จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

พระองค์ที่ ๗ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

"
พระองค์ที่ ๗ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส [ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ]
พระองค์ที่ ๗ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
[ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ]
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


ประสูติ
          สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ ๒๘ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑ ) อันเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พระมารดา คือ เจ้าจอมมารดาจุ้ย พระสนมโท ต่อมาได้เลื่อนเป็น “ท้าวทรงกันดาล” เป็นตำแหน่งผู้รักษาการคลังใน เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓ ) ทรงประสูติเมื่อ วันเสาร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๕ ค่ำ ปีจอ จุลศักราช ๑๑๕๒ ตรงกับวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๓๓ และมีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชาย วาสุกรี

           สำหรับพระราชบิดาของพระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก นั้น ทรงมีพระนามเดิมว่า ทองด้วง ประสูติที่กรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ.๒๒๗๙ ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อทรงเจริญพระชันษาได้เข้ารับราชการ ทรงเป็นกำลังสำคัญของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีในการกู้บ้านเมือง จนได้เลื่อนยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และต่อมาได้ทรงสถาปนาพระราชวงศ์ขึ้นใหม่ และตั้งราชธานีขึ้นที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.๒๓๒๕ นับเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงครองราชย์เป็นเวลา ๒๗ ปี และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ.๒๓๕๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนี้ นอกจากจะทรงเป็นนักรบที่เก่งกล้าสามารถแล้ว ยังทรงเป็นกวีและนักปราชญ์อีกด้วย

การศึกษา
           สามเณรพระองค์เจ้าวาสุกรี ทรงเป็นศิษย์ในสำนักสมเด็จพระพนรัตน์ (แก้ว) อธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพนฯ ผู้เป็นนักปราชญ์ล้ำลึก และมั่นคงเคร่งครัดในพระธรรมวินัย สมเด็จพระพนรัตน์องค์นี้ เกิดในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กรุงศรีอยุธยา เคยเป็นพระราชาคณะที่พระธรรมเจดีย์ในสมัยกรุงธนบุรี ได้รับมอบหมาย ให้ไปจัดการสังฆมณฑลฝ่ายเหนือที่พิษณุโลก และได้เลื่อนเป็นที่พระพิมลธรรม แต่ต้องโทษในปลายรัชกาล เนื่องจากยึดมั่นในพระธรรมวินัย ไม่โอนอ่อนผ่อนตามพระเจ้ากรุงธนบุรี ต่อมาในรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นสมเด็จพระพนรัตน์ ครองวัดพระเชตุพนฯ และได้เป็นพระอาจารย์ของสามเณรพระองค์เจ้าวาสุกรี ได้ถ่ายทอดพระธรรมวินัย และความรู้ทางด้านภาษาไทย และภาษามคธ บาลี โบราณคดี โหราศาสตร์ และเวทมนตร์ ตลอดทั้งวิธีลงเลขยันต์ต่างๆ สมเด็จพระพนรัตน์องค์นี้ เป็นผู้อ่านประกาศเทวดา และเป็นแม่กองชำระพระอภิธรรมปิฎก ในรัชกาลที่ ๑ นอกจากนี้ได้นิพนธ์หนังสือภาษาบาลีไว้หลายเรื่อง และมีชื่อเสียงโด่งดังในการเทศน์มหาชาติ กัณฑ์ “นครกัณฑ์” ซึ่งบรรดาลูกศิษย์ของท่านก็ได้สืบทอดกันต่อๆ มาหลายรัชกาล

           สามเณรพระองค์วาสกรี ได้ทรงศึกษาอย่างใกล้ชิดกับพระอาจารย์ ทรงได้รับการถ่ายทอดวิทยาการไว้ทั้งหมด รวมทั้งได้รับมอบตำรับตำราพิชัยสงคราม โหราศาสตร์ เวทมนตร์ และพระธรรมวินัยไว้ด้วย จึงทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญแตกฉาน นับได้ว่าเป็นนักปราชญ์ที่ล้ำลึกของยุคต้นรัตนโกสินทร์

          ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้ทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ และได้มีการเชิญอัฐิของสมเด็จพระพนรัตน์ มาบรรจุไว้ในสถูปในบริเวณตำหนักของสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส มีโคลงจารึกเป็นเกียรติไว้ว่า

สถูปเสถียรธาตุไท้ ธิบดี สงฆ์แฮ
วันรัตน์เจ้าจอมชี ชื่ออ้าง
ปรากฏเกียรติมุนี เสนอโลกย ไว้เอย
องค์อดิศวรสร้าง สืบหล้าแหล่งเฉลิม

ผนวชเป็นสามเณร
           เมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๕ ในรัชกาลที่ ๑ กรมพระราชวังหลัง (เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์พระเจ้าหลานเธอ ในรัชกาลที่ ๑ ) ได้เสด็จออกผนวชเป็นพระภิกษุ เมื่อวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ ได้มีเจ้านายตามเสด็จออกผนวชเป็นสามเณร เป็นหางนาคหลวง ๒ พระองค์ คือ พระองค์เจ้าชายวาสุกรีกับพระองค์เจ้าชายฉัตร (กรมหมื่นสุรินทรรักษ์)

ผนวชเป็นพระภิกษุ
          สามเณรพระองค์เจ้าวาสุกรี ประทับจำพรรษาและศึกษาอยู่ในวัดพระเชตุพนฯ จนสิ้นรัชกาลที่ ๑ ขณะนั้นพระชนม์ได้ ๑๙ พรรษา ก็ไม่ทรงสึก เนื่องจากอายุยังไม่ครบผนวชเป็นพระภิกษ ุจึงทรงเป็นสามเณรต่อไป จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒ ) จึงได้ทรงผนวชเป็นพระภิกษุเมื่อปีมะแม พ.ศ.๒๓๕๔ สมเด็จพระสังฆราช (สุก) เป็นพระอุปัชฌาย์ และสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพนฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ทรงได้รับพระสมณฉายาว่า “สุวัณณรังษี”เป็นพระราชาคณะและอธิบดีสงฆ์

          พระองค์เจ้าพระ “สุวัณณรังษี” ทรงผนวชอยู่ได้ ๓ พรรษา สมเด็จพระพนรัตน์อธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพนฯ ก็ถึงแก่มรณภาพ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒ ) เสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดพระเชตุพนฯ พระองค์โปรดแต่งตั้งให้พระองค์เจ้าพระ “สุวัณณรังษี” เป็นพระราชาคณะและอธิบดีสงฆ์ วัดพระเชตุพนฯ

พระอิสริยยศและสมณศักดิ์
           ทรงได้รับเลื่อนเป็นเจ้าต่างกรมครั้งแรก ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒ ) เป็น “กรมหมื่นนุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัติยวงศ์” และดำรงพระยศนี้อยู่จนสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓ )

          เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔ ) เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติแล้ว ทรงมีพระบรมราชโอการประกาศเลื่อน”กรมหมื่นนุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัติวงศ์” ให้ดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก ณ วันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๙ ปีกุน จุลศักราช ๑๒๑๓ (พ.ศ.๒๓๙๔) และได้เลื่อนเป็น

“กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัติยวงศ์ บรมพงศาธิบดี จักรีบรมนาถ ปฐมพันธุมหาราชวรังกูร ปรเมนทรนเรนทร สูรสัมมานาภิสักกาโรดมสถาน อริยสมศีลาจารพิเศษมหาวิมล มงคลธรรมเจดีย์ยุตมุตวาที สุวีรมนุญ อดุลยคุณคุณาธาร มโหฬารเมตตยาภิธยาศรัย ไตรปิฎกกลาโกศล เบญจปดลเศวตฉัตร สิริรัตโนปลักษณ มหาสมนุตตมาภิเศกาภิสิต ปรมุกฤษฐสมณศักดิ์ธำรง มหาสงฆปริณายก พุทธสาสนดิลกโลกุตตมมหาบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฎิภาณ ไวยัติญาณมหากระวี พุทธาทิศรีรัตนตรัยคุณารักษ์ เอกอรรคมหาอนาคาริยรัตน์ สยามาทิโลกยปฎิพันธ พุทธบริษัทเนตร สมณคณินทราธิเบศร์ สกลพุทธจักโรปการกิจ สฤษดิศุภการ มหาปาโมกข ประธานวโรดม บรมนาถบพิตร”

พระเกียรติคุณประกาศ
           ในปี พ.ศ.๒๕๓๒ องค์การยูเนสโก ได้มีมติรับข้อเสนอของคณะผู้แทนไทย ในการประชุมสมัยสามัญครั้งที่ ๒๕ ที่สำนักงานใหญ่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ประกาศยกย่องสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่น ทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก 

           องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศรายชื่อบุคคลสำคัญ ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๓ - ๒๕๓๔ และถวายพระเกียรติคุณ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ในฐานะ ปูชนียบุคคลสำคัญ ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๓ ตามมติที่ประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๒๕ ณ สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ ๑๗ ตุลาคม – ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ และชักชวนให้ประเทศสมาชิก ร่วมจัดกิจกรรมฉลองเนื่องในวันคล้ายวันประสูติครบ ๒๐๐ ปี วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๓

ผลงานด้านวรรณกรรม
           สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ได้ทรงพระนิพนธ์หนังสือต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมากทั้งบทร้อยกรองและร้อยแก้ว สมพระเกียรติที่เป็น “รัตนกวี” ของชาติ วรรณกรรมของพระองค์ นับว่าเป็นสมบัติที่ประมาณค่ามิได้ พระนิพนธ์ต่างๆ มีดังนี้

โคลง
(๑) โคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ
(๒) ลิลิตกระบวนแห่พระกฐินพยุหยาตราทางสถลมารคและชลมารค
(๓) ลิลิตตะเลงพ่าย
(๔) โคลงภาพฤาษีดัดตน
(๕) โคลงภาพคนต่างภาษา
(๖) โคลงกลบท
(๗) โคลงบาทกุญชร และวิวิธมาลี
(๘) โคลงจารึกศาลาหน้าพระมหาเจดีย์ ๒ หลัง
(๙) โคลงจารึกศาลาราย ๑๖ หลัง
(๑๐) ร่ายและโคลงบานแพนก

ฉันท์
(๑) กฤษณาสอนน้องคำฉันท์
(๒) สมุทรโฆษคำฉันท์ ตอนปลาย
(๓) ตำราฉันท์มาตรพฤติและวรรณพฤติ
(๔) สรรพสิทธิคำฉันท์
(๕) ฉันท์สังเวยกล่อมวินิจฉัยเภรี
(๖) จักรทีปนีตำราโหราศาสตร์
(๗) ฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างพัง

ร่ายยาว
(๑) มหาเวสสันดรชาดก (เว้นกัณฑ์ชูชกและมหาพน)
(๒) ปฐมสมโพธิกถา
(๓) ทำขวัญนาคหลวง
(๔) ประกาศบรมราชาภิเศก รัชกาลที่ ๔

กลอน
(๑) เพลงยาวเจ้าพระความเรียง
(๑) พระธรรมเทศนาพระราชพงศาวดารสังเขป
(๒) พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับความสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เล่ม ๑–๒

ภาษาบาลี
           ปฐมสมโพธิกถาฉบับภาษาบาลี มีต้นฉบับอยู่ในหอสมุดแห่งชาติ เป็นพระคัมภีร์ใบลานจำนวน ๓๐ ผูก ผูกละประมาณ ๒๔ หน้า เมื่อปริวรรตเป็นอักษรไทย และแปลออกมาแล้วจะเป็นหนังสือหนาประมาณ ๒,๑๖๐ หน้า หรือประมาณ ๒๗๐ ยก ซึ่งเป็นหนังสือพระพุทธประวัติ ฉบับที่มีขนาดหนาที่สุดในโลก

สิ้นพระชนม์
           สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสฯ ทรงมีพระชนมายุอยู่ในรัชกาลