรวจชำระพระไตรปิฎก, เป็นสังฆปาโมกข์ปาลิวิโสธกพระวินัยปิฎก ในการสังคายนาพระธรรมวินัย ตรวจชำระพระไตรปิฎก เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯ สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร จนสำเร็จทันในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา

พุทธศักราช ๒๕๓๐ เป็นประธานกรรมการมูลนิธิแผ่นดินธรรม, เป็นประธานกิตติมศักดิ์มูลนิธิสงเคราะห์และฟื้นฟูจิตใจผู้ติดยาเสพติด, เป็นพระอุปัชฌาย์ ในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ ในการหม่อมเจ้าจุฑาวัชร มหิดล พระโอรสในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ ฯ สยามมกุฏราชกุมาร ทรงผนวชสามเณร ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เมื่อวันอังคารที่ ๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๐

พุทธศักราช ๒๕๓๒ เสด็จเยี่ยมพระภิกษุสามเณรและพุทธศาสนิกชนใน ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ สงขลา สตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ตามคำกราบทูลอาราธนาของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างวันที่ ๑๒ - ๑๔ กันยายน ๒๕๓๒

พุทธศักราช ๒๕๓๓ เป็นประธานสงฆ์ในการเจริญพระพุทธมนต์พระราชพิธีพุทธาภิเษก พระพุทธรูปชัยวัฒน์และพระกริ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุ ๙๐ พรรษา และเป็นประธานจุดเทียนชัย ทรงนั่งปรก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

การสาธารณูปการ 
นับแต่ทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ได้ทรงบูรณะซ่อมสร้างเสนาสนะ และถาวรวัตถุต่าง ๆ ภายในวัดบวรนิเวศวิหาร ตลอดถึงการก่อสร้างถาวรวัตถุเป็นสาธารณประโยชน์ในที่อื่นอีกเป็นจำนวนมาก ที่สร้างขึ้นใหม่ในวัดบวรนิเวศวิหาร คือ

- ตึกกวีบรรณาลัย ห้องสมุดของมหามกุฏราชวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
- ตึกวชิรญาณวงศ์ อาคารเรียนของโรงเรียนวัดบวรนิเวศ
- ซุ้มปรางค์ที่ประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ บนลานทักษิณ ชั้นที่ ๒ ของพระเจดีย์ใหญ่

- กุฏิหลวงเจริญฤทธิศาสตร์ ในคณะเหลืองรังษี
- กุฏิพระนิกรบดี ในคณะเขียวรังษี
- ตึก ภปร. พิพิธภัณฑ์วัดบวรนิเวศวิหาร
- กุฏิคุณหลวงจี๊ด สัตยานุรักษ์ ในคณะเหลืองรังษี
- กุฏิรามเดชะ ในคณะสูง
- ถังน้ำบ่อบาดาล พร้อมติดตั้งนาฬิกาไฟฟ้าและระฆังข้างตึกมนุษยนาควิทยาทาน
- อาคารกิจกรรม หลังตึกวชิรญาณวงศ์ โรงเรียนวัดบวรนิเวศ
- ตึก สว . ธรรมนิเวศ โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดบวรนิเวศวิหาร
- มณฑปที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองหลังพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
- โพธิฆระ ( เรือนโพธิ์ ) หลังพระวิหารพระศาสดา
- ศาลาวชิรญาณ ๑๕๐ ปี วัดบวรนิเวศวิหาร
- ศาลาหน้าศาลาวชิรญาณฯ
- กุฏิหน้ากุฏิใหญ่คณะเขียวรังษี

ส่วนเสนาสนะและถาวรวัตถุอื่น ๆ ภายในวัดบวรนิเวศวิหาร ก็ได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่หมดทั้งพระอาราม ที่สำคัญ คือ

- ประดับโมเสกทองพระเจดีย์ใหญ่ตลอดทั้งองค์
- ประดับหินอ่อนพระอุโบสถตลอดทั้งหลัง

การก่อสร้างถาวรวัตถุอื่น ๆ ภายนอกวัดตลอดถึงการอุปถัมภ์การก่อสร้างวัดต่าง ๆ นั้น มีจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ

- สร้างตึกวชิรญาณวงศ์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สำหรับเป็นตึกสงฆ์ และใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๒๕ และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๒๙

- สร้างตึกวชิรญาณ สามัคคีพยาบาร ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สำหรับเป็นตึกสงฆ์ และใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๒๘ และทำพิธี เปิดเมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๓๐

- ทรงอุปถัมภ์การสร้างวัดล้านนาญาณสังวราราม อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มสร้าง พ . ศ . ๒๕๒๓ ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดเมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม พ. ศ. ๒๕๓๑ ประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ. ศ. ๒๕๓๒ พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ . ศ . ๒๕๓๖

- ทรงอุปถัมภ์การสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ศรีนครินทรามหาสันติคิรี และวัดสันติคีรีญาณสัง วราราม ณ ดอยแม่สะลอง บ้านแม่สะลอง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เริ่มสร้าง พ . ศ . ๒๕๓๑ ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดเมื่อ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ . ศ . ๒๕๔๔ ประกาศ ตั้งเป็นวัดเมื่อ วันที่ ๒๖ มีนาคม พ . ศ . ๒๕๔๔ พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ . ศ . ๒๕๔๕

- ทรงอุปถัมภ์การสร้างโรงเรียนมัธยมญาณสังวร อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร พ. ศ. ๒๕๑๖
- ทรงอุปถัมภ์การสร้างวัดรัชดาภิเษก อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี พ. ศ. ๒๕๑๔
- ทรงอุปถัมภ์การสร้างวัดวังพุไทร อำเภอไทรโยค จังหวัดเพชรบุรี เริ่มสร้าง พ. ศ. ๒๕๑๖ ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ . ศ . ๒๕๓๖ ประกาศตั้งเป็นวัด เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พ . ศ . ๒๕๓๖ พระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ . ศ . ๒๕๓๗

- ทรงอุปถัมภ์การสร้างวัดพุมุด อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เริ่มสร้างเมื่อ พ. ศ. ๒๕๑๙ พระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ. ศ. ๒๕๓๒

- สร้างวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เริ่มสร้าง พ . ศ . ๒๕๑๙ ได้รับอนุญาตให้สร้างวัด เมื่อพ. ศ. ๒๕๒๐ ประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ. ศ. ๒๕๒๓ พระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม พ. ศ. ๒๕๒๕

- สร้างโรงเรียนและโรงพยาบาลสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พ . ศ . ๒๕๓๓

- ทรงอุปถัมภ์การสร้างตึก ภปร (ตึกผู้ป่วยนอก) โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๒๙ และทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๓๒

- ทรงอุปถัมภ์การสร้างโรงพยาบาลวัดญาณสังวราราม อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี วางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๖ และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๒๗

