จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

พระองค์ที่ ๑๙ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก [ วัดบวรนิเวศวิหาร ] ๓

"

พระองค์ที่ ๑๙ สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) 
[ วัดบวรนิเวศวิหาร ] ๓
เป็นพระสังฆราช ที่อยู่ในตำแหน่งพระสังฆราชไทยที่ยาวนานที่สุด และอายุยืนนานที่สุด 

        พ.ศ.๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน เสด็จออกทรงผนวชเป็น พระภิกษุในพระพุทธศาสนา และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงปฏิบัติสมณธรรมเป็นเวลา ๑๕ วัน จึงทรงลาผนวช

        ในการเสด็จออกทรงผนวชของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครั้งนี้ นับเป็นเหตุการณ์ สำคัญของชาติและเป็นภารกิจสำคัญของวัดบวรนิเวศวิหารที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับการทรงผนวชครั้งนี้ให้ลุล่วงไปด้วยดีสมพระราชประสงค์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระราชอุปัธยาจารย์ในการทรงผนวชครั้งนี้ ได้ทรงเลือกเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระโศภนคณาภรณ์ ให้เป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ในการทรงผนวช ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งนับเป็นหน้าที่สำคัญ เพราะจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้ถวาย คำแนะนำต่าง ๆ เกี่ยวกับการทรงผนวชแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นับแต่ก่อนการทรง ผนวชจนตลอดระยะเวลาแห่งการทรงผนวช

        การที่เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงได้รับเลือกให้ปฏิบัติหน้าที่พิเศษดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นว่า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ฯ ทรงไว้วางพระทัยในพระปฏิปทาและความสามารถของเจ้าพระคุณ         สมเด็จ ฯ ว่าจะทรงปฏิบัติที่สำคัญครั้งนี้ได้เรียบร้อยสมบูรณ์ และก็ปรากฏว่า เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ได้ทรง ปฏิบัติหน้าที่พระอภิบาลสนองพระเดชพระคุณได้เรียบร้อยสมบูรณ์ทุกประการ

        จากการที่ได้ทรงปฏิบัติหน้าที่พระอภิบาลในการทรงผนวชครั้งนี้ เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ จึงได้ทรงเป็นที่ทรงเคารพนับถือในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาแต่บัดนั้น และทรงรับหน้าที่ถวาย พระธรรมเทศนาและถวายธรรมกถา แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสต่าง ๆ ตลอดมา ทั้งที่เป็นงานพระราชพิธีและเป็นการส่วนพระองค์

        พ.ศ.๒๕๒๑  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชมาร เสด็จออกทรงผนวช เป็นพระภิกษุ และเสด็จประทับบำเพ็ญสมณธรรม ณ วัดบวรนิเวศวิหารเป็นเวลา ๑๕ วัน จึงทรงลาผนวช เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร ก็ทรงได้รับอาราธนา ให้เป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ ในพระราชพิธีทรงผนวช (สมเด็จพระสังฆราช วาสนมหาเถร วัดราชบพิธ ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์) และทรงทำหน้าที่เป็นพระอาจารย์ถวาย พระธรรมวินัยตลอดระยะเวลาแห่งการทรงผนวช


        กล่าวได้ว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงเป็นพระมหาเถระผู้คงแก่เรียนพระองค์หนึ่งในยุคปัจจุบัน ทรงรอบรู้แตกฉานในพระพุทธศาสนาทั้งในด้านทฤษฎีหรือปริยัติ ทั้งในด้านปฏิบัติ ในด้านปริยัตินั้นทรงสำเร็จภูมิเปรียญธรรม ๙ ประโยคซึ่งเป็นชั้นสูงสุดทางการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย ส่วนในด้านปฏิบัตินั้น เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ทรงเป็นพระนักปฏิบัติ หรือที่นิยมเรียกกันเป็น สามัญทั่วไปว่า พระกรรมฐาน พระองค์หนึ่งดังเป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่พระนักปฏิบัติและสาธุชน ผู้ไฝ่ใจในด้านนี้ ฉะนั้น ผลงานทางพระพุทธศาสนาของพระองค์จึงนับได้ว่ามีความสมบูรณ์พร้อม เป็นองค์ความรู้ที่มีความชัดเจนทั้งในเชิงทฤษฎีและในเชิงปฏิบัติ เพราะเป็นองค์ความรู้ที่ถูก กรั่นกรองออกมาจากความรู้ความเข้าใจที่มีทฤษฎีเป็นฐาน และมีการปฏิบัติด้วยพระองค์เอง เป็นเครื่องตรวจสอบเทียบเคียง เป็นผลให้องค์ความรู้ที่พระองค์แสดงออกมาทั้งในผลงานที่เป็นบท พระนิพนธ์ ทั้งในผลงานที่เป็นการเทศนาสั่งสอนในเรื่องและในโอกาสต่าง ๆ  มีความลึกซึ้ง ชัดเจน และเข้าใจง่าย



     
"

พระองค์ที่ ๑๙ สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) 
[ วัดบวรนิเวศวิหาร ] ๓
เป็นพระสังฆราช ที่อยู่ในตำแหน่งพระสังฆราชไทยที่ยาวนานที่สุด และอายุยืนนานที่สุด 

        พ.ศ.๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน เสด็จออกทรงผนวชเป็น พระภิกษุในพระพุทธศาสนา และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงปฏิบัติสมณธรรมเป็นเวลา ๑๕ วัน จึงทรงลาผนวช

        ในการเสด็จออกทรงผนวชของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครั้งนี้ นับเป็นเหตุการณ์ สำคัญของชาติและเป็นภารกิจสำคัญของวัดบวรนิเวศวิหารที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับการทรงผนวชครั้งนี้ให้ลุล่วงไปด้วยดีสมพระราชประสงค์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระราชอุปัธยาจารย์ในการทรงผนวชครั้งนี้ ได้ทรงเลือกเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระโศภนคณาภรณ์ ให้เป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ในการทรงผนวช ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งนับเป็นหน้าที่สำคัญ เพราะจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้ถวาย คำแนะนำต่าง ๆ เกี่ยวกับการทรงผนวชแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นับแต่ก่อนการทรง ผนวชจนตลอดระยะเวลาแห่งการทรงผนวช

        การที่เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงได้รับเลือกให้ปฏิบัติหน้าที่พิเศษดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นว่า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ฯ ทรงไว้วางพระทัยในพระปฏิปทาและความสามารถของเจ้าพระคุณ         สมเด็จ ฯ ว่าจะทรงปฏิบัติที่สำคัญครั้งนี้ได้เรียบร้อยสมบูรณ์ และก็ปรากฏว่า เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ได้ทรง ปฏิบัติหน้าที่พระอภิบาลสนองพระเดชพระคุณได้เรียบร้อยสมบูรณ์ทุกประการ

        จากการที่ได้ทรงปฏิบัติหน้าที่พระอภิบาลในการทรงผนวชครั้งนี้ เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ จึงได้ทรงเป็นที่ทรงเคารพนับถือในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาแต่บัดนั้น และทรงรับหน้าที่ถวาย พระธรรมเทศนาและถวายธรรมกถา แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสต่าง ๆ ตลอดมา ทั้งที่เป็นงานพระราชพิธีและเป็นการส่วนพระองค์

        พ.ศ.๒๕๒๑  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชมาร เสด็จออกทรงผนวช เป็นพระภิกษุ และเสด็จประทับบำเพ็ญสมณธรรม ณ วัดบวรนิเวศวิหารเป็นเวลา ๑๕ วัน จึงทรงลาผนวช เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร ก็ทรงได้รับอาราธนา ให้เป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ ในพระราชพิธีทรงผนวช (สมเด็จพระสังฆราช วาสนมหาเถร วัดราชบพิธ ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์) และทรงทำหน้าที่เป็นพระอาจารย์ถวาย พระธรรมวินัยตลอดระยะเวลาแห่งการทรงผนวช


        กล่าวได้ว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงเป็นพระมหาเถระผู้คงแก่เรียนพระองค์หนึ่งในยุคปัจจุบัน ทรงรอบรู้แตกฉานในพระพุทธศาสนาทั้งในด้านทฤษฎีหรือปริยัติ ทั้งในด้านปฏิบัติ ในด้านปริยัตินั้นทรงสำเร็จภูมิเปรียญธรรม ๙ ประโยคซึ่งเป็นชั้นสูงสุดทางการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย ส่วนในด้านปฏิบัตินั้น เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ทรงเป็นพระนักปฏิบัติ หรือที่นิยมเรียกกันเป็น สามัญทั่วไปว่า พระกรรมฐาน พระองค์หนึ่งดังเป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่พระนักปฏิบัติและสาธุชน ผู้ไฝ่ใจในด้านนี้ ฉะนั้น ผลงานทางพระพุทธศาสนาของพระองค์จึงนับได้ว่ามีความสมบูรณ์พร้อม เป็นองค์ความรู้ที่มีความชัดเจนทั้งในเชิงทฤษฎีและในเชิงปฏิบัติ เพราะเป็นองค์ความรู้ที่ถูก กรั่นกรองออกมาจากความรู้ความเข้าใจที่มีทฤษฎีเป็นฐาน และมีการปฏิบัติด้วยพระองค์เอง เป็นเครื่องตรวจสอบเทียบเคียง เป็นผลให้องค์ความรู้ที่พระองค์แสดงออกมาทั้งในผลงานที่เป็นบท พระนิพนธ์ ทั้งในผลงานที่เป็นการเทศนาสั่งสอนในเรื่องและในโอกาสต่าง ๆ  มีความลึกซึ้ง ชัดเจน และเข้าใจง่าย



     

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น