จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

พระองค์ที่ ๓ สมเด็จพระสังฆราช (มี) [ วัดมหาธาตุ ]

"
พระองค์ที่ ๓ สมเด็จพระสังฆราช (มี) [ วัดมหาธาตุ ]
พระองค์ที่ ๓ สมเด็จพระสังฆราช (มี)
[ วัดมหาธาตุ ]
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
( นิตยสารธรรมจักษุ ปีที่ ๘๐ ฉบับที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๓๙ )


พระประวัติในเบื้องต้น
          สมเด็จพระสังฆราช (มี) มีพระประวัติในเบื้องต้นเป็นมาอย่างไร ไม่ทราบรายละเอียด ปรากฏแต่เพียงว่า ประสูติเมื่อครั้งรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันพุธ เดือน ๘ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๑๒ ตรงกับวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๒๙๓

เมื่อครั้งกรุงธนบุรี ทรงเป็นพระเปรียญเอกอยู่วัดเลียบ (วัดราชบุรณะ)
          ครั้น พ.ศ. ๒๓๒๕ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกและสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดตั้งเป็นพระราชาคณะ ที่พระวินัยรักขิต  แทนตำแหน่งที่ พระอุปาฬี ซึ่งเป็นตำแหน่งพระราชาคณะสามัญ มาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาโดยทรงพระราชดำริว่า ที่พระอุปาฬี ต้องกับนามพระอรหันต์ จึงโปรดให้แปลงนามเลยใหม่ เป็นพระวินัยรักขิต ฉะนั้น สมเด็จพระสังฆราช (มี) จึงทรงเป็นพระราชาคณะในราชทินนามที่ พระวินัยรักขิต เป็นรูปแรก

พ.ศ. ๒๓๓๗ ในรัชกาลที่ ๑ โปรดให้เลื่อนขึ้นเป็นที่ พระพิมลธรรม ในคราวเดียวกับที่ทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราช (สุก) และสมเด็จพระพนรัตน วัดโพธาราม (วัดพระเชตุพน) ถึงรัชกาลที่ ๒ เมื่อสมเด็จพระพนรัตน วัดโพธาราม (วัดพระเชตุพน) ถึงมรณภาพราวต้นรัชกาล จึงทรงตั้งเป็น สมเด็จพระพนรัตน

สมณทูตไปลังกาครั้งแรกในยุคกรุงรัตนโกสินทร์
           เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระพนรัตน สมเด็จพระสังฆราช (มี) ได้ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจที่สำคัญครั้งหนึ่ง คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระราชดำริที่จะให้พระสงฆ์ไทย ออกไปสืบข่าวพระศาสนายังลังกาทวีป แต่เนื่องจากสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ขณะนั้นทรงชราภาพ จึงทรงมอบหมายให้สมเด็จพระพนรัตน (มี) เป็นผู้จัดสมณทูต เพื่อออกไปยังลังกาทวีปครั้งนี้ ดังมีรายละเอียดบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารว่า

"เมื่อปีมะเส็งเอกศก จุลศักราช ๑๑๗๑พ.ศ. ๒๓๕๒ แต่ในปลายรัชกาลที่ ๑ มีพระภิกษุชาวลังกาชื่อพระวลิตรภิกษุรูป ๑ กับสามเณร ๒ รูปเข้ามาจากเมืองนครศรีธรรมราชมาถึงกรุงเทพฯ โปรดให้วลิตรภิกษุ กับสามเณรชื่อรัตนปาละ ไปอยู่ในสำนักสมเด็จพระสังฆราช ณ วัดมหาธาตุสามเณรอีกรูป ๑ ชื่อหิธายะ ให้ไปอยู่ในสำนักสมเด็จพระวันรัตน์วัดพระเชตุพน

ต่อมาในรัชกาลที่ ๒ สามเณรลังกาทั้ง ๒ รูป ขออุปสมบทเป็นพระภิกษุสยามวงศ์ เพราะถือว่าเป็นวงศ์เดียวกับพระสงฆ์ในลังกาทวีป ซึ่งได้รับอุปสมบทแต่พระอุบาลี ที่ออกไปในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศครั้งกรุงเก่า จึงโปรดให้สามเณรทั้ง ๒ นี้เป็นนาคหลวงบวชในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระราชทานนิตยภัตไตรปีสืบมา

ครั้นมาถึงปีระกา เบญจศก จุลศักราช ๑๑๗๕ พ.ศ. ๒๓๕๖ มีพระลังกาเข้ามาถึงกรุงเทพฯ อีกรูป ๑ ชื่อพระศาสนวงศ์ อ้างว่าพระมหาสังฆนายกในลังกาทวีป ให้เชิญพระบรมสารีริกธาตุเข้ามาถวาย แด่สมเด็จพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา แต่ไม่มีสมณสาสน์หรือสำคัญอันใดมา ครั้นไต่ถามถึงการพระศาสนาในลังกาทวีป พระศาสนวงศ์ก็ให้การเลื่อนเปื้อนไปต่าง ๆ ซ้ำมาเกิดรังเกียจ ไม่ปรองดองกันกับพระลังกา ที่เข้ามาอยู่แต่ก่อน วัตรปฏิบัติก็ไม่น่าเลื่อมใสด้วยกันทั้ง ๒ รูป จึงเป็นเหตุให้ทรงแคลงพระราชหฤทัยว่า จะมิใช่พระที่ได้รับอุปสมบทมาแต่ลังกาทวีป

ทรงพระราชดำริว่าพระสงฆ์ในลังกาทวีป ก็เป็นสมณวงศ์อันเดียวกันกับพระสงฆ์ในสยามประเทศ เคยมีสมณไมตรีต่อกันมาแต่ครั้งกรุงเก่า แต่เริดร้างมาเสียเพราะเกิดเหตุศึกสงคราม ไม่ได้ไปมาหาสู่ถึงกันช้านาน บัดนี้กรุงสยาม ก็ได้ประดิษฐานพระนครรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี มีอิสระมั่นคงแล้ว แลได้ข่าวว่าลังกาทวีปเสียแก่อังกฤษ การพระศาสนาแลศาสนวงศ์ ในลังกาทวีปจะเป็นอย่างไร ควรจะสืบสวนให้ทราบความจริงไว้ จึงทรงเผดียงสมเด็จพระวันรัตน์ (มี) วัดราชบุรณะ กับพระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี) ให้จัดหาพระภิกษุสงฆ์ทั้งฝ่ายคณะใต้แลคณะเหนือ จะมีองค์ใดศรัทธาออกไปยังลังกาทวีปบ้าง

สมเด็จพระวันรัตนจัดได้พระวัดราชบุรณะ ๕ รูป คือ พระอาจารย์ดีรูป ๑ พระอาจารย์เทพรูป ๑ พระแก้วรูป ๑ พระคงรูป ๑ พระห่วงรูป ๑ พระพุทธโฆษาจารย์จัดได้พระวัดมหาธาตุ ๔ รูป คือ พระอาจารย์อยู่รูป ๑ พระปรางรูป ๑ พระเซ่งรูป ๑พระม่วงรูป ๑ รวมพระสงฆ์ไทย ๙ รูป ครั้งนั้นพระรัตนปาละ พระหิธายะชาวลังกา ซึ่งเข้ามาอุปสมบทในกรุงเทพฯ ทราบว่าพระสงฆ์สมณทูตไทยจะออกไปลังกา ถวายพระพรลาจะออกไปเยี่ยมญาติโยมของตนด้วย โปรดให้ไปกับสมณทูต พระสงฆ์ที่จะไปจึงรวมเป็น ๑๐ รูปด้วยกัน

เมื่อจัดพระได้พร้อมแล้ว ถึงเดือน ๒ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ป็จอ ฉศก พ.ศ. ๒๓๗๕ โปรดให้นิมนต์พระสงฆ์สมณทูตเข้าไปรับผ้าไตรแลเครื่องบริขารต่อพระหัตถ์ แลโปรดให้จัดต้นไม้เงินทอง ๑๖ สำรับเทียนใหญ่ธูปใหญ่ ๓๐๐ คู่ เป็นของทรงพระราชอุทิศส่งไปบูชาพระทันตธาตุ และพระเจดียฐานในลังกาทวีป แลโปรดให้จัดเครื่องสมณบริขาร ๓ สำรับ คือ บาตร ฝาแลเซิงประดับมุก ถลกบาตรสักหลาดแดง ไตรแพรปักสี ย่ามหักทองขวางเป็นของพระราชทานพระสังฆนายก พระอนุนายก แลพระเถระซึ่งรักษาพระทันตธาตุ ณ เมืองสิงขัณฑศิริวัฒนบุรี แลมีสมณสาสน์ของสมเด็จพระสังฆราช ไปถึงพระสังฆนายกด้วยฉบับหนึ่ง โปรดให้หมื่นไกร กรมการเมืองนครศรีธรรมราช เป็นไวยาวัจกรสมณทูต แลคุมต้นไม้เงินทองสิ่งของพระราชทานไปด้วย

สมณทูตลงเรือกรมอาสาจามไปจากกรุงเทพฯ เมื่อ ณ วันเดือน ๒ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ถูกลมว่าวพัดกล้าคลื่นใหญ่ เรือไปชำรุดเกยที่ปากน้ำเมืองชุมพร พระยาชุมพรจัดเรือส่งไปเมืองไชยา พระยาไชยาจัดเรือส่งต่อไป ถึงเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อ ณ เดือน ๔ ขึ้น ๘ ค่ำ ไม่ทันฤดูลมที่จะใช้ใบไปลังกาทวีป สมณทูตจึงต้องค้างอยู่เมืองนครศรีธรรมราช ๑๑ เดือน ในระหว่างนั้น พระวลิตรภิกษุ กับพระศาสนวงศ์ พระลังกาที่อยู่ในกรุงเทพฯ ทราบว่าพระสงฆ์ไทยยังค้างอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช ถวายพระพรลาว่าจะกลับไปบ้านเมืองกับสมณทูตไทย เมื่อได้พระราชทานอนุญาตแล้ว ก็ตามออกไปยังเมืองนครศรีธรรมราช แต่เมื่ออกไปถึงเมืองนครศรีธรรมราชแล้ว พระวลิตรภิกษุ กับพระรัตนปาละ พระหิธายะ ที่มาบวชในกรุงเทพฯ ไปประพฤติตัวไม่เรียบร้อยต่าง ๆ พระยานครศรีธรรมราช (น้อย) เห็นว่า ถ้าให้พระลังกา ๓ รูปนั้นไปกับพระสงฆ์สมณทูตไทย เกรงจะไปเกิดเหตุการณ์ให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ จึงจัดส่งไปเกาะหมากทั้ง ๓ รูป ให้กลับไปบ้านเมืองของตนตามอำเภอใจ คงให้ไปกับพระสงฆ์ไทย แต่พระศาสนวงศ์รูปเดียว แต่เมื่อไปขึ้นบกในอินเดียแล้วพระศาสนวงศ์ก็หลบหายไปอีก

พระสงฆ์สมณทูตไทยไปบกจากเมืองนครศรีธรรมราช ไปลงเรือที่เมืองฝรั่ง ได้ออกเรือเมื่อ ณ เดือน ๔ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีกุน สัปตศก จุลศักราช ๑๑๗๗ พ.ศ. ๒๓๕๘ ไปกับเรือที่บรรทุกช้างไปขายในอินเดีย พระยานครศรีธรรมราชมีจดหมายไปถึงสังฆนาเกน นายห้างพราหมณ์อยู่ ณ เมืองบำบุดบำดัด ซึ่งเป็นคนชอบกับเจ้าพระยานคร ได้เคยรับซื้อช้างกันมาเสมอทุกปี

ครั้นเรือไปถึงเมืองบำบุดบำดัด สังฆนาเกนได้ทราบความในหนังสือเจ้าพระยานครแล้ว ก็ช่วยเป็นธุระรับรองพระสงฆ์สมณทูต แลให้เที่ยวหาจ้างคนนำทางที่จะไปลังกา พระสงฆ์ต้องคอยท่าอยู่อีกเดือนหนึ่ง จึงได้บลิม แขกต้นหนคน ๑ เคยมาค้าขายที่เมืองฝรั่งพูดไทยได้เป็นล่าม แลนำทางไป ต้นไม้ทองเงินธูปเทียนแลเครื่องบริขารของพระราชทานนั้น บลิมก็รับไปด้วย เรียกค่าจ้างเป็นเงิน ๑๘๐ รูเปีย

ออกเดินไปจากเมืองบำบุดบำดัด เมื่อ ณ เดือน ๕ แรม ๖ ค่ำ ไป ๗๖ วันถึงท่าข้ามไปเกาะลังกา บลิมจ้างเรือไปส่งไปวัน ๑ ถึงเกาะลังกา ขึ้นเดินไปจากท่าเรืออีก ๓ วัน ถึงเมืองอนุราธบุรี เมื่อ ณ วันเดือน ๘ บุรพาสาธขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีชวด อัฐศก พ.ศ. ๒๓๕๙

พักอยู่ที่เมืองอนุราธบุรี ๓ วัน กุมารสิยูม ซึ่งเป็นใหญ่อยู่ที่เมืองอนุราธบุรีนั้น จัดคนนำทางส่งต่อไปเมืองสิงขัณฑศิริวัฒนบุรี เดินไปได้ ๑๖ วัน ถึงคลองน้ำชื่อว่า วาลุกคงคา เมื่อ ณ วันเดือน ๘ ทุติยาสาธขึ้นค่ำ ๑

ขุนนางเมืองสิงขัณฑทราบว่าพระสงฆ์ไทย ไปถึงคลองวาลุกคงคา จึงแต่งให้พันนายบ้านราษฎรออกมาปฏิบัติ ทำปะรำดาดผ้าขาวให้พักอาศัยอยู่คืนหนึ่ง รุ่งขึ้น ณ วันเดือน ๘ ทุติยาสาธขึ้น ๒ ค่ำ พระสงฆ์ สามเณร ราษฎรชาวลังกาชายหญิง ออกมารับสมณทูตไทยแห่เข้าไปในเมือสิงขัณฑ ให้ไปอยู่วัดบุปผาราม

เวลานั้นอังกฤษพึ่งได้เกาะลังกาเป็นเมืองขึ้นใหม่ ๆ เจ้าเมืองอังกฤษกำลังเอาใจชาวลังกา ให้เห็นว่าไม่ประสงค์จะเบียดเบียนพระพุทธศาสนา พระสงฆ์ชาวลังกา เคยได้รับนิตยภัตจตุปัจจัยมา แต่เมื่อยังมีพระเจ้าแผ่นดินสิงหฬปกครองอย่างไร ก็คงให้อย่างนั้น พระสงฆ์ไทยก็ได้รับความอุปการะ เหมือนกับพระสงฆ์ชาวลังกาด้วยทุกอย่าง

ฝ่ายพระสังฆนายก พระอนุนายกชาวสิงหฬ ก็ช่วยทำนุบำรุง พาสมณทูตไทยไปหาเจ้าเมืองอังกฤษ ขอลูกกุญแจมาไขเปิดพระทันตธาตุมนเทียร แลเชิญพระทันตธาตุออกให้นมัสการ แล้วพาไปนมัสการพระพุทธบาท บนยอดเขาสุมนกูฏ ได้ไปเที่ยวนมัสการพระเจดีย์ฐานที่สำคัญทุกแห่ง

สมณทูตไทยอยู่ในลังกาทวีป ๑๒ เดือนจึงลาพระสังฆนายก พระอนุนายกกลับมา พระสังฆนายก พระอนุนายก ประชุมพร้อมกันทำสมณสาสน์ตอบให้สมณทูตไทย ถือเข้ามาถึงสมเด็จพระสังฆราชฉบับ ๑ ในสมณสาสน์นั้นว่า พระสังฆนายก พระอนุนายก ได้ช่วยทำนุบำรุงพระสงฆ์ไทยตั้งแต่ไปจนกลับมา มีความผาสุกทุกองค์ จัดได้พระเจดีย์แก้วผลึกสูง ๘ นิ้วบรรจุพระบรมธาตุ ๕ พระองค์ พระพุทธรูปกาไหล่ทองคำหน้าตัก ๕ นิ้วองค์หนึ่ง ฉลองพระเนตรองค์หนึ่ง ถวายเข้ามาในสมเด็จพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา แลจัดได้พระเจดีย์กาไหล่ทองคำองค์หนึ่งสูง ๑๒ นิ้ว บรรจุพระบรมธาตุ ๓ พระองค์ แว่นตาศิลาอันหนึ่ง ถวายสมเด็จพระสังฆราช อนึ่ง เมื่อสมณทูตไทยกลับมาคราวนั้น ได้หน่อพระมหาโพธิเมืองอนุราธบุรีเข้ามาด้วย ๖ ต้น

พระสงฆ์ไทยออกจากเมืองสิงขัณฑ ณ เดือน ๗ แรม ๖ ค่ำ ปีฉลู นพศก พ.ศ. ๒๓๖๐ ขุนนางอังกฤษที่เป็นเจ้าเมืองกลัมพู เอาเป็นธุระฝากเรือลูกค้ามาส่งที่เมืองบำบุดบำดัด แล้วสังฆนาเกนเศรษฐีเสียค่าระวาง ให้เรือกำปั่นลูกค้ามาส่งที่เมืองเกาะหมาก ขึ้นพักอยู่ที่เมืองเกาะหมาก ๔ เดือน

พระยานครศรีธรรมราชทราบว่า พระสงฆ์ซึ่งไปลังกากลับมาถึงเมืองเกาะหมากแล้ว จึงแต่งหรือไปรับ แลจัดส่งเข้ามา ถึงกรุงเทพมหานคร เมื่อเดือน ๙ แรมค่ำ ๑ ปีขาลสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๑๘๙ พ.ศ. ๒๓๖๑

แลต้นพระมหาโพธิที่ได้มานั้น พระอาจารย์เทพ ขอเอาไปปลูกไว้ที่เมืองกลันตันต้นหนึ่ง เจ้าพระยานครขอเอาไปปลูกที่เมืองนครสองต้น ได้เข้ามาถวายสามต้น โปรดให้ปลูกไว้ที่วัดสุทัศน์ต้นหนึ่ง วัดมหาธาตุต้นหนึ่ง วัดสระเกศต้นหนึ่ง แล้วทรงตั้งพระอาจารย์ดีเป็นที่พระคัมภีรปรีชา ตั้งพระอาจารย์เทพเป็นที่พระปัญญาวิสารเถร พระห่วงนั้นทรงเห็นว่าได้เรียนหนังสือ รู้ภาษามคธมาก ได้ช่วยเป็นล่ามโต้ตอบกับชาวลังกา ไม่เสียรัดเสียเปรียบ เป็นคนฉลาดไหวพริบดี จึงทรงตั้งให้เป็นพระวิสุทธิมุนี เป็นพระราชาคณะทั้ง ๓ รูป พระสงฆ์ที่ได้เป็นสมณทูตไปลังกานอกจากนั้น พระราชทานไตรปืแลนิตยภัตต่อมา เดือนละ ๘ บาทบ้าง ๖ บาทบ้างทุกรูป

พระกรณียกิจครั้งนี้ นับว่าเป็นพระเกียรติประวัติที่สำคัญ เพราะเป็นการรื้อฟื้นศาสนไมตรีระหว่างไทยกับลังกา ที่เริดร้างกันมากว่าครึ่งศตวรรษ ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ทั้งเป็นการปูทางให้แก่สมณทูตไทย ในรัชกาลต่อมา ซึ่งยังผลให้คณะสงฆ์ไทยและลังกา มีการติดต่อสัมพันธ์กันใกล้ชิดยิ่งขึ้น อันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่กันและกัน ในทางพระศาสนาในเวลาต่อมาเป็นอันมาก

สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
          พ.ศ. ๒๓๕๙ ในรัชกาลที่ ๒ สมเด็จพระสังฆราช (สุก) สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงตั้ง สมเด็จพระพนรัตน (มี) เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในราชทินนามว่า “สมเด็จพระอริยวงษญาณ” เมื่อวันพฤหัสบดี แรม ๗ ค่ำ เดือน ๙ ปีชวด พ.ศ. ๒๓๖๙ มีสำเนาประกาศทรงตั้ง ดังนี้

"ศิริศยุภมัศดุอดีตกาล พระพุทธศักราช ชไมยะสหัสสังวัจฉรไตรยสตาธฤกษ์เอกูณสัฏฐีเตมส ประจุบันกาล มุสิ กสังวัจฉรมาสกาลปักษ์ยครุวาร สัตตดฤษถีบริเฉทกาลอุกฤษฐ์ สมเด็จบรมธรรมฤกมหาราชารามาธิราชเจ้า ผู้ทรงทศพิธราชธรรมอนันตคุณวิบุลยอันมหาประเสริฐ ทรงพระราชศรัทธามีพระราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ดำรัสสั่งพระราชูทิศถาปนาให้สมเด็จพระพนรัตน เป็นสมเด็จพระอริยวงษญาณปริยัติยวราสังฆราชาธิบดี ศรีสมณุตมาปรินายก ติปิฎกธราจารย์ สฤทธิขัติยสารสุนทร มหาคณฤกษษรทักษิณา สฤทธิสังฆคามวาสี อรัญวาสี เปนประธานถานาทุกคณะนิกรจัตุพิธบรรพสัช สถิตย์ในพระศรีรัตนมหาธาตุวรวิหารพระอารามหลวง ให้จฤกถฤๅตฤกาลอวยผล พระชนมายุศมศรีสวัสดิ พิพัฒนมงคลวิมลทฤฆายุศม ในพระพุทธศาสนาเถิด"

ในพระประวัติสมเด็จพระสังฆราช (มี) นี้เองที่ปรากฏหลักฐานเป็นครั้งแรกว่า สมเด็จพระสังฆราชในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ มีราชทินนามว่า "สมเด็จพระอริยวงษญาณ" กระทั่งถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงแก้เป็น "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ" และใช้พระนามนี้สืบมาจนปัจจุบัน

เกิดธรรมเนียมแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ
          สมเด็จพระสังฆราช (มี) ทรงเป็น สมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรกที่ทรงตั้งในรัชกาลที่ ๒ และทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรก ที่เมื่อทรงตั้งแล้วโปรดให้แห่จากพระอารามเดิมมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ เป็นการเริ่มต้น ธรรมเนียมแห่สมเด็จพระสังฆราช จากพระอารามเดิมมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ ซึ่งเกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๒ เมื่อคราวทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราช (มี) นี้เป็นครั้งแรกและวัดมหาธาตุก็ได้เป็นที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนตลอดรัชกาลที่ ๒

          พิธีแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุนั้นทำอย่างไร สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายว่า
"ในรัชกาลที่ ๒ ต้องทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราชถึง ๓ พระองค์ ตั้งแต่สมเด็จพระสังฆราช (มี) เป็นต้นมา ล้วนอยู่พระอารามอื่นก่อน แล้วจึงมาสถิตวัดมหาธาตุทั้งนั้น เมื่อจะเป็นสมเด็จพระสังฆราช บางพระองค์แห่มาสถิตวัดมหาธาตุก่อนแล้ว จึงรับพระสุพรรณบัตร บางพระองค์รับพระสุพรรณบัตรก่อนแล้ว จึงแห่มาสถิตวัดมหาธาตุ คงจะเกี่ยวด้วยฤกษ์ทรงสถาปนา ถ้าฤกษ์อยู่ในเวลาพระศพสมเด็จพระสังฆราชองค์ก่อน ยังอยู่ที่ตำหนัก ก็รับพระสุพรรณบัตรก่อน พระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ก่อน แล้วจึงแห่สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ใหม่ มาสถิตวัดมหาธาตุ ถ้าฤกษ์สถาปนา เป็นเวลาพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ก่อนแล้ว ก็แห่มาสถิตวัดมหาธาตุก่อน แล้วจึงรับพระสุพรรณบัตร คราวทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราช (มี) นี้ เห็นได้ชัดโดยวันในจดหมายเหตุว่า เมี่อทรงตั้งนั้นสมเด็จพระสังฆราช (สุก) สิ้นพระชนม์ยังไม่ถึง ๓ เดือน คงยังไม่ได้พระราชทานเพลิงพระศพ แต่กระบวนแห่สมเด็จพระสังฆราช มาสถิตพระอารามจะเป็นอย่างไร ยังหาพบจดหมายเหตุไม่ เข้าใจว่าจะเป็นทำนองเดียวกัน กับกระบวนแห่พระสุพรรณบัตร แลตราพระมหามณฑปไปส่งยังพระอาราม คือ ในวันทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราชนั้น ตอนบ่ายแห่พระสุพรรณบัตรแลตราพระมหามณฑป ไปส่งยังพระอาราม มีกระบวนเกณฑ์ แห่สวมเสื้อกางเกงหมวกตามอย่างกระบวน ถือธงมังกรไปข้างหน้า ๔๐ แล้ว ถึงคู่แห่นุ่งถมปักลาย สวมเสื้อครุยแลลอมพอกขาว ถือดอกบัวสด ๔๐ แล้วถึง กองชนะ ๒๐ จ่าปี่ ๑ จ่ากลอง ๑ แตรฝรั่ง ๔ แตรงอน ๘ สังข์ ๒ รวม ๓๒ คน สวมเสื้อหมวกแดง แล้วถึงเครื่องสูง บังแซก รวม ๑๘ คน นุ่งกางเกงยก เสื้อมัสรู่ เกี้ยวผ้าลาย แล้วถึงราชยานกงรับพระสุพรรณบัตร แลตราพระมหามณฑป มีขุนหมื่นอาลักษณ์นุ่งถมปักลาย สวมเสื้อครุยลอมพอก นั่งประคองคน ๑ กระบวนหลังมีเครื่องสูง แล้วถึงเกณฑ์แห่ มีคู่แห่ ๒๐ แลคนถือธง ๒๐ เป็นหมดกระบวน

ในค่ำวันนั้นมีจุดดอกไม้เพลิง ดอกไม้พุ่ม ๗ ชั้น ๒๐ พุ่ม ระทาสูง ๔ ศอก ๑๐ ระทา พะเนียง ๓๐ บอก จุดที่นอกพระระเบียงข้างหน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่กระบวนแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิตพระอาราม คงมีเสลี่ยงกงเชิญพระพุทธรูป พระธรรม แลพระสุพรรณบัตร ทราบแต่ว่าสมเด็จพระสังฆราชทรงวอช่อฟ้า” วัดมหาธาตุได้เป็นที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราชต่อเนื่องกันมา ๔ พระองค์ คือ

๑. สมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ซึ่งทรงเป็นสมเด็จพระ สังฆราชมาแต่รัชกาลที่ ๑ จนถึงตอนต้นรัชกาลที่ ๒
๒. สมเด็จพระสังฆราช (มี) พระองค์ที่ ๑ ในรัชกาลที่ ๒
๓. สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) พระองค์ที่ ๒ ในรัชกาลที่ ๒
๔. สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) พระองค์ที่ ๓ ในรัชกาลที่ ๒ ซึ่งมีพระชนม์มาถึงปีที่ ๑๙ ในรัชกาลที่ ๓

มาในรัชกาลที่ ๓ เมื่อทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราช (นาค) วัดราชบุรณะ สืบต่อจากสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) วัดมหาธาตุกำลังอยู่ในระหว่างบูรณปฏิสังขรณ์ สมเด็จพระสังฆราช (นาค) จึงสถิต ณ วัดราชบุรณะจนถึงสิ้นพระชนม์ ต่อแต่นั้นมา เมื่อทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ใหม่ ก็มิได้มีการแห่มาสถิต ณ วัดมหาธาตุอีก ธรรมเนียมแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุจึงเป็นอันสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๒

เกิดอธิกรณ์ครั้งสำคัญ
          ในป็แรกที่ทรงตั้ง สมเด็จพระสังฆราช (มี) นั้นเอง ก็ได้เกิดอธิกรณ์ซึ่งนับว่าเป็นครั้งสำคัญและครั้งแรกขึ้นในรัชกาล เพราะมีพระเถระผู้ใหญ่ที่เป็นกำลังของคณะสงฆ์ ต้องอธิกรณ์เมถุนปาราชิกพร้อมกันถึง ๓ รูป ดังมีบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดาร ว่า
“ในเดือน ๑๒ ป็ชวดอัฐศก (พ.ศ. ๒๓๕๙) นั้น มีโจทก์ฟ้องว่า พระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี) วัดมหาธาตุ รูป ๑ พระญาณสมโพธิ (เค็ม) วัดนาคกลางรูป ๑ พระมงคลเทพมุนี (จีน) วัดหน้าพระเมรุกรุงเก่ารูป ๑ ทั้ง ๓ รูปนี้ประพฤติผิดพระวินัยบัญญัติข้อสำคัญ ต้องเมถุนปาราชิกมาช้านาน จนถึงมีบุตรหลายคน โปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นรักษ์รณเรศ กับพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงพิจารณาได้ความเป็นสัตย์สมดังฟ้อง จึงมีรับสั่งเอาตัวผู้ผิดไปจำไว้ ณ คุก”

ตำแหน่งที่ พระพุทธโฆษาจารย์นั้น เป็นตำแหน่งสำคัญในคณะสงฆ์ รองลงมาจากตำแหน่งที่ สมเด็จพระวันรัตน หรือเป็นลำดับที่ ๓ ในสังฆมณฑลนับแต่สมเด็จพระสังฆราชลงมา และพระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี) รูปนี้ นับว่าเป็นกำลังสำคัญของคณะสงฆ์ในขณะนั้น เพราะเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้จัดสมณทูตไปลังกาเมื่อต้นรัชกาล สมเด็จพระสังฆราช (มี) ขณะยังเป็นที่ สมเด็จพระพนรัตน กับพระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี) นี้เอง ที่เป็นผู้จัดการเรื่องสมณทูตไปลังกา เป็นที่เรียบร้อย สมพระราชประสงค์ จึงนับว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย เมื่อมาเกิดอธิกรณ์ขึ้นเช่นนี้ คงเป็นที่ทรงโทมนัสเป็นอย่างมาก และก็คงตกเป็นภาระของสมเด็จพระสังฆราชนั่นเอง ที่จะต้องสะสางและปรับปรุงการคณะสงฆ์ให้ดีขึ้น ดังปรากฏความในพระราชพงศาวดารว่า

“ที่เกิดเหตุปรากฏว่าพระราชาคณะเป็นปาราชิกหลายรูปคราวนั้น เห็นจะทรงพระวิตกถึงการฝ่ายพระพุทธจักรมาก ปรากฏว่าได้ทรงเผดียงสมเด็จพระสังฆราช (มี) แลสมเด็จพระวนรัตน (อาจ)วัดสระเกษ ให้แต่งหนังสือโอวาทานุสาสนี แสดงข้อวัตรปฏิบัติอันสมควรแก่สมณะมณฑล คัดแจกทั่วไปตามพระอาราม เป็นทำนองสังฆาณัติแลการชำระความปาราชิก ก็สืบสวนกวดขันขึ้นแต่ครั้งนั้นมาจนสิ้นรัชกาลที่ ๒ แลต่อมาในรัชกาลที่ ๓ ด้วย”

หนังสือโอวาทานุสาสนีดังกล่าวนี้โปรดให้แต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๙ มีสาระสำคัญว่าด้วยเรื่องให้พระอุปัชฌาย์ อาจารย์พระราชาคณะถานานุกรมเอาใจใส่สั่งสอนพระภิกษุสามเณรให้อยู่ในจตุปาริสุทธิศีล ๔ ผู้ที่จะเป็นพระอุปัชฌาย์อาจารย์ จะต้องมีความรู้เรื่องพระวินัยและสังฆกรรมเป็นอย่างดี และปฏิบัติให้ถูกต้อง

แต่เป็นที่น่าเสียใจว่า ต่อมาอีก ๓ ปีสมเด็จพระพนรัตน (อาจ) ผู้แต่งหนังสือโอวาทานุสาสนีเอง ก็ต้องอธิกรณ์ ด้วยประพฤติต่อศิษย์ผิดสมณสารูป พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ฯ จึงโปรดให้ถอดจากสมณศักดิ์และไล่จากวัดมหาธาตุ จึงไปอยู่ที่วัดไทรทอง (ซึ่งภายหลังต่อมาได้สร้างเป็นวัดเบญจมบพิตร ดังปรากฏอยู่ในบัดนี้) จนถึงมรณภาพในรัชกาลที่ ๓ สมเด็จพระพนรัตน (อาจ) รูปนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ฯ จะทรงตั้งเป็นสมเด็จพระสังฆราชสืบต่อกันมาจากสมเด็จพระสังฆราช (มี) ถึงกับโปรดให้แห่มาอยู่วัดมหาธาตุแล้ว แต่มาเกิดอธิกรณ์เสียก่อนดังกล่าว [๙] เหตุการณ์ครั้งนี้ คงเป็นเรื่องสะเทือนใจพุทธศาสนิกชน ยิ่งกว่าเมื่อครั้งพระราชาราชคณะ ๓ รูปต้องอธิกรณ์ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น เพราะพระเถระที่ต้องอธิกรณ์ครั้งนี้ เป็นถึงว่าที่สมเด็จพระสังฆราช และเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระยะที่ไม่ห่างกันนัก

พิธีวิสาขบูชาครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์
       พ.ศ. ๒๓๖๐ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ มีพระราชประสงค์จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ให้พิเศษยิ่งกว่าที่เคยทรงปฏิบัติมา จึงทรงมีพระราชราชปุจฉาต่อสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระสังฆราชจึงได้ถวายพระพร ให้ทรงกระทำการสักการะบูชาพระศรีรัตนตรัยในวันวิสาขบูชา เยี่ยงสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าแต่ปางก่อนเคยกระทำมา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ จึงมีพระบรมราชโองการ โปรดให้กำหนดพิธีวิสาขบูชาขึ้น เป็นธรรมเนียมตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๖๐ นั้นเป็นต้นมา นับเป็นการทำพิธีวิสาขบูชาครั้งแรกในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นเหตุให้มีการทำพิธีวิสาขบูชากันสืบมาจนปัจจุบัน เหตุการณ์สำคัญครั้งนี้ นับว่าเป็นสิ่งที่เกิดจากพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระสังฆราช (มี) โดยแท้ นับเป็นพระเกียรติประวัติที่สำคัญครั้งหนึ่ง ของสมเด็จพระสังฆราชพระองค์นั้น

พิธีวิสาขบูชาที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ โปรดให้จัดขึ้นในครั้งนั้นทำอย่างไร พระราชพงศาวดารได้บันทึกไว้ดังนี้ คือ 
           ทำโคมปิดกระดาษ ปักเสาไม้ไผ่ ยอดผูกฉัตรกระดาษ พระราชทานไปปักจุดเป็นพุทธบูชาตามพระอารามหลวงวัดละสี่เสาอย่าง ๑ หมายแผ่พระราชกุศลแก่ข้าราชการ ให้ร้อยดอกไม้มาแขวนเป็นพุทธบูชา ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามทั้ง ๓ วันอย่าง ๑ มีดอกไม้เพลิงของหลวงตั้งจุดเป็นพุทธบูชา ที่หน้าวัดพระศรีรัตนศาสดารามอย่าง ๑ นิมนต์พระสงฆ์ให้อุโบสถศีล และแสดงพระธรรมเทศนาแก่ราษฎร ตามพระอารามหลวงฝั่งตะวันออก ๑๐ วัด ฝั่งตะวันตก ๑๐ วัด เครื่องกัณฑ์เป็นของหลวงพระราชทาน และให้อำเภอกำนันป่าวร้องตักเตือนราษฎร ให้ไปรักษาศีลฟังธรรมและห้ามการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตอย่าง ๑ ทำธงจรเข้ไปปักเป็นพุทธบูชา ตามพระอารามหลวงวัดละคันอย่าง ๑ เลี้ยงพระสงฆ์ในท้องพระโรง พระราชทานสลากภัต แล้วสดัปกรณ์พระบรมอัฐิอย่าง ๑

ปรับปรุงการศึกษาพระปริยัติธรรม
          เหตุการณ์สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง ที่เกิดขึ้นในยุคของสมเด็จพระสังฆราช (มี) คือ การปรับปรุงการศึกษาพระปริยัติธรรม ซึ่งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา มาแบ่งเป็น ๓ ชั้น เรียกว่า บาเรียนตรี บาเรียนโท บาเรียนเอก หลักสูตรที่ใช้เรียนใช้สอบก็คือพระไตรปิฎกทั้ง ๓ คัมภีร์ ได้แก่ พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม มาถึงสมัยรัชกาลที่ ๒ ในระหว่างที่สมเด็จพระสังฆราช (มี) ทรงเป็นมหาสังฆปรินายก (พ.ศ. ๒๓๕๙ - ๒๓๖๒) จึงได้โปรดให้ปรับปรุงการศึกษาพระปริยัติธรรม เพื่อให้ภิกษุสามเณรที่สอบไล่ได้เป็นบาเรียน มีความรู้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยขยายการศึกษาออกไปเป็น ๙ ประโยค ผู้สอบไล่ได้ตั้งแต่ ๓ ประโยคขึ้นไปจึงเรียกว่าเป็นบาเรียน (หรือเปรียญ)

ชั้นบาเรียนที่ปรับปรุงใหม่ในรัชกาลที่ ๒ ดังกล่าวนี้ ก็มีอัตราเทียบได้กับชั้นบาเรียนอย่างเก่าได้ ดังนี้
       ๓ ประโยค จัดเป็นบาเรียนตรี
       ๔, ๕, ๖ ประโยค จัดเป็นบาเรียนโท
       ๗, ๘, ๙ ประโยค จัดเป็นบาเรียนเอก

สำหรับหลักสูตรการสอบ ที่มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา และคงใช้เป็นแบบสืบมาจนถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น คือ
       บาเรียนตรี แปลพระสูตร
       บาเรียนโท แปลพระสูตรและพระวินัย
       บาเรียนเอก แปลพระสูตร พระวินัย และพระอภิธรรม

หลักสูตรพระปริยัติธรรม ที่โปรดให้จัดขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ ๒ นั้น มีดังนี้
       ประโยค ๑, ๒, ๓ แปล ธัมมปทัฏฐกถา
       ประโยค ๔ แปล มังคลัตถทีปนี บั้นต้น
       ประโยค ๕ แปล บาลีมุตตกวินัย วินิจฉัย สังคหะ / สารัตถสังคหะ
       ประโยค ๖ แปล มังคลัตถทีปนี บั้นปลาย
       ประโยค ๗ แปล ปฐมสมันตัปปาสาทิกา
       ประโยค ๘ แปลวิสุทธิมัคคปกรณ์
       ประโยค ๙ แปล สารัตถทีปนี

          หลักสูตรพระปริยัติธรรม ที่จัดขึ้นใหม่เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๒ ในสมัยสมเด็จพระสังฆราช (มี) ดังกล่าวนี้ ได้ใช้เป็นแบบแผนการศึกษาพระปริยัติธรรม ของคณะสงฆ์ไทย สืบมาจนปัจจุบัน โดยมีการเปลี่ยนแปลงในบางประโยคบ้าง เพียงเล็กน้อย และในการปรับปรุงการศึกษาพระปริยัติธรรม ของพระภิกษุสามเณร เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๒ ดังกล่าวนี้ แม้จะไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจน ว่าสมเด็จพระสังฆราช (มี) ทรงเป็นผู้จัดการ แต่ก็คงจะกล่าวได้อย่างไม่ผิดจากความเป็นจริง ว่าสมเด็จพระสังฆราช (มี) คงจักมีส่วนอย่างสำคัญในการจัดการครั้งนี้ เพราะเป็นที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัย และได้จัดการในเรื่องสำคัญ ๆ สนองพระราชดำริเป็นที่เรียบร้อยมาแล้วหลายอย่าง ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ นับเป็นพระเกียรติประวัติที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง ของสมเด็จพระสังฆราชพระองค์นั้น

พระกรณียกิจพิเศษ
          พ.ศ. ๒๓๖๐ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมติเทววงศ์ ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระสังฆราช (มี) เป็นพระราชอุปัธยาจารย์ สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) วัดราชสิทธาราม เป็นพระอาจารย์ถวายสรณะและศีล เมื่อทรงผนวชแล้ว เสด็จไปประทับ ณ วัดมหาธาตุเป็นเวลา ๑ พรรษา จึงทรงลาผนวช

พระอวสานกาล
          สมเด็จพระสังฆราช (มี) ทรงดำรงตำแหน่งมหาสังฆปรินายกอยู่เพียง ๓ ปี กับ ๑ เดือน ระยะเวลาสั้น ๆ ดังกล่าวนี้ ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และคณะสงฆ์ขึ้นหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เหตุการณ์อันเป็นการสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่คณะสงฆ์ ซึ่งทุกเหตุการณ์ สมเด็จพระสังฆราชพระองค์นั้น ได้ทรงมีส่วนอย่างสำคัญในการจัดการให้เรื่องนั้น ๆ สำเร็จลุล่วง หรือผ่านพ้นไปด้วยดี สมเด็จพระสังฆราช (มี) สิ้นพระชนม์เมื่อวันเสาร์ แรม ๗ ค่ำเดือน ๑๐ ปีเถาะเอกศก จุลศักราช ๑๑๘๑ ตรงกับวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๓๖๒ ในรัชกาลที่ ๒ พระชนมายุ ๗๐ พรรษา

ถึงเดือน ๑ โปรดให้ทำเมรุผ้าขาวที่ท้องสนามหลวง แล้วชักพระศพสมเด็จพระสังฆราช (มี) เข้าสู่เมรุ มีวารสมโภช ๓ วัน ๓ คืน พระราชทานเพลิงเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๑ ค่ำเดือน ๑ ตรงกับวันที่ ๒๗
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๖๒





เนื้อหา : หอมรดกไทย และ www.dharma-gateway.com
ภาพประกอบ : www.dhammajak.net

"
พระองค์ที่ ๓ สมเด็จพระสังฆราช (มี) [ วัดมหาธาตุ ]
พระองค์ที่ ๓ สมเด็จพระสังฆราช (มี)
[ วัดมหาธาตุ ]
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
( นิตยสารธรรมจักษุ ปีที่ ๘๐ ฉบับที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๓๙ )


พระประวัติในเบื้องต้น
          สมเด็จพระสังฆราช (มี) มีพระประวัติในเบื้องต้นเป็นมาอย่างไร ไม่ทราบรายละเอียด ปรากฏแต่เพียงว่า ประสูติเมื่อครั้งรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันพุธ เดือน ๘ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๑๒ ตรงกับวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๒๙๓

เมื่อครั้งกรุงธนบุรี ทรงเป็นพระเปรียญเอกอยู่วัดเลียบ (วัดราชบุรณะ)
          ครั้น พ.ศ. ๒๓๒๕ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกและสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดตั้งเป็นพระราชาคณะ ที่พระวินัยรักขิต  แทนตำแหน่งที่ พระอุปาฬี ซึ่งเป็นตำแหน่งพระราชาคณะสามัญ มาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาโดยทรงพระราชดำริว่า ที่พระอุปาฬี ต้องกับนามพระอรหันต์ จึงโปรดให้แปลงนามเลยใหม่ เป็นพระวินัยรักขิต ฉะนั้น สมเด็จพระสังฆราช (มี) จึงทรงเป็นพระราชาคณะในราชทินนามที่ พระวินัยรักขิต เป็นรูปแรก

พ.ศ. ๒๓๓๗ ในรัชกาลที่ ๑ โปรดให้เลื่อนขึ้นเป็นที่ พระพิมลธรรม ในคราวเดียวกับที่ทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราช (สุก) และสมเด็จพระพนรัตน วัดโพธาราม (วัดพระเชตุพน) ถึงรัชกาลที่ ๒ เมื่อสมเด็จพระพนรัตน วัดโพธาราม (วัดพระเชตุพน) ถึงมรณภาพราวต้นรัชกาล จึงทรงตั้งเป็น สมเด็จพระพนรัตน

สมณทูตไปลังกาครั้งแรกในยุคกรุงรัตนโกสินทร์
           เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระพนรัตน สมเด็จพระสังฆราช (มี) ได้ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจที่สำคัญครั้งหนึ่ง คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระราชดำริที่จะให้พระสงฆ์ไทย ออกไปสืบข่าวพระศาสนายังลังกาทวีป แต่เนื่องจากสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ขณะนั้นทรงชราภาพ จึงทรงมอบหมายให้สมเด็จพระพนรัตน (มี) เป็นผู้จัดสมณทูต เพื่อออกไปยังลังกาทวีปครั้งนี้ ดังมีรายละเอียดบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารว่า

"เมื่อปีมะเส็งเอกศก จุลศักราช ๑๑๗๑พ.ศ. ๒๓๕๒ แต่ในปลายรัชกาลที่ ๑ มีพระภิกษุชาวลังกาชื่อพระวลิตรภิกษุรูป ๑ กับสามเณร ๒ รูปเข้ามาจากเมืองนครศรีธรรมราชมาถึงกรุงเทพฯ โปรดให้วลิตรภิกษุ กับสามเณรชื่อรัตนปาละ ไปอยู่ในสำนักสมเด็จพระสังฆราช ณ วัดมหาธาตุสามเณรอีกรูป ๑ ชื่อหิธายะ ให้ไปอยู่ในสำนักสมเด็จพระวันรัตน์วัดพระเชตุพน

ต่อมาในรัชกาลที่ ๒ สามเณรลังกาทั้ง ๒ รูป ขออุปสมบทเป็นพระภิกษุสยามวงศ์ เพราะถือว่าเป็นวงศ์เดียวกับพระสงฆ์ในลังกาทวีป ซึ่งได้รับอุปสมบทแต่พระอุบาลี ที่ออกไปในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศครั้งกรุงเก่า จึงโปรดให้สามเณรทั้ง ๒ นี้เป็นนาคหลวงบวชในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระราชทานนิตยภัตไตรปีสืบมา

ครั้นมาถึงปีระกา เบญจศก จุลศักราช ๑๑๗๕ พ.ศ. ๒๓๕๖ มีพระลังกาเข้ามาถึงกรุงเทพฯ อีกรูป ๑ ชื่อพระศาสนวงศ์ อ้างว่าพระมหาสังฆนายกในลังกาทวีป ให้เชิญพระบรมสารีริกธาตุเข้ามาถวาย แด่สมเด็จพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา แต่ไม่มีสมณสาสน์หรือสำคัญอันใดมา ครั้นไต่ถามถึงการพระศาสนาในลังกาทวีป พระศาสนวงศ์ก็ให้การเลื่อนเปื้อนไปต่าง ๆ ซ้ำมาเกิดรังเกียจ ไม่ปรองดองกันกับพระลังกา ที่เข้ามาอยู่แต่ก่อน วัตรปฏิบัติก็ไม่น่าเลื่อมใสด้วยกันทั้ง ๒ รูป จึงเป็นเหตุให้ทรงแคลงพระราชหฤทัยว่า จะมิใช่พระที่ได้รับอุปสมบทมาแต่ลังกาทวีป

ทรงพระราชดำริว่าพระสงฆ์ในลังกาทวีป ก็เป็นสมณวงศ์อันเดียวกันกับพระสงฆ์ในสยามประเทศ เคยมีสมณไมตรีต่อกันมาแต่ครั้งกรุงเก่า แต่เริดร้างมาเสียเพราะเกิดเหตุศึกสงคราม ไม่ได้ไปมาหาสู่ถึงกันช้านาน บัดนี้กรุงสยาม ก็ได้ประดิษฐานพระนครรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี มีอิสระมั่นคงแล้ว แลได้ข่าวว่าลังกาทวีปเสียแก่อังกฤษ การพระศาสนาแลศาสนวงศ์ ในลังกาทวีปจะเป็นอย่างไร ควรจะสืบสวนให้ทราบความจริงไว้ จึงทรงเผดียงสมเด็จพระวันรัตน์ (มี) วัดราชบุรณะ กับพระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี) ให้จัดหาพระภิกษุสงฆ์ทั้งฝ่ายคณะใต้แลคณะเหนือ จะมีองค์ใดศรัทธาออกไปยังลังกาทวีปบ้าง

สมเด็จพระวันรัตนจัดได้พระวัดราชบุรณะ ๕ รูป คือ พระอาจารย์ดีรูป ๑ พระอาจารย์เทพรูป ๑ พระแก้วรูป ๑ พระคงรูป ๑ พระห่วงรูป ๑ พระพุทธโฆษาจารย์จัดได้พระวัดมหาธาตุ ๔ รูป คือ พระอาจารย์อยู่รูป ๑ พระปรางรูป ๑ พระเซ่งรูป ๑พระม่วงรูป ๑ รวมพระสงฆ์ไทย ๙ รูป ครั้งนั้นพระรัตนปาละ พระหิธายะชาวลังกา ซึ่งเข้ามาอุปสมบทในกรุงเทพฯ ทราบว่าพระสงฆ์สมณทูตไทยจะออกไปลังกา ถวายพระพรลาจะออกไปเยี่ยมญาติโยมของตนด้วย โปรดให้ไปกับสมณทูต พระสงฆ์ที่จะไปจึงรวมเป็น ๑๐ รูปด้วยกัน

เมื่อจัดพระได้พร้อมแล้ว ถึงเดือน ๒ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ป็จอ ฉศก พ.ศ. ๒๓๗๕ โปรดให้นิมนต์พระสงฆ์สมณทูตเข้าไปรับผ้าไตรแลเครื่องบริขารต่อพระหัตถ์ แลโปรดให้จัดต้นไม้เงินทอง ๑๖ สำรับเทียนใหญ่ธูปใหญ่ ๓๐๐ คู่ เป็นของทรงพระราชอุทิศส่งไปบูชาพระทันตธาตุ และพระเจดียฐานในลังกาทวีป แลโปรดให้จัดเครื่องสมณบริขาร ๓ สำรับ คือ บาตร ฝาแลเซิงประดับมุก ถลกบาตรสักหลาดแดง ไตรแพรปักสี ย่ามหักทองขวางเป็นของพระราชทานพระสังฆนายก พระอนุนายก แลพระเถระซึ่งรักษาพระทันตธาตุ ณ เมืองสิงขัณฑศิริวัฒนบุรี แลมีสมณสาสน์ของสมเด็จพระสังฆราช ไปถึงพระสังฆนายกด้วยฉบับหนึ่ง โปรดให้หมื่นไกร กรมการเมืองนครศรีธรรมราช เป็นไวยาวัจกรสมณทูต แลคุมต้นไม้เงินทองสิ่งของพระราชทานไปด้วย

สมณทูตลงเรือกรมอาสาจามไปจากกรุงเทพฯ เมื่อ ณ วันเดือน ๒ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ถูกลมว่าวพัดกล้าคลื่นใหญ่ เรือไปชำรุดเกยที่ปากน้ำเมืองชุมพร พระยาชุมพรจัดเรือส่งไปเมืองไชยา พระยาไชยาจัดเรือส่งต่อไป ถึงเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อ ณ เดือน ๔ ขึ้น ๘ ค่ำ ไม่ทันฤดูลมที่จะใช้ใบไปลังกาทวีป สมณทูตจึงต้องค้างอยู่เมืองนครศรีธรรมราช ๑๑ เดือน ในระหว่างนั้น พระวลิตรภิกษุ กับพระศาสนวงศ์ พระลังกาที่อยู่ในกรุงเทพฯ ทราบว่าพระสงฆ์ไทยยังค้างอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช ถวายพระพรลาว่าจะกลับไปบ้านเมืองกับสมณทูตไทย เมื่อได้พระราชทานอนุญาตแล้ว ก็ตามออกไปยังเมืองนครศรีธรรมราช แต่เมื่ออกไปถึงเมืองนครศรีธรรมราชแล้ว พระวลิตรภิกษุ กับพระรัตนปาละ พระหิธายะ ที่มาบวชในกรุงเทพฯ ไปประพฤติตัวไม่เรียบร้อยต่าง ๆ พระยานครศรีธรรมราช (น้อย) เห็นว่า ถ้าให้พระลังกา ๓ รูปนั้นไปกับพระสงฆ์สมณทูตไทย เกรงจะไปเกิดเหตุการณ์ให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ จึงจัดส่งไปเกาะหมากทั้ง ๓ รูป ให้กลับไปบ้านเมืองของตนตามอำเภอใจ คงให้ไปกับพระสงฆ์ไทย แต่พระศาสนวงศ์รูปเดียว แต่เมื่อไปขึ้นบกในอินเดียแล้วพระศาสนวงศ์ก็หลบหายไปอีก

พระสงฆ์สมณทูตไทยไปบกจากเมืองนครศรีธรรมราช ไปลงเรือที่เมืองฝรั่ง ได้ออกเรือเมื่อ ณ เดือน ๔ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีกุน สัปตศก จุลศักราช ๑๑๗๗ พ.ศ. ๒๓๕๘ ไปกับเรือที่บรรทุกช้างไปขายในอินเดีย พระยานครศรีธรรมราชมีจดหมายไปถึงสังฆนาเกน นายห้างพราหมณ์อยู่ ณ เมืองบำบุดบำดัด ซึ่งเป็นคนชอบกับเจ้าพระยานคร ได้เคยรับซื้อช้างกันมาเสมอทุกปี

ครั้นเรือไปถึงเมืองบำบุดบำดัด สังฆนาเกนได้ทราบความในหนังสือเจ้าพระยานครแล้ว ก็ช่วยเป็นธุระรับรองพระสงฆ์สมณทูต แลให้เที่ยวหาจ้างคนนำทางที่จะไปลังกา พระสงฆ์ต้องคอยท่าอยู่อีกเดือนหนึ่ง จึงได้บลิม แขกต้นหนคน ๑ เคยมาค้าขายที่เมืองฝรั่งพูดไทยได้เป็นล่าม แลนำทางไป ต้นไม้ทองเงินธูปเทียนแลเครื่องบริขารของพระราชทานนั้น บลิมก็รับไปด้วย เรียกค่าจ้างเป็นเงิน ๑๘๐ รูเปีย

ออกเดินไปจากเมืองบำบุดบำดัด เมื่อ ณ เดือน ๕ แรม ๖ ค่ำ ไป ๗๖ วันถึงท่าข้ามไปเกาะลังกา บลิมจ้างเรือไปส่งไปวัน ๑ ถึงเกาะลังกา ขึ้นเดินไปจากท่าเรืออีก ๓ วัน ถึงเมืองอนุราธบุรี เมื่อ ณ วันเดือน ๘ บุรพาสาธขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีชวด อัฐศก พ.ศ. ๒๓๕๙

พักอยู่ที่เมืองอนุราธบุรี ๓ วัน กุมารสิยูม ซึ่งเป็นใหญ่อยู่ที่เมืองอนุราธบุรีนั้น จัดคนนำทางส่งต่อไปเมืองสิงขัณฑศิริวัฒนบุรี เดินไปได้ ๑๖ วัน ถึงคลองน้ำชื่อว่า วาลุกคงคา เมื่อ ณ วันเดือน ๘ ทุติยาสาธขึ้นค่ำ ๑

ขุนนางเมืองสิงขัณฑทราบว่าพระสงฆ์ไทย ไปถึงคลองวาลุกคงคา จึงแต่งให้พันนายบ้านราษฎรออกมาปฏิบัติ ทำปะรำดาดผ้าขาวให้พักอาศัยอยู่คืนหนึ่ง รุ่งขึ้น ณ วันเดือน ๘ ทุติยาสาธขึ้น ๒ ค่ำ พระสงฆ์ สามเณร ราษฎรชาวลังกาชายหญิง ออกมารับสมณทูตไทยแห่เข้าไปในเมือสิงขัณฑ ให้ไปอยู่วัดบุปผาราม

เวลานั้นอังกฤษพึ่งได้เกาะลังกาเป็นเมืองขึ้นใหม่ ๆ เจ้าเมืองอังกฤษกำลังเอาใจชาวลังกา ให้เห็นว่าไม่ประสงค์จะเบียดเบียนพระพุทธศาสนา พระสงฆ์ชาวลังกา เคยได้รับนิตยภัตจตุปัจจัยมา แต่เมื่อยังมีพระเจ้าแผ่นดินสิงหฬปกครองอย่างไร ก็คงให้อย่างนั้น พระสงฆ์ไทยก็ได้รับความอุปการะ เหมือนกับพระสงฆ์ชาวลังกาด้วยทุกอย่าง

ฝ่ายพระสังฆนายก พระอนุนายกชาวสิงหฬ ก็ช่วยทำนุบำรุง พาสมณทูตไทยไปหาเจ้าเมืองอังกฤษ ขอลูกกุญแจมาไขเปิดพระทันตธาตุมนเทียร แลเชิญพระทันตธาตุออกให้นมัสการ แล้วพาไปนมัสการพระพุทธบาท บนยอดเขาสุมนกูฏ ได้ไปเที่ยวนมัสการพระเจดีย์ฐานที่สำคัญทุกแห่ง

สมณทูตไทยอยู่ในลังกาทวีป ๑๒ เดือนจึงลาพระสังฆนายก พระอนุนายกกลับมา พระสังฆนายก พระอนุนายก ประชุมพร้อมกันทำสมณสาสน์ตอบให้สมณทูตไทย ถือเข้ามาถึงสมเด็จพระสังฆราชฉบับ ๑ ในสมณสาสน์นั้นว่า พระสังฆนายก พระอนุนายก ได้ช่วยทำนุบำรุงพระสงฆ์ไทยตั้งแต่ไปจนกลับมา มีความผาสุกทุกองค์ จัดได้พระเจดีย์แก้วผลึกสูง ๘ นิ้วบรรจุพระบรมธาตุ ๕ พระองค์ พระพุทธรูปกาไหล่ทองคำหน้าตัก ๕ นิ้วองค์หนึ่ง ฉลองพระเนตรองค์หนึ่ง ถวายเข้ามาในสมเด็จพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา แลจัดได้พระเจดีย์กาไหล่ทองคำองค์หนึ่งสูง ๑๒ นิ้ว บรรจุพระบรมธาตุ ๓ พระองค์ แว่นตาศิลาอันหนึ่ง ถวายสมเด็จพระสังฆราช อนึ่ง เมื่อสมณทูตไทยกลับมาคราวนั้น ได้หน่อพระมหาโพธิเมืองอนุราธบุรีเข้ามาด้วย ๖ ต้น

พระสงฆ์ไทยออกจากเมืองสิงขัณฑ ณ เดือน ๗ แรม ๖ ค่ำ ปีฉลู นพศก พ.ศ. ๒๓๖๐ ขุนนางอังกฤษที่เป็นเจ้าเมืองกลัมพู เอาเป็นธุระฝากเรือลูกค้ามาส่งที่เมืองบำบุดบำดัด แล้วสังฆนาเกนเศรษฐีเสียค่าระวาง ให้เรือกำปั่นลูกค้ามาส่งที่เมืองเกาะหมาก ขึ้นพักอยู่ที่เมืองเกาะหมาก ๔ เดือน

พระยานครศรีธรรมราชทราบว่า พระสงฆ์ซึ่งไปลังกากลับมาถึงเมืองเกาะหมากแล้ว จึงแต่งหรือไปรับ แลจัดส่งเข้ามา ถึงกรุงเทพมหานคร เมื่อเดือน ๙ แรมค่ำ ๑ ปีขาลสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๑๘๙ พ.ศ. ๒๓๖๑

แลต้นพระมหาโพธิที่ได้มานั้น พระอาจารย์เทพ ขอเอาไปปลูกไว้ที่เมืองกลันตันต้นหนึ่ง เจ้าพระยานครขอเอาไปปลูกที่เมืองนครสองต้น ได้เข้ามาถวายสามต้น โปรดให้ปลูกไว้ที่วัดสุทัศน์ต้นหนึ่ง วัดมหาธาตุต้นหนึ่ง วัดสระเกศต้นหนึ่ง แล้วทรงตั้งพระอาจารย์ดีเป็นที่พระคัมภีรปรีชา ตั้งพระอาจารย์เทพเป็นที่พระปัญญาวิสารเถร พระห่วงนั้นทรงเห็นว่าได้เรียนหนังสือ รู้ภาษามคธมาก ได้ช่วยเป็นล่ามโต้ตอบกับชาวลังกา ไม่เสียรัดเสียเปรียบ เป็นคนฉลาดไหวพริบดี จึงทรงตั้งให้เป็นพระวิสุทธิมุนี เป็นพระราชาคณะทั้ง ๓ รูป พระสงฆ์ที่ได้เป็นสมณทูตไปลังกานอกจากนั้น พระราชทานไตรปืแลนิตยภัตต่อมา เดือนละ ๘ บาทบ้าง ๖ บาทบ้างทุกรูป

พระกรณียกิจครั้งนี้ นับว่าเป็นพระเกียรติประวัติที่สำคัญ เพราะเป็นการรื้อฟื้นศาสนไมตรีระหว่างไทยกับลังกา ที่เริดร้างกันมากว่าครึ่งศตวรรษ ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ทั้งเป็นการปูทางให้แก่สมณทูตไทย ในรัชกาลต่อมา ซึ่งยังผลให้คณะสงฆ์ไทยและลังกา มีการติดต่อสัมพันธ์กันใกล้ชิดยิ่งขึ้น อันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่กันและกัน ในทางพระศาสนาในเวลาต่อมาเป็นอันมาก

สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
          พ.ศ. ๒๓๕๙ ในรัชกาลที่ ๒ สมเด็จพระสังฆราช (สุก) สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงตั้ง สมเด็จพระพนรัตน (มี) เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในราชทินนามว่า “สมเด็จพระอริยวงษญาณ” เมื่อวันพฤหัสบดี แรม ๗ ค่ำ เดือน ๙ ปีชวด พ.ศ. ๒๓๖๙ มีสำเนาประกาศทรงตั้ง ดังนี้

"ศิริศยุภมัศดุอดีตกาล พระพุทธศักราช ชไมยะสหัสสังวัจฉรไตรยสตาธฤกษ์เอกูณสัฏฐีเตมส ประจุบันกาล มุสิ กสังวัจฉรมาสกาลปักษ์ยครุวาร สัตตดฤษถีบริเฉทกาลอุกฤษฐ์ สมเด็จบรมธรรมฤกมหาราชารามาธิราชเจ้า ผู้ทรงทศพิธราชธรรมอนันตคุณวิบุลยอันมหาประเสริฐ ทรงพระราชศรัทธามีพระราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ดำรัสสั่งพระราชูทิศถาปนาให้สมเด็จพระพนรัตน เป็นสมเด็จพระอริยวงษญาณปริยัติยวราสังฆราชาธิบดี ศรีสมณุตมาปรินายก ติปิฎกธราจารย์ สฤทธิขัติยสารสุนทร มหาคณฤกษษรทักษิณา สฤทธิสังฆคามวาสี อรัญวาสี เปนประธานถานาทุกคณะนิกรจัตุพิธบรรพสัช สถิตย์ในพระศรีรัตนมหาธาตุวรวิหารพระอารามหลวง ให้จฤกถฤๅตฤกาลอวยผล พระชนมายุศมศรีสวัสดิ พิพัฒนมงคลวิมลทฤฆายุศม ในพระพุทธศาสนาเถิด"

ในพระประวัติสมเด็จพระสังฆราช (มี) นี้เองที่ปรากฏหลักฐานเป็นครั้งแรกว่า สมเด็จพระสังฆราชในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ มีราชทินนามว่า "สมเด็จพระอริยวงษญาณ" กระทั่งถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงแก้เป็น "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ" และใช้พระนามนี้สืบมาจนปัจจุบัน

เกิดธรรมเนียมแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ
          สมเด็จพระสังฆราช (มี) ทรงเป็น สมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรกที่ทรงตั้งในรัชกาลที่ ๒ และทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรก ที่เมื่อทรงตั้งแล้วโปรดให้แห่จากพระอารามเดิมมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ เป็นการเริ่มต้น ธรรมเนียมแห่สมเด็จพระสังฆราช จากพระอารามเดิมมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ ซึ่งเกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๒ เมื่อคราวทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราช (มี) นี้เป็นครั้งแรกและวัดมหาธาตุก็ได้เป็นที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนตลอดรัชกาลที่ ๒

          พิธีแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุนั้นทำอย่างไร สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายว่า
"ในรัชกาลที่ ๒ ต้องทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราชถึง ๓ พระองค์ ตั้งแต่สมเด็จพระสังฆราช (มี) เป็นต้นมา ล้วนอยู่พระอารามอื่นก่อน แล้วจึงมาสถิตวัดมหาธาตุทั้งนั้น เมื่อจะเป็นสมเด็จพระสังฆราช บางพระองค์แห่มาสถิตวัดมหาธาตุก่อนแล้ว จึงรับพระสุพรรณบัตร บางพระองค์รับพระสุพรรณบัตรก่อนแล้ว จึงแห่มาสถิตวัดมหาธาตุ คงจะเกี่ยวด้วยฤกษ์ทรงสถาปนา ถ้าฤกษ์อยู่ในเวลาพระศพสมเด็จพระสังฆราชองค์ก่อน ยังอยู่ที่ตำหนัก ก็รับพระสุพรรณบัตรก่อน พระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ก่อน แล้วจึงแห่สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ใหม่ มาสถิตวัดมหาธาตุ ถ้าฤกษ์สถาปนา เป็นเวลาพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ก่อนแล้ว ก็แห่มาสถิตวัดมหาธาตุก่อน แล้วจึงรับพระสุพรรณบัตร คราวทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราช (มี) นี้ เห็นได้ชัดโดยวันในจดหมายเหตุว่า เมี่อทรงตั้งนั้นสมเด็จพระสังฆราช (สุก) สิ้นพระชนม์ยังไม่ถึง ๓ เดือน คงยังไม่ได้พระราชทานเพลิงพระศพ แต่กระบวนแห่สมเด็จพระสังฆราช มาสถิตพระอารามจะเป็นอย่างไร ยังหาพบจดหมายเหตุไม่ เข้าใจว่าจะเป็นทำนองเดียวกัน กับกระบวนแห่พระสุพรรณบัตร แลตราพระมหามณฑปไปส่งยังพระอาราม คือ ในวันทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราชนั้น ตอนบ่ายแห่พระสุพรรณบัตรแลตราพระมหามณฑป ไปส่งยังพระอาราม มีกระบวนเกณฑ์ แห่สวมเสื้อกางเกงหมวกตามอย่างกระบวน ถือธงมังกรไปข้างหน้า ๔๐ แล้ว ถึงคู่แห่นุ่งถมปักลาย สวมเสื้อครุยแลลอมพอกขาว ถือดอกบัวสด ๔๐ แล้วถึง กองชนะ ๒๐ จ่าปี่ ๑ จ่ากลอง ๑ แตรฝรั่ง ๔ แตรงอน ๘ สังข์ ๒ รวม ๓๒ คน สวมเสื้อหมวกแดง แล้วถึงเครื่องสูง บังแซก รวม ๑๘ คน นุ่งกางเกงยก เสื้อมัสรู่ เกี้ยวผ้าลาย แล้วถึงราชยานกงรับพระสุพรรณบัตร แลตราพระมหามณฑป มีขุนหมื่นอาลักษณ์นุ่งถมปักลาย สวมเสื้อครุยลอมพอก นั่งประคองคน ๑ กระบวนหลังมีเครื่องสูง แล้วถึงเกณฑ์แห่ มีคู่แห่ ๒๐ แลคนถือธง ๒๐ เป็นหมดกระบวน

ในค่ำวันนั้นมีจุดดอกไม้เพลิง ดอกไม้พุ่ม ๗ ชั้น ๒๐ พุ่ม ระทาสูง ๔ ศอก ๑๐ ระทา พะเนียง ๓๐ บอก จุดที่นอกพระระเบียงข้างหน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่กระบวนแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิตพระอาราม คงมีเสลี่ยงกงเชิญพระพุทธรูป พระธรรม แลพระสุพรรณบัตร ทราบแต่ว่าสมเด็จพระสังฆราชทรงวอช่อฟ้า” วัดมหาธาตุได้เป็นที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราชต่อเนื่องกันมา ๔ พระองค์ คือ

๑. สมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ซึ่งทรงเป็นสมเด็จพระ สังฆราชมาแต่รัชกาลที่ ๑ จนถึงตอนต้นรัชกาลที่ ๒
๒. สมเด็จพระสังฆราช (มี) พระองค์ที่ ๑ ในรัชกาลที่ ๒
๓. สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) พระองค์ที่ ๒ ในรัชกาลที่ ๒
๔. สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) พระองค์ที่ ๓ ในรัชกาลที่ ๒ ซึ่งมีพระชนม์มาถึงปีที่ ๑๙ ในรัชกาลที่ ๓

มาในรัชกาลที่ ๓ เมื่อทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราช (นาค) วัดราชบุรณะ สืบต่อจากสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) วัดมหาธาตุกำลังอยู่ในระหว่างบูรณปฏิสังขรณ์ สมเด็จพระสังฆราช (นาค) จึงสถิต ณ วัดราชบุรณะจนถึงสิ้นพระชนม์ ต่อแต่นั้นมา เมื่อทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ใหม่ ก็มิได้มีการแห่มาสถิต ณ วัดมหาธาตุอีก ธรรมเนียมแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุจึงเป็นอันสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๒

เกิดอธิกรณ์ครั้งสำคัญ
          ในป็แรกที่ทรงตั้ง สมเด็จพระสังฆราช (มี) นั้นเอง ก็ได้เกิดอธิกรณ์ซึ่งนับว่าเป็นครั้งสำคัญและครั้งแรกขึ้นในรัชกาล เพราะมีพระเถระผู้ใหญ่ที่เป็นกำลังของคณะสงฆ์ ต้องอธิกรณ์เมถุนปาราชิกพร้อมกันถึง ๓ รูป ดังมีบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดาร ว่า
“ในเดือน ๑๒ ป็ชวดอัฐศก (พ.ศ. ๒๓๕๙) นั้น มีโจทก์ฟ้องว่า พระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี) วัดมหาธาตุ รูป ๑ พระญาณสมโพธิ (เค็ม) วัดนาคกลางรูป ๑ พระมงคลเทพมุนี (จีน) วัดหน้าพระเมรุกรุงเก่ารูป ๑ ทั้ง ๓ รูปนี้ประพฤติผิดพระวินัยบัญญัติข้อสำคัญ ต้องเมถุนปาราชิกมาช้านาน จนถึงมีบุตรหลายคน โปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นรักษ์รณเรศ กับพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงพิจารณาได้ความเป็นสัตย์สมดังฟ้อง จึงมีรับสั่งเอาตัวผู้ผิดไปจำไว้ ณ คุก”

ตำแหน่งที่ พระพุทธโฆษาจารย์นั้น เป็นตำแหน่งสำคัญในคณะสงฆ์ รองลงมาจากตำแหน่งที่ สมเด็จพระวันรัตน หรือเป็นลำดับที่ ๓ ในสังฆมณฑลนับแต่สมเด็จพระสังฆราชลงมา และพระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี) รูปนี้ นับว่าเป็นกำลังสำคัญของคณะสงฆ์ในขณะนั้น เพราะเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้จัดสมณทูตไปลังกาเมื่อต้นรัชกาล สมเด็จพระสังฆราช (มี) ขณะยังเป็นที่ สมเด็จพระพนรัตน กับพระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี) นี้เอง ที่เป็นผู้จัดการเรื่องสมณทูตไปลังกา เป็นที่เรียบร้อย สมพระราชประสงค์ จึงนับว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย เมื่อมาเกิดอธิกรณ์ขึ้นเช่นนี้ คงเป็นที่ทรงโทมนัสเป็นอย่างมาก และก็คงตกเป็นภาระของสมเด็จพระสังฆราชนั่นเอง ที่จะต้องสะสางและปรับปรุงการคณะสงฆ์ให้ดีขึ้น ดังปรากฏความในพระราชพงศาวดารว่า

“ที่เกิดเหตุปรากฏว่าพระราชาคณะเป็นปาราชิกหลายรูปคราวนั้น เห็นจะทรงพระวิตกถึงการฝ่ายพระพุทธจักรมาก ปรากฏว่าได้ทรงเผดียงสมเด็จพระสังฆราช (มี) แลสมเด็จพระวนรัตน (อาจ)วัดสระเกษ ให้แต่งหนังสือโอวาทานุสาสนี แสดงข้อวัตรปฏิบัติอันสมควรแก่สมณะมณฑล คัดแจกทั่วไปตามพระอาราม เป็นทำนองสังฆาณัติแลการชำระความปาราชิก ก็สืบสวนกวดขันขึ้นแต่ครั้งนั้นมาจนสิ้นรัชกาลที่ ๒ แลต่อมาในรัชกาลที่ ๓ ด้วย”

หนังสือโอวาทานุสาสนีดังกล่าวนี้โปรดให้แต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๙ มีสาระสำคัญว่าด้วยเรื่องให้พระอุปัชฌาย์ อาจารย์พระราชาคณะถานานุกรมเอาใจใส่สั่งสอนพระภิกษุสามเณรให้อยู่ในจตุปาริสุทธิศีล ๔ ผู้ที่จะเป็นพระอุปัชฌาย์อาจารย์ จะต้องมีความรู้เรื่องพระวินัยและสังฆกรรมเป็นอย่างดี และปฏิบัติให้ถูกต้อง

แต่เป็นที่น่าเสียใจว่า ต่อมาอีก ๓ ปีสมเด็จพระพนรัตน (อาจ) ผู้แต่งหนังสือโอวาทานุสาสนีเอง ก็ต้องอธิกรณ์ ด้วยประพฤติต่อศิษย์ผิดสมณสารูป พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ฯ จึงโปรดให้ถอดจากสมณศักดิ์และไล่จากวัดมหาธาตุ จึงไปอยู่ที่วัดไทรทอง (ซึ่งภายหลังต่อมาได้สร้างเป็นวัดเบญจมบพิตร ดังปรากฏอยู่ในบัดนี้) จนถึงมรณภาพในรัชกาลที่ ๓ สมเด็จพระพนรัตน (อาจ) รูปนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ฯ จะทรงตั้งเป็นสมเด็จพระสังฆราชสืบต่อกันมาจากสมเด็จพระสังฆราช (มี) ถึงกับโปรดให้แห่มาอยู่วัดมหาธาตุแล้ว แต่มาเกิดอธิกรณ์เสียก่อนดังกล่าว [๙] เหตุการณ์ครั้งนี้ คงเป็นเรื่องสะเทือนใจพุทธศาสนิกชน ยิ่งกว่าเมื่อครั้งพระราชาราชคณะ ๓ รูปต้องอธิกรณ์ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น เพราะพระเถระที่ต้องอธิกรณ์ครั้งนี้ เป็นถึงว่าที่สมเด็จพระสังฆราช และเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระยะที่ไม่ห่างกันนัก

พิธีวิสาขบูชาครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์
       พ.ศ. ๒๓๖๐ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ มีพระราชประสงค์จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ให้พิเศษยิ่งกว่าที่เคยทรงปฏิบัติมา จึงทรงมีพระราชราชปุจฉาต่อสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระสังฆราชจึงได้ถวายพระพร ให้ทรงกระทำการสักการะบูชาพระศรีรัตนตรัยในวันวิสาขบูชา เยี่ยงสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าแต่ปางก่อนเคยกระทำมา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ จึงมีพระบรมราชโองการ โปรดให้กำหนดพิธีวิสาขบูชาขึ้น เป็นธรรมเนียมตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๖๐ นั้นเป็นต้นมา นับเป็นการทำพิธีวิสาขบูชาครั้งแรกในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นเหตุให้มีการทำพิธีวิสาขบูชากันสืบมาจนปัจจุบัน เหตุการณ์สำคัญครั้งนี้ นับว่าเป็นสิ่งที่เกิดจากพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระสังฆราช (มี) โดยแท้ นับเป็นพระเกียรติประวัติที่สำคัญครั้งหนึ่ง ของสมเด็จพระสังฆราชพระองค์นั้น

พิธีวิสาขบูชาที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ โปรดให้จัดขึ้นในครั้งนั้นทำอย่างไร พระราชพงศาวดารได้บันทึกไว้ดังนี้ คือ 
           ทำโคมปิดกระดาษ ปักเสาไม้ไผ่ ยอดผูกฉัตรกระดาษ พระราชทานไปปักจุดเป็นพุทธบูชาตามพระอารามหลวงวัดละสี่เสาอย่าง ๑ หมายแผ่พระราชกุศลแก่ข้าราชการ ให้ร้อยดอกไม้มาแขวนเป็นพุทธบูชา ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามทั้ง ๓ วันอย่าง ๑ มีดอกไม้เพลิงของหลวงตั้งจุดเป็นพุทธบูชา ที่หน้าวัดพระศรีรัตนศาสดารามอย่าง ๑ นิมนต์พระสงฆ์ให้อุโบสถศีล และแสดงพระธรรมเทศนาแก่ราษฎร ตามพระอารามหลวงฝั่งตะวันออก ๑๐ วัด ฝั่งตะวันตก ๑๐ วัด เครื่องกัณฑ์เป็นของหลวงพระราชทาน และให้อำเภอกำนันป่าวร้องตักเตือนราษฎร ให้ไปรักษาศีลฟังธรรมและห้ามการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตอย่าง ๑ ทำธงจรเข้ไปปักเป็นพุทธบูชา ตามพระอารามหลวงวัดละคันอย่าง ๑ เลี้ยงพระสงฆ์ในท้องพระโรง พระราชทานสลากภัต แล้วสดัปกรณ์พระบรมอัฐิอย่าง ๑

ปรับปรุงการศึกษาพระปริยัติธรรม
          เหตุการณ์สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง ที่เกิดขึ้นในยุคของสมเด็จพระสังฆราช (มี) คือ การปรับปรุงการศึกษาพระปริยัติธรรม ซึ่งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา มาแบ่งเป็น ๓ ชั้น เรียกว่า บาเรียนตรี บาเรียนโท บาเรียนเอก หลักสูตรที่ใช้เรียนใช้สอบก็คือพระไตรปิฎกทั้ง ๓ คัมภีร์ ได้แก่ พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม มาถึงสมัยรัชกาลที่ ๒ ในระหว่างที่สมเด็จพระสังฆราช (มี) ทรงเป็นมหาสังฆปรินายก (พ.ศ. ๒๓๕๙ - ๒๓๖๒) จึงได้โปรดให้ปรับปรุงการศึกษาพระปริยัติธรรม เพื่อให้ภิกษุสามเณรที่สอบไล่ได้เป็นบาเรียน มีความรู้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยขยายการศึกษาออกไปเป็น ๙ ประโยค ผู้สอบไล่ได้ตั้งแต่ ๓ ประโยคขึ้นไปจึงเรียกว่าเป็นบาเรียน (หรือเปรียญ)

ชั้นบาเรียนที่ปรับปรุงใหม่ในรัชกาลที่ ๒ ดังกล่าวนี้ ก็มีอัตราเทียบได้กับชั้นบาเรียนอย่างเก่าได้ ดังนี้
       ๓ ประโยค จัดเป็นบาเรียนตรี
       ๔, ๕, ๖ ประโยค จัดเป็นบาเรียนโท
       ๗, ๘, ๙ ประโยค จัดเป็นบาเรียนเอก

สำหรับหลักสูตรการสอบ ที่มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา และคงใช้เป็นแบบสืบมาจนถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น คือ
       บาเรียนตรี แปลพระสูตร
       บาเรียนโท แปลพระสูตรและพระวินัย
       บาเรียนเอก แปลพระสูตร พระวินัย และพระอภิธรรม

หลักสูตรพระปริยัติธรรม ที่โปรดให้จัดขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ ๒ นั้น มีดังนี้
       ประโยค ๑, ๒, ๓ แปล ธัมมปทัฏฐกถา
       ประโยค ๔ แปล มังคลัตถทีปนี บั้นต้น
       ประโยค ๕ แปล บาลีมุตตกวินัย วินิจฉัย สังคหะ / สารัตถสังคหะ
       ประโยค ๖ แปล มังคลัตถทีปนี บั้นปลาย
       ประโยค ๗ แปล ปฐมสมันตัปปาสาทิกา
       ประโยค ๘ แปลวิสุทธิมัคคปกรณ์
       ประโยค ๙ แปล สารัตถทีปนี

          หลักสูตรพระปริยัติธรรม ที่จัดขึ้นใหม่เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๒ ในสมัยสมเด็จพระสังฆราช (มี) ดังกล่าวนี้ ได้ใช้เป็นแบบแผนการศึกษาพระปริยัติธรรม ของคณะสงฆ์ไทย สืบมาจนปัจจุบัน โดยมีการเปลี่ยนแปลงในบางประโยคบ้าง เพียงเล็กน้อย และในการปรับปรุงการศึกษาพระปริยัติธรรม ของพระภิกษุสามเณร เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๒ ดังกล่าวนี้ แม้จะไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจน ว่าสมเด็จพระสังฆราช (มี) ทรงเป็นผู้จัดการ แต่ก็คงจะกล่าวได้อย่างไม่ผิดจากความเป็นจริง ว่าสมเด็จพระสังฆราช (มี) คงจักมีส่วนอย่างสำคัญในการจัดการครั้งนี้ เพราะเป็นที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัย และได้จัดการในเรื่องสำคัญ ๆ สนองพระราชดำริเป็นที่เรียบร้อยมาแล้วหลายอย่าง ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ นับเป็นพระเกียรติประวัติที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง ของสมเด็จพระสังฆราชพระองค์นั้น

พระกรณียกิจพิเศษ
          พ.ศ. ๒๓๖๐ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมติเทววงศ์ ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระสังฆราช (มี) เป็นพระราชอุปัธยาจารย์ สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) วัดราชสิทธาราม เป็นพระอาจารย์ถวายสรณะและศีล เมื่อทรงผนวชแล้ว เสด็จไปประทับ ณ วัดมหาธาตุเป็นเวลา ๑ พรรษา จึงทรงลาผนวช

พระอวสานกาล
          สมเด็จพระสังฆราช (มี) ทรงดำรงตำแหน่งมหาสังฆปรินายกอยู่เพียง ๓ ปี กับ ๑ เดือน ระยะเวลาสั้น ๆ ดังกล่าวนี้ ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และคณะสงฆ์ขึ้นหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เหตุการณ์อันเป็นการสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่คณะสงฆ์ ซึ่งทุกเหตุการณ์ สมเด็จพระสังฆราชพระองค์นั้น ได้ทรงมีส่วนอย่างสำคัญในการจัดการให้เรื่องนั้น ๆ สำเร็จลุล่วง หรือผ่านพ้นไปด้วยดี สมเด็จพระสังฆราช (มี) สิ้นพระชนม์เมื่อวันเสาร์ แรม ๗ ค่ำเดือน ๑๐ ปีเถาะเอกศก จุลศักราช ๑๑๘๑ ตรงกับวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๓๖๒ ในรัชกาลที่ ๒ พระชนมายุ ๗๐ พรรษา

ถึงเดือน ๑ โปรดให้ทำเมรุผ้าขาวที่ท้องสนามหลวง แล้วชักพระศพสมเด็จพระสังฆราช (มี) เข้าสู่เมรุ มีวารสมโภช ๓ วัน ๓ คืน พระราชทานเพลิงเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๑ ค่ำเดือน ๑ ตรงกับวันที่ ๒๗
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๖๒





เนื้อหา : หอมรดกไทย และ www.dharma-gateway.com
ภาพประกอบ : www.dhammajak.net

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น