ที่นับว่าสำคัญก็คือ เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒ ทรงพระดำริให้จัดสร้าง “ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ” สำหรับสงฆ์อาพาธในโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทุกพระองค์ รวม ๑๙ พระองค์ ในถิ่นที่ขาดแคลนสถานพยาบาล กระจายไปในจังหวัดต่าง ๆ ทุกภาคของประเทศ พร้อมทั้งโปรดให้สร้างพระรูปของสมเด็จพระสังฆราชทั้ง ๑๙ พระองค์ประดิษฐานไว้เป็นที่สักการะบูชาประจำโรงพยาบาลที่สร้างถวายเป็นพระอนุสรณ์แต่ละแห่งด้วย โรงพยาบาลสกลมหาสังฆปริณายกทั้ง ๑๙ แห่งดังกล่าวได้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนี้

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑ ” ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช กุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราช ( ศรี )วัดระฆังโฆษิตาราม

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๒ ” ณ โรงพยาบาลละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราช ( สุก ) วัดมหาธาตุ

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๓ ” ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง จังหวัดราชบุรี ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราช ( มี ) วัดมหาธาตุ

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๔ ” ณ โรงพยาบาลเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราช ( สุก ญาณสังวร ) วัดมหาธาตุ

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๕ ” ณ โรงพยาบาลแม่จัน จังหวัดเชียงราย ถวายเป็นพระ อนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราช ( ด่อน ) วัดมหาธาตุ

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๖ ” โรงพระปริยัติธรรมวัดพระบาทมิ่งเมือง จังหวัดแพร่ ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราช ( นาค ) วัดราชบุรณะ

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๗ ” โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ( พระองค์เจ้าวาสุกรี ) วัดพระเชตุพนวิมล มังคลาราม

“ ตึกสกลมหาสังปริณายก ๘ ” ณ โรงพยาบาลหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ( พระองค์เจ้าฤกษ์ ) วัดบวรนิเวศวิหาร

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๙ ” ณ โรงพยาบาลชลบุรี จังหวัดชลบุรี ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ( สา ปุสฺสเทโว ) วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๐ ” ณ โรงพยาบาลนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ถวายเป็นพระอนุสรณ์
แด่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ( พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ ) วัดบวรนิเวศวิหาร

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๑ ” ณ โรงพยาบาลนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ( หม่อมเจ้าภุชงค์ ) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๒ ” ณ โรงพยาบาลขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ( แพ ติสฺสเทโว ) วัดสุทัศน์เทพวราราม

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๓ ” ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ( หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ ) วัดบวรนิเวศวิหาร

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๔ ” ณ โรงพยาบาลอ่าวลึก จึงหวัดกระบี่ ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ( ปลด กิตฺติโสภโณ ) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๕ ” ณ โรงพยาบาลตราด จังหวัดตราด ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ( อยู่ ญาโณทโย ) วัดสระเกศ

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๖ ” ณ โรงพยาบาลภูกระดึง จังหวัดเลย ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ( จวน อุฏฐายี ) วัดมกุฎกษัตริยาราม

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๗ ” ณ โรงพยาบาลลานสะกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ( ปุ่น ปุณฺณสิริ ) วัดพระเชตุพนวิมลลังคลาราม

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๘ ” ณ โรงพยาบาลไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ( วาสน์ วาสโน ) วัดราชบพิธสถิต มหาสีมาราม

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๙ ” ณ โรงพยาบาลท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ( เจริญ สุวฑฺฒโน ) วัดบวรนิเวศวิหาร


นอกจากนี้ยังทรงอุปถัมภ์การก่อสร้างวัดในต่างประเทศอีกหลายแห่งคือ 

- วัดพุทธรังษี ในอุปการะของมหามกุฏราชวิทยาลัย ณ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลียก่อตั้ง เมื่อ พ . ศ . ๒๕๑๕ และเปิดวัดเป็นทางการ เมื่อ พ . ศ . ๒๕๑๘
- วัดจาการ์ตาธรรมจักรชัย ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เริ่มก่อสร้างเมื่อพ. ศ. ๒๕๒๕ และผูกพัทธสีมา เมื่อ พ. ศ. ๒๕๒๘
- อุโบสถวัดสิริกิตติวิหาร ณ เมืองกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ. ศ. ๒๕๓๑
- วัดแคโรไลนาพุทธจักรวนาราม รัฐนอร์ธแคโรไลนา ประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ. ศ. ๒๕๓๐

พระกรณียกิจ
- ทรงแสดงพระธรรมเทศนาประจำวันอุโบสถเวลาเช้า ในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
- ทรงบรรยายธรรมในการฝึกอบรมการปฏิบัติทางจิต ( กรรมฐาน ) ประจำวันพระ และหลังวันพระ ณ ห้องประชุม ชั้น ๒ ตึก สว. ธรรมนิเวศ
- ทรงบรรยายในรายการบริหารทางจิตสำหรับผู้ใหญ่ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียง อ. ส. พระราชวังดุสิต ประจำทุกวันอาทิตย์

พระศาสนกิจในต่างประเทศ

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ได้ทรงปฏิบัติพระกรณียะต่างๆ มาแต่ครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ เช่น การจัดให้มีการเทศน์เป็นภาษาอังกฤษ จัดให้มีการสอนกรรมฐานแก่ชาวต่างประเทศ และจัดให้มีการสนทนาธรรมแก่ชาวต่างประเทศเป็นประจำ (ทุกวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์)

โดย เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นผู้ดำเนินการเองร่วมกับพระภิกษุไทย และพระภิกษุชาวต่างประเทศที่บวชอยู่ วัดบวรนิเวศวิหาร นอกจากนี้ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ยังได้เสด็จไปปฏิบัติศาสนกิจ เกี่ยวกับการพระศาสนาในต่างประเทศอีกหลายคราว คือ

พ.ศ. ๒๕๐๙ ในฐานะประธานกรรมการอำนายการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ได้เสด็จไปเป็นประธานสงฆ์ ในพิธีเปิดวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๙

การเสด็จไปประเทศอังกฤษ คราวนี้ ก็เป็นโอกาสให้ได้ดูกิจการพระธรรมทูต และการพระศาสนาในประเทศนั้น และในประเทศอิตาลีในขากลับประเทศไทยอีกด้วย

พ.ศ. ๒๕๑๐ ในฐานะกรรมการมหาเถรสมาคม ได้ตามเสด็จ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี) วัดมกุฏกษัตริยาราม ซึ่งเสด็จเยือนประเทศศรีลังกาอย่างเป็นทางการ ตามคำทูลอาราธนาของรัฐบาลศรีลังกา เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างศาสนิกชนแห่งประเทศทั้งสอง และเป็นการตอบแทนไมตรีของรัฐบาลไทย ที่ได้นิมนต์พระมหานายกะของสยามวงศ์นิกายแห่งลังกา มาเยือนประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙

พ.ศ. ๒๕๑๑ เสด็จไปดูการพระศาสนา วัฒนธรรม และการศึกษาทั่วไป ในประเทศอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ ในฐานะประธานสภาการคึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย โดยอนุมัติของมหาเถรสมาคม พร้อมด้วยพระเทพกวี (ประยูร สนฺตงฺกุโร ป.ธ. ๙) (สมณศักดิ์สุดท้ายที่ สมเด็จพระญาณวโรดม) เลขาธิการสภาการศึกษาฯ ในขณะนั้น

เนื่องจากการเดินทางครั้งนี้ ผลปรากฏว่าต่อมาได้มีการติดต่อกับหัวหน้าชาวพุทธไปประเทศอินโดนีเซีย และได้วางโครงการร่วมกันในอันที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศนั้น สุดท้ายหัวหน้าชาวพุทธในประเทศอินโดนีเซียได้เดินทางเข้ามาประเทศไทย เจรจากับ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ขอพระธรรมทูตไทยออกไปช่วยฟื้นฟูพุทธศาสนาในประเทศอินโดนีเซีย

กรมการศาสนาร่วมกับสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ จึงได้คัดเลือกพระธรรมทูตไทย ๔ รูป เสนอ มหาเถรสมาคม ส่งออกไปปฏิบัติศาสนกิจช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศนั้น พระธรรมทูตชุดแรกออกไปเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ และพระธรรมทูตชุดนี้ปฏิบัติศาสนกิจอยู่ในประเทศนี้ถึง ๑๐ ปีเศษ

สำหรับประเทศออกเตรเลียนั้น ปรากฏว่ามีผู้นับถือและสนใจพระพุทธศาสนาอยู่เป็นจำนวนมาก มีความประสงค์ให้มีพระสงฆ์อยู่ เพื่อประกาศพระพุทธศาสนาในประเทศนั้นด้วย

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ในฐานะผู้อำนวยการมหามกุฏราชวิทยาลัย จึงได้เสนอเรื่องการจัดตั้งสำนักสงฆ์ไทยในออสเตรเลีย ต่อคณะกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย และผู้ที่เกี่ยวข้อง ก็ได้รับความเห็นชอบ และจัดตั้งสำนักสงฆ์ไทยขึ้นในประเทศนั้น ในความอุปการะของ มหามกุฏราชวิทยาลัย

และได้จัดส่งพระภิกษุไทยร่วมกับพระภิกษุชาวต่างประเทศ (ซึ่งบวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร) ออกไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นครั้งแรก เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๑๖ และต่อมาก็ได้จัดตั้งวัดขึ้น และประกอบพิธีเปิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘

พ.ศ. ๒๕๑๓ เสด็จไปประเทศอินโดนีเซียอีกครั้งหนึ่ง ตามคำอาราธนาของหัวหน้าพระธรรมทูตไทย และ พระชินรักขิตเถระ หัวหน้าพุทธศาสนิกชนชาวอินโดนีเซีย เพื่อให้การบรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรชาวอินโดนีเซีย ๗ คน พร้อมด้วย พระธรรมโสภณ (สนธิ์ กิจฺจกาโร) (ภายหลังเลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นที่ พระญาณวโรดม รองเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร)

การเดินทางไปประเทศอินโดนีเซียครั้งนี้ เป็นโอกาสให้ได้สังเกตการณ์เกี่ยวกับความเป็นอยู่ วัฒนธรรม และความเป็นไปของพระพุทธศาสนาในประเทศนั้น

พระขนฺติปาโล ได้บันทึกการเดินทางเล่าถึงสิ่งที่พบเห็น และข้อคิดเห็นบางประการไว้อย่างน่าสนใจ หนังสือเล่มนี้พิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔

พ.ศ. ๒๕๑๔ ในฐานะประธานสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย เสด็จไปดูการศาสนาและการศึกษา ในประเทศปากีสถาน เนปาล และอินเดีย พร้อมด้วย พระเทพกวี (ประยูร สนฺตงฺกุโร ป.ธ. ๙) (สมณศักดิ์สุดท้ายที่ สมเด็จพระญาณวโรดม) เลขาธิการสภาการศึกษาฯ ในขณะนั้น

ในโอกาสเดียวกัน ก็ได้รับอนุมัติจาก มหาเถรสมาคม ให้เป็นผู้แทนของคณะสงฆ์ไทยไปเยี่ยมเยียนพระสงฆ์ และวัดพระพุทธศาสนาในประเทศปากีสถานตะวันออก และนำสาส์นของ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี) ถึงพุทธศาสนิกชนชาวปากีสถานตะวันออก

พร้อมทั้งนำเอาวัสดุสิ่งของต่างๆ และกัปปิยภัณฑ์จำนวนหนึ่ง ซึ่งทางคณะสงฆ์ไทยได้จัดหามาไปมอบแก่ พระภิกษุสามเณรและชาวพุทธในประเทศปากีสถานตะวันออก ที่ประสบวาตภัยครั้งใหญ่ในคราวนั้นด้วย

เมื่อกลับจากการเดินทางครั้งนั้นแล้ว ก็ได้ทำรายงานเสนอมหาเถรสมาคม ทำให้คณะสงฆ์ได้ทราบถึงความเป็นไปของพระพุทธศาสนาในประเทศนั้นๆ ซึ่งกำลังต้องการความช่วยเหลือในการฟื้นฟู และทำให้คณะสงฆ์เห็นชอบด้วยกับความดำริของคณะสงฆ์เนปาล ซึ่งจะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศนั้น และยินดีสนองความต้องการของคณะสงฆ์เนปาล

ในขั้นแรกนี้สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ได้เสนอให้ทุนการศึกษาจำนวน ๒ ทุน สำหรับให้พระภิกษุสามเณรชาวเนปาล เข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทย

ต่อมาคณะสงฆ์เนปาลก็ได้คัดเลือกสามเณร ๒ รูป ส่งเข้ามาศึกษาในประเทศไทย โดยพักอยู่ที่ วัดบวรนิเวศวิหาร เข้าศึกษาที่สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ในหลักสูตรพิเศษ ๓ ปี สำหรับพระภิกษุและสามเณรชาวต่างประเทศ

พ.ศ. ๒๕๑๘ เสด็จไปเป็นประธานสงฆ์ในพิธีเปิด วัดพุทธรังษี สแตนมอร์ ณ นครซิดนีย์ รัฐนิวเซ้าท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ฯ สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิด และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา ระหว่างวันที่ ๒๒ พฤษภาคม-๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๘

พ.ศ. ๒๕๒๐ เสด็จไปบรรพชากุลบุตรชาวอินโดนีเซียจำนวน ๔๓ คน ณ เมืองสมารัง ประเทศอินโดนีเซีย ตามคำอาราธนาของคณะสงฆ์สังฆเถรวาทอินโดนีเซีย ได้เสด็จไปเยี่ยมชมกิจการพระศาสนา ณ ประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ขากลับทรงแวะเยี่ยมชมการพระศาสนา ณ ประเทศสิงคโปร์ ด้วย ระหว่างวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๐-๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๑

พ.ศ. ๒๕๒๓ เสด็จไปร่วมประชุม สหพันธ์คีตาอาศรมสากล ในฐานะที่ทรงเป็นพระอาคันตุกิเศษ ณ ประเทศอินเดีย เมื่อทรงเสร็จภารกิจที่ประเทศอินเดียแล้ว ได้เสด็จไปเยี่ยมชมกิจการพระศาสนา ณ ประเทศเนปาล อีกครั้งหนึ่ง ระหว่างวันที่ ๑๑-๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๓

ในศกเดียวกัน เสด็จไปทรงดูกิจการพระศาสนา ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศยุโรป ตามคำอาราธนาของบริษัท ศรีกรุงวัฒนา จำกัด พร้อมด้วย พระธรรมดิลก (ปุญฺญาราโม วิชมัย บุญมาก) (สมณศักดิ์สุดท้ายที่ พระพรหมมุนี) ระหว่างวันที่ ๓ เมษายน-๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๓

พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นประธานคณะสงฆ์พร้อมด้วยพระสงฆ์อีก ๑๙ รูป จากประเทศไทยไปทรงประกอบพิธีผูกพัทธสีมาพระอุโบสถ วัดจาการ์ตาธรรมจักรชัย ณ ประเทศอินโดนีเซีย ตามคำอาราธนาของคณะสงฆ์เถรวาทอินโดนีเซีย เป็นการผูกพัทธสีมาพระอุโบสถวัดพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นครั้งแรกในประเทศอินโดนีเซียนั้น ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘

ในศกเดียวกัน เสด็จพร้อมด้วยคณะสงฆ์จากประเทศไทย ไปเป็นประธานบรรพชากุลบุตรศากยะแห่งเนปาล จำนวน ๗๓ คน ณ กรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล ตามคำอาราธนาของคณะสงฆ์เนปาล ระหว่างวันที่ ๒๓-๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘

พ.ศ. ๒๕๓๖ เสด็จเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ ตามคำกราบทูลอาราธนาของรัฐบาลจีน โดยได้เสด็จเยือนเมืองต่างๆ คือ ปักกิ่ง ซีอาน คุนหมิง และสิบสองปันนา ระหว่างวันที่ ๒๐ มิถุนายน-๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖

นับเป็นการเจริญศาสนสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน เป็นทางการเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ แห่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสอง

พ.ศ. ๒๕๓๘ เสด็จไปทรงเป็นประธานวางศิลาฤกษ์ วัดไทยลุมพินี ณ เมืองลุมพินี ประเทศเนปาล ซึ่งรัฐบาลไทยได้จัดสร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๘





"
พระองค์ที่ ๑๙ สมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราช  สกลมหาสังฆปริณายก

ปฏิปทาแบบอย่าง
การกล่าวถึงพระคุณธรรมในชีวิตของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ข้างต้นนั้น เป็นการมอง ชีวิตของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ในภาพรวมเช่นกับชีวิตของคนทั่วไปว่า ทรงมีอะไรบ้าง ทรงทำ อะไรบ้าง แต่ถ้ามองชีวิตของพระองค์ในฐานะที่ทรงเป็นพระสงฆ์รูปหนึ่ง ก็จะเห็นแบบอย่าง ของชีวิตในทางธรรมที่ชัดเจนอีกภาพหนึ่ง นั่นคือ ปฏิปทาแบบอย่าง สำหรับพระสงฆ์ทั่วไป พระปฏิปทาอันเป็นแบบอย่างดังกล่าวก็คือ

ความเป็นผู้ทรงปริยัติและไม่ทิ้งปฏิบัติ
ความเป็นผู้สำรวมระวังในพระวินัย
ความเป็นผู้มักน้อยสันโดษ

ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
พ.ศ. ๒๕๒๙ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๓๒ มหาวิทยาลัยมหิดล ถวายปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๓๓ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย ถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๓๗ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาและศาสนา
พ.ศ. ๒๕๓๘ มหาวิทยาลัยนเรศวร ถวายปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๓๙ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๔๑ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาภาษาไทย
พ.ศ. ๒๕๔๓ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๔๕ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

พระศาสนกิจ
ทางการคณะสงฆ์
พุทธศักราช ๒๔๘๔ เป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่งตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
พุทธศักราช ๒๔๘๔ เป็นกรรมการสังคายนาพระธรรมวินัย ซึ่งแต่งตั้งขึ้นตามความในมาตรา ๖๐ แห่ง-พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔

พุทธศักราช ๒๔๘๘ เป็นพระวินัยธรชั้นอุทธรณ์
พุทธศักราช ๒๔๘๙ เป็นเลขานุการสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
พุทธศักราช ๒๔๙๙ รักษาการพระวินัยธรชั้นฎีกา
พุทธศักราช ๒๕๐๓ เป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครอง สั่งการองค์การปกครอง คณะธรรมยุต

พุทธศักราช ๒๕๐๔ เป็นกรรมการโครงการเชิดชูและบำรุงพระพุทธศาสนาโดยตำแหน่ง, เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะธรรมยุตภาคทุกภาค, เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร

พุทธศักราช ๒๕๐๖ เป็นกรรมการมหาเถรสมาคมและเป็นตลอดมาทุกสมัยจนถึงปัจจุบัน, เป็นอนุกรรมการพิจารณาร่างกฎมหาเถรสมาคมตลอดมาทุกสมัย, เป็นอนุกรรมการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี

พุทธศักราช ๒๕๐๗ เป็นอนุกรรมการพิจารณาร่างระเบียบการเดินทางไปต่างประเทศ ของพระภิกษุสามเณร
พุทธศักราช ๒๕๐๙ เป็นประธานอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ
พุทธศักราช ๒๕๑๐ เป็นประธานอนุกรรมการพิจารณาเรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ประจำปี ๒๕๑๑, เป็นประธานอนุกรรมการพิจารณาร่างระเบียบมหาเถรสมาคม ว่าด้วยวิธีปฏิบัติในการปลูกสร้างอาคารที่ดินของวัดซึ่งมีผู้เช่าอยู่, เป็นประธานอนุกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์การยกเว้นค่าโดยสารรถไฟให้แก่พระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา, เป็นอนุกรรมการพิจารณาแก้ไขข้อขัดข้องในระหว่างวัด กับผู้เช่า (พ.ว.ช.)

พุทธศักราช ๒๕๑๑ เป็นประธานอนุกรรมการพิจารณาโครงการรับการศึกษา ของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองเป็นการศึกษาของคณะสงฆ์

พุทธศักราช ๒๕๑๒ เป็นประธานอนุกรรมการพิจารณาเรื่องการศึกษา โรงเรียนมัธยมของคณะสงฆ์, เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โครงการจัดตั้งโรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนกลาง

พุทธศักราช ๒๕๑๔ เป็นประธานอนุกรรมการพิจารณาร่างกฎมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการลงนิคหกรรมแก่พระภิกษุ

พุทธศักราช ๒๕๑๕ เป็นประธานกรรมการบริหารสภาการศึกษาของคณะสงฆ์, เป็นเจ้าคณะนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเจ้าคณะจังหวัดสมุทรปราการ ( ธรรมยุต )

พุทธศักราช ๒๕๑๖ เป็นประธานอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงหลักสูตร ศาสนศึกษาของคณะสงฆ์
พุทธศักราช ๒๕๒๑ เป็นรองประธานคณะกรรมการ อำนวยการจัดสร้างพุทธมณฑลฝ่ายสงฆ์
พุทธศักราช ๒๕๒๗ เป็นประธานคณะกรรมการจัดงานสัปดาห์ส่งเสริม พระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา, เป็นประธานคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของคณะสงฆ์

พุทธศักราช ๒๕๓๑ รักษาการเจ้าอาวาสวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดชลบุรี

ทางการมหามกุฏ
พุทธศักราช ๒๔๘๘ เป็นกรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
พุทธศักราช ๒๔๙๐ เป็นกรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
พุทธศักราช ๒๔๙๔ เป็นกรรมการอำนวยการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ฯ, เป็นกรรมการแผนกตำราของมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย
พุทธศักราช ๒๕๐๔ เป็นผู้อำนวยการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ฯ, เป็นประธานกรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
พุทธศักราช ๒๕๓๑ เป็นนายกกรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ฯ, เป็นนายกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ฯ

หน้าที่พิเศษ
พุทธศักราช ๒๔๙๕ ร่วมในคณะทูตพิเศษที่มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ฯ ส่งไปร่วมฉลองพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุพระอัครสาวก ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา
พุทธศักราช ๒๔๙๖ เป็นกรรมการตรวจชำระพระคัมภีร์ฎีกา
พุทธศักราช ๒๔๙๗ ร่วมในคณะพระเถระแห่งคณะสงฆ์ไทย ไปร่วมประชุมสมัยที่ ๒ แห่งฉัฏฐสังคายนาพระไตรปิฏก ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า
พุทธศักราช ๒๔๙๙ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเลือกให้เป็น “ พระอภิบาล ” ( พระพี่เลี้ยง) ของพระภิกษุ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯ สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร ในระหว่างทรงผนวชเป็นพระภิกษุ และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ตั้งแต่วันที่ ๒๒ ตุลาคมถึงวันที่ ๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๙

พุทธศักราช ๒๕๐๑ เป็นกรรมการมูลนิธิส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา และมนุษยธรรม ( ก. ศ. ม.)
พุทธศักราช ๒๕๑๕ เป็นประธานกรรมการมูลนิธิสงเคราะห์คนเป็นโรคเรื้อน
พุทธศักราช ๒๕๑๖ ในฐานะกรรมการมหาเถรสมาคม และรองประธานกรรมการ คณะธรรมยุตทรงได้รับฉันทานุมัติจากกรรมการคณะธรรมยุต ให้เสด็จไปตรวจการคณะสงฆ์และทรงเยี่ยมพุทธศาสนิกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม ๙ จังหวัด คือ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดขอนแก่น

พุทธศักราช ๒๕๑๙ เป็นประธานกรรมการมูลนิธิสังฆประชานุเคราะห์
พุทธศักราช ๒๕๒๐ เป็นประธานอำนวยการมูลนิธิมหาวชิราลงกรณ์
พุทธศักราช ๒๕๒๑ เป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ ฯ สยามมกุฏราชกุมาร ในการทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเป็นพระอาจารย์ถวายการอบรมพระธรรมวินัย ขณะที่พระภิกษุสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ ฯ สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่างวันที่ ๖ – ๒๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๑

พุทธศักราช ๒๕๒๒ เป็นประธานอำนวยการมูลนิธิสิรินธร
พุทธศักราช ๒๕๒๔ ในฐานะกรรมการมหาเถรสมาคม และประธานกรรมการคณะธรรมยุต ทรงได้รับฉันทานุมัติ จาก กรรมการคณะธรรมยุต ให้เสด็จไปตรวจการ คณะสงฆ์และทรงเยี่ยมพุทธศาสนิกชน ในภาคเหนือ รวม ๑๐ จังหวัด คือ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดตาก จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดกำแพงเพชร

พุทธศักราช ๒๕๒๕ เป็นผู้ถวายพระธรรมเทศนามงคลวิเสสกถา ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และถวายตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

พุทธศักราช ๒๕๒๖ เป็นประธานกรรมการมูลนิธิวัดญาณสังวราราม ในพระบรมราชูปถัมภ์
พุทธศักราช ๒๕๒๗ เป็นประธานกรรมการมูลนิธิพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
พุทธศักราช ๒๕๒๘ เป็นผู้อ่านพระอภิธรรมนำพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ในกระบวนพระราชอิสริยยศ สู่พระเมรุมาศ ณ ท้องสนามหลวง, เป็นรองประธานกรรมการสังคีติการกสงฆ์ ในการสังคายนาพระธรรม วินัย ตรวจชำระพระไตรปิฎก, เป็นสังฆปาโมกข์ปาลิวิโสธกพระวินัยปิฎก ในการสังคายนาพระธรรมวินัย ตรวจชำระพระไตรปิฎก เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯ สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร จนสำเร็จทันในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา

พุทธศักราช ๒๕๓๐ เป็นประธานกรรมการมูลนิธิแผ่นดินธรรม, เป็นประธานกิตติมศักดิ์มูลนิธิสงเคราะห์และฟื้นฟูจิตใจผู้ติดยาเสพติด, เป็นพระอุปัชฌาย์ ในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ ในการหม่อมเจ้าจุฑาวัชร มหิดล พระโอรสในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ ฯ สยามมกุฏราชกุมาร ทรงผนวชสามเณร ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เมื่อวันอังคารที่ ๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๐

พุทธศักราช ๒๕๓๒ เสด็จเยี่ยมพระภิกษุสามเณรและพุทธศาสนิกชนใน ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ สงขลา สตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ตามคำกราบทูลอาราธนาของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างวันที่ ๑๒ - ๑๔ กันยายน ๒๕๓๒

พุทธศักราช ๒๕๓๓ เป็นประธานสงฆ์ในการเจริญพระพุทธมนต์พระราชพิธีพุทธาภิเษก พระพุทธรูปชัยวัฒน์และพระกริ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุ ๙๐ พรรษา และเป็นประธานจุดเทียนชัย ทรงนั่งปรก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

การสาธารณูปการ 
นับแต่ทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ได้ทรงบูรณะซ่อมสร้างเสนาสนะ และถาวรวัตถุต่าง ๆ ภายในวัดบวรนิเวศวิหาร ตลอดถึงการก่อสร้างถาวรวัตถุเป็นสาธารณประโยชน์ในที่อื่นอีกเป็นจำนวนมาก ที่สร้างขึ้นใหม่ในวัดบวรนิเวศวิหาร คือ

- ตึกกวีบรรณาลัย ห้องสมุดของมหามกุฏราชวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
- ตึกวชิรญาณวงศ์ อาคารเรียนของโรงเรียนวัดบวรนิเวศ
- ซุ้มปรางค์ที่ประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ บนลานทักษิณ ชั้นที่ ๒ ของพระเจดีย์ใหญ่

- กุฏิหลวงเจริญฤทธิศาสตร์ ในคณะเหลืองรังษี
- กุฏิพระนิกรบดี ในคณะเขียวรังษี
- ตึก ภปร. พิพิธภัณฑ์วัดบวรนิเวศวิหาร
- กุฏิคุณหลวงจี๊ด สัตยานุรักษ์ ในคณะเหลืองรังษี
- กุฏิรามเดชะ ในคณะสูง
- ถังน้ำบ่อบาดาล พร้อมติดตั้งนาฬิกาไฟฟ้าและระฆังข้างตึกมนุษยนาควิทยาทาน
- อาคารกิจกรรม หลังตึกวชิรญาณวงศ์ โรงเรียนวัดบวรนิเวศ
- ตึก สว . ธรรมนิเวศ โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดบวรนิเวศวิหาร
- มณฑปที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองหลังพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
- โพธิฆระ ( เรือนโพธิ์ ) หลังพระวิหารพระศาสดา
- ศาลาวชิรญาณ ๑๕๐ ปี วัดบวรนิเวศวิหาร
- ศาลาหน้าศาลาวชิรญาณฯ
- กุฏิหน้ากุฏิใหญ่คณะเขียวรังษี

ส่วนเสนาสนะและถาวรวัตถุอื่น ๆ ภายในวัดบวรนิเวศวิหาร ก็ได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่หมดทั้งพระอาราม ที่สำคัญ คือ

- ประดับโมเสกทองพระเจดีย์ใหญ่ตลอดทั้งองค์
- ประดับหินอ่อนพระอุโบสถตลอดทั้งหลัง

การก่อสร้างถาวรวัตถุอื่น ๆ ภายนอกวัดตลอดถึงการอุปถัมภ์การก่อสร้างวัดต่าง ๆ นั้น มีจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ

- สร้างตึกวชิรญาณวงศ์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สำหรับเป็นตึกสงฆ์ และใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๒๕ และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๒๙

- สร้างตึกวชิรญาณ สามัคคีพยาบาร ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สำหรับเป็นตึกสงฆ์ และใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๒๘ และทำพิธี เปิดเมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๓๐

- ทรงอุปถัมภ์การสร้างวัดล้านนาญาณสังวราราม อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มสร้าง พ . ศ . ๒๕๒๓ ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดเมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม พ. ศ. ๒๕๓๑ ประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ. ศ. ๒๕๓๒ พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ . ศ . ๒๕๓๖

- ทรงอุปถัมภ์การสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ศรีนครินทรามหาสันติคิรี และวัดสันติคีรีญาณสัง วราราม ณ ดอยแม่สะลอง บ้านแม่สะลอง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เริ่มสร้าง พ . ศ . ๒๕๓๑ ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดเมื่อ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ . ศ . ๒๕๔๔ ประกาศ ตั้งเป็นวัดเมื่อ วันที่ ๒๖ มีนาคม พ . ศ . ๒๕๔๔ พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ . ศ . ๒๕๔๕

- ทรงอุปถัมภ์การสร้างโรงเรียนมัธยมญาณสังวร อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร พ. ศ. ๒๕๑๖
- ทรงอุปถัมภ์การสร้างวัดรัชดาภิเษก อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี พ. ศ. ๒๕๑๔
- ทรงอุปถัมภ์การสร้างวัดวังพุไทร อำเภอไทรโยค จังหวัดเพชรบุรี เริ่มสร้าง พ. ศ. ๒๕๑๖ ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ . ศ . ๒๕๓๖ ประกาศตั้งเป็นวัด เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พ . ศ . ๒๕๓๖ พระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ . ศ . ๒๕๓๗

- ทรงอุปถัมภ์การสร้างวัดพุมุด อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เริ่มสร้างเมื่อ พ. ศ. ๒๕๑๙ พระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ. ศ. ๒๕๓๒

- สร้างวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เริ่มสร้าง พ . ศ . ๒๕๑๙ ได้รับอนุญาตให้สร้างวัด เมื่อพ. ศ. ๒๕๒๐ ประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ. ศ. ๒๕๒๓ พระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม พ. ศ. ๒๕๒๕

- สร้างโรงเรียนและโรงพยาบาลสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พ . ศ . ๒๕๓๓

- ทรงอุปถัมภ์การสร้างตึก ภปร (ตึกผู้ป่วยนอก) โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๒๙ และทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๓๒

- ทรงอุปถัมภ์การสร้างโรงพยาบาลวัดญาณสังวราราม อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี วางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๖ และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๒๗

ที่นับว่าสำคัญก็คือ เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒ ทรงพระดำริให้จัดสร้าง “ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ” สำหรับสงฆ์อาพาธในโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทุกพระองค์ รวม ๑๙ พระองค์ ในถิ่นที่ขาดแคลนสถานพยาบาล กระจายไปในจังหวัดต่าง ๆ ทุกภาคของประเทศ พร้อมทั้งโปรดให้สร้างพระรูปของสมเด็จพระสังฆราชทั้ง ๑๙ พระองค์ประดิษฐานไว้เป็นที่สักการะบูชาประจำโรงพยาบาลที่สร้างถวายเป็นพระอนุสรณ์แต่ละแห่งด้วย โรงพยาบาลสกลมหาสังฆปริณายกทั้ง ๑๙ แห่งดังกล่าวได้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนี้

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑ ” ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช กุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราช ( ศรี )วัดระฆังโฆษิตาราม

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๒ ” ณ โรงพยาบาลละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราช ( สุก ) วัดมหาธาตุ

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๓ ” ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง จังหวัดราชบุรี ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราช ( มี ) วัดมหาธาตุ

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๔ ” ณ โรงพยาบาลเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราช ( สุก ญาณสังวร ) วัดมหาธาตุ

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๕ ” ณ โรงพยาบาลแม่จัน จังหวัดเชียงราย ถวายเป็นพระ อนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราช ( ด่อน ) วัดมหาธาตุ

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๖ ” โรงพระปริยัติธรรมวัดพระบาทมิ่งเมือง จังหวัดแพร่ ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราช ( นาค ) วัดราชบุรณะ

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๗ ” โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ( พระองค์เจ้าวาสุกรี ) วัดพระเชตุพนวิมล มังคลาราม

“ ตึกสกลมหาสังปริณายก ๘ ” ณ โรงพยาบาลหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ( พระองค์เจ้าฤกษ์ ) วัดบวรนิเวศวิหาร

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๙ ” ณ โรงพยาบาลชลบุรี จังหวัดชลบุรี ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ( สา ปุสฺสเทโว ) วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๐ ” ณ โรงพยาบาลนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ถวายเป็นพระอนุสรณ์
แด่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ( พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ ) วัดบวรนิเวศวิหาร

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๑ ” ณ โรงพยาบาลนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ( หม่อมเจ้าภุชงค์ ) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๒ ” ณ โรงพยาบาลขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ( แพ ติสฺสเทโว ) วัดสุทัศน์เทพวราราม

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๓ ” ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ( หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ ) วัดบวรนิเวศวิหาร

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๔ ” ณ โรงพยาบาลอ่าวลึก จึงหวัดกระบี่ ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ( ปลด กิตฺติโสภโณ ) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๕ ” ณ โรงพยาบาลตราด จังหวัดตราด ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ( อยู่ ญาโณทโย ) วัดสระเกศ

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๖ ” ณ โรงพยาบาลภูกระดึง จังหวัดเลย ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ( จวน อุฏฐายี ) วัดมกุฎกษัตริยาราม

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๗ ” ณ โรงพยาบาลลานสะกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ( ปุ่น ปุณฺณสิริ ) วัดพระเชตุพนวิมลลังคลาราม

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๘ ” ณ โรงพยาบาลไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ( วาสน์ วาสโน ) วัดราชบพิธสถิต มหาสีมาราม

“ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๙ ” ณ โรงพยาบาลท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ( เจริญ สุวฑฺฒโน ) วัดบวรนิเวศวิหาร


นอกจากนี้ยังทรงอุปถัมภ์การก่อสร้างวัดในต่างประเทศอีกหลายแห่งคือ 

- วัดพุทธรังษี ในอุปการะของมหามกุฏราชวิทยาลัย ณ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลียก่อตั้ง เมื่อ พ . ศ . ๒๕๑๕ และเปิดวัดเป็นทางการ เมื่อ พ . ศ . ๒๕๑๘
- วัดจาการ์ตาธรรมจักรชัย ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เริ่มก่อสร้างเมื่อพ. ศ. ๒๕๒๕ และผูกพัทธสีมา เมื่อ พ. ศ. ๒๕๒๘
- อุโบสถวัดสิริกิตติวิหาร ณ เมืองกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ. ศ. ๒๕๓๑
- วัดแคโรไลนาพุทธจักรวนาราม รัฐนอร์ธแคโรไลนา ประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ. ศ. ๒๕๓๐

พระกรณียกิจ
- ทรงแสดงพระธรรมเทศนาประจำวันอุโบสถเวลาเช้า ในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
- ทรงบรรยายธรรมในการฝึกอบรมการปฏิบัติทางจิต ( กรรมฐาน ) ประจำวันพระ และหลังวันพระ ณ ห้องประชุม ชั้น ๒ ตึก สว. ธรรมนิเวศ
- ทรงบรรยายในรายการบริหารทางจิตสำหรับผู้ใหญ่ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียง อ. ส. พระราชวังดุสิต ประจำทุกวันอาทิตย์

พระศาสนกิจในต่างประเทศ

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ได้ทรงปฏิบัติพระกรณียะต่างๆ มาแต่ครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ เช่น การจัดให้มีการเทศน์เป็นภาษาอังกฤษ จัดให้มีการสอนกรรมฐานแก่ชาวต่างประเทศ และจัดให้มีการสนทนาธรรมแก่ชาวต่างประเทศเป็นประจำ (ทุกวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์)

โดย เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นผู้ดำเนินการเองร่วมกับพระภิกษุไทย และพระภิกษุชาวต่างประเทศที่บวชอยู่ วัดบวรนิเวศวิหาร นอกจากนี้ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ยังได้เสด็จไปปฏิบัติศาสนกิจ เกี่ยวกับการพระศาสนาในต่างประเทศอีกหลายคราว คือ

พ.ศ. ๒๕๐๙ ในฐานะประธานกรรมการอำนายการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ได้เสด็จไปเป็นประธานสงฆ์ ในพิธีเปิดวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๙

การเสด็จไปประเทศอังกฤษ คราวนี้ ก็เป็นโอกาสให้ได้ดูกิจการพระธรรมทูต และการพระศาสนาในประเทศนั้น และในประเทศอิตาลีในขากลับประเทศไทยอีกด้วย

พ.ศ. ๒๕๑๐ ในฐานะกรรมการมหาเถรสมาคม ได้ตามเสด็จ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี) วัดมกุฏกษัตริยาราม ซึ่งเสด็จเยือนประเทศศรีลังกาอย่างเป็นทางการ ตามคำทูลอาราธนาของรัฐบาลศรีลังกา เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างศาสนิกชนแห่งประเทศทั้งสอง และเป็นการตอบแทนไมตรีของรัฐบาลไทย ที่ได้นิมนต์พระมหานายกะของสยามวงศ์นิกายแห่งลังกา มาเยือนประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙

พ.ศ. ๒๕๑๑ เสด็จไปดูการพระศาสนา วัฒนธรรม และการศึกษาทั่วไป ในประเทศอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ ในฐานะประธานสภาการคึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย โดยอนุมัติของมหาเถรสมาคม พร้อมด้วยพระเทพกวี (ประยูร สนฺตงฺกุโร ป.ธ. ๙) (สมณศักดิ์สุดท้ายที่ สมเด็จพระญาณวโรดม) เลขาธิการสภาการศึกษาฯ ในขณะนั้น

เนื่องจากการเดินทางครั้งนี้ ผลปรากฏว่าต่อมาได้มีการติดต่อกับหัวหน้าชาวพุทธไปประเทศอินโดนีเซีย และได้วางโครงการร่วมกันในอันที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศนั้น สุดท้ายหัวหน้าชาวพุทธในประเทศอินโดนีเซียได้เดินทางเข้ามาประเทศไทย เจรจากับ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ขอพระธรรมทูตไทยออกไปช่วยฟื้นฟูพุทธศาสนาในประเทศอินโดนีเซีย

กรมการศาสนาร่วมกับสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ จึงได้คัดเลือกพระธรรมทูตไทย ๔ รูป เสนอ มหาเถรสมาคม ส่งออกไปปฏิบัติศาสนกิจช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศนั้น พระธรรมทูตชุดแรกออกไปเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ และพระธรรมทูตชุดนี้ปฏิบัติศาสนกิจอยู่ในประเทศนี้ถึง ๑๐ ปีเศษ

สำหรับประเทศออกเตรเลียนั้น ปรากฏว่ามีผู้นับถือและสนใจพระพุทธศาสนาอยู่เป็นจำนวนมาก มีความประสงค์ให้มีพระสงฆ์อยู่ เพื่อประกาศพระพุทธศาสนาในประเทศนั้นด้วย

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ในฐานะผู้อำนวยการมหามกุฏราชวิทยาลัย จึงได้เสนอเรื่องการจัดตั้งสำนักสงฆ์ไทยในออสเตรเลีย ต่อคณะกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย และผู้ที่เกี่ยวข้อง ก็ได้รับความเห็นชอบ และจัดตั้งสำนักสงฆ์ไทยขึ้นในประเทศนั้น ในความอุปการะของ มหามกุฏราชวิทยาลัย

และได้จัดส่งพระภิกษุไทยร่วมกับพระภิกษุชาวต่างประเทศ (ซึ่งบวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร) ออกไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นครั้งแรก เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๑๖ และต่อมาก็ได้จัดตั้งวัดขึ้น และประกอบพิธีเปิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘

พ.ศ. ๒๕๑๓ เสด็จไปประเทศอินโดนีเซียอีกครั้งหนึ่ง ตามคำอาราธนาของหัวหน้าพระธรรมทูตไทย และ พระชินรักขิตเถระ หัวหน้าพุทธศาสนิกชนชาวอินโดนีเซีย เพื่อให้การบรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรชาวอินโดนีเซีย ๗ คน พร้อมด้วย พระธรรมโสภณ (สนธิ์ กิจฺจกาโร) (ภายหลังเลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นที่ พระญาณวโรดม รองเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร)

การเดินทางไปประเทศอินโดนีเซียครั้งนี้ เป็นโอกาสให้ได้สังเกตการณ์เกี่ยวกับความเป็นอยู่ วัฒนธรรม และความเป็นไปของพระพุทธศาสนาในประเทศนั้น

พระขนฺติปาโล ได้บันทึกการเดินทางเล่าถึงสิ่งที่พบเห็น และข้อคิดเห็นบางประการไว้อย่างน่าสนใจ หนังสือเล่มนี้พิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔

พ.ศ. ๒๕๑๔ ในฐานะประธานสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย เสด็จไปดูการศาสนาและการศึกษา ในประเทศปากีสถาน เนปาล และอินเดีย พร้อมด้วย พระเทพกวี (ประยูร สนฺตงฺกุโร ป.ธ. ๙) (สมณศักดิ์สุดท้ายที่ สมเด็จพระญาณวโรดม) เลขาธิการสภาการศึกษาฯ ในขณะนั้น

ในโอกาสเดียวกัน ก็ได้รับอนุมัติจาก มหาเถรสมาคม ให้เป็นผู้แทนของคณะสงฆ์ไทยไปเยี่ยมเยียนพระสงฆ์ และวัดพระพุทธศาสนาในประเทศปากีสถานตะวันออก และนำสาส์นของ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี) ถึงพุทธศาสนิกชนชาวปากีสถานตะวันออก

พร้อมทั้งนำเอาวัสดุสิ่งของต่างๆ และกัปปิยภัณฑ์จำนวนหนึ่ง ซึ่งทางคณะสงฆ์ไทยได้จัดหามาไปมอบแก่ พระภิกษุสามเณรและชาวพุทธในประเทศปากีสถานตะวันออก ที่ประสบวาตภัยครั้งใหญ่ในคราวนั้นด้วย

เมื่อกลับจากการเดินทางครั้งนั้นแล้ว ก็ได้ทำรายงานเสนอมหาเถรสมาคม ทำให้คณะสงฆ์ได้ทราบถึงความเป็นไปของพระพุทธศาสนาในประเทศนั้นๆ ซึ่งกำลังต้องการความช่วยเหลือในการฟื้นฟู และทำให้คณะสงฆ์เห็นชอบด้วยกับความดำริของคณะสงฆ์เนปาล ซึ่งจะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศนั้น และยินดีสนองความต้องการของคณะสงฆ์เนปาล

ในขั้นแรกนี้สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ได้เสนอให้ทุนการศึกษาจำนวน ๒ ทุน สำหรับให้พระภิกษุสามเณรชาวเนปาล เข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทย

ต่อมาคณะสงฆ์เนปาลก็ได้คัดเลือกสามเณร ๒ รูป ส่งเข้ามาศึกษาในประเทศไทย โดยพักอยู่ที่ วัดบวรนิเวศวิหาร เข้าศึกษาที่สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ในหลักสูตรพิเศษ ๓ ปี สำหรับพระภิกษุและสามเณรชาวต่างประเทศ

พ.ศ. ๒๕๑๘ เสด็จไปเป็นประธานสงฆ์ในพิธีเปิด วัดพุทธรังษี สแตนมอร์ ณ นครซิดนีย์ รัฐนิวเซ้าท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ฯ สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิด และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา ระหว่างวันที่ ๒๒ พฤษภาคม-๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๘

พ.ศ. ๒๕๒๐ เสด็จไปบรรพชากุลบุตรชาวอินโดนีเซียจำนวน ๔๓ คน ณ เมืองสมารัง ประเทศอินโดนีเซีย ตามคำอาราธนาของคณะสงฆ์สังฆเถรวาทอินโดนีเซีย ได้เสด็จไปเยี่ยมชมกิจการพระศาสนา ณ ประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ขากลับทรงแวะเยี่ยมชมการพระศาสนา ณ ประเทศสิงคโปร์ ด้วย ระหว่างวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๐-๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๑

พ.ศ. ๒๕๒๓ เสด็จไปร่วมประชุม สหพันธ์คีตาอาศรมสากล ในฐานะที่ทรงเป็นพระอาคันตุกิเศษ ณ ประเทศอินเดีย เมื่อทรงเสร็จภารกิจที่ประเทศอินเดียแล้ว ได้เสด็จไปเยี่ยมชมกิจการพระศาสนา ณ ประเทศเนปาล อีกครั้งหนึ่ง ระหว่างวันที่ ๑๑-๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๓

ในศกเดียวกัน เสด็จไปทรงดูกิจการพระศาสนา ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศยุโรป ตามคำอาราธนาของบริษัท ศรีกรุงวัฒนา จำกัด พร้อมด้วย พระธรรมดิลก (ปุญฺญาราโม วิชมัย บุญมาก) (สมณศักดิ์สุดท้ายที่ พระพรหมมุนี) ระหว่างวันที่ ๓ เมษายน-๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๓

พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นประธานคณะสงฆ์พร้อมด้วยพระสงฆ์อีก ๑๙ รูป จากประเทศไทยไปทรงประกอบพิธีผูกพัทธสีมาพระอุโบสถ วัดจาการ์ตาธรรมจักรชัย ณ ประเทศอินโดนีเซีย ตามคำอาราธนาของคณะสงฆ์เถรวาทอินโดนีเซีย เป็นการผูกพัทธสีมาพระอุโบสถวัดพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นครั้งแรกในประเทศอินโดนีเซียนั้น ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘

ในศกเดียวกัน เสด็จพร้อมด้วยคณะสงฆ์จากประเทศไทย ไปเป็นประธานบรรพชากุลบุตรศากยะแห่งเนปาล จำนวน ๗๓ คน ณ กรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล ตามคำอาราธนาของคณะสงฆ์เนปาล ระหว่างวันที่ ๒๓-๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘

พ.ศ. ๒๕๓๖ เสด็จเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ ตามคำกราบทูลอาราธนาของรัฐบาลจีน โดยได้เสด็จเยือนเมืองต่างๆ คือ ปักกิ่ง ซีอาน คุนหมิง และสิบสองปันนา ระหว่างวันที่ ๒๐ มิถุนายน-๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖

นับเป็นการเจริญศาสนสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน เป็นทางการเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ แห่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสอง

พ.ศ. ๒๕๓๘ เสด็จไปทรงเป็นประธานวางศิลาฤกษ์ วัดไทยลุมพินี ณ เมืองลุมพินี ประเทศเนปาล ซึ่งรัฐบาลไทยได้จัดสร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๘





0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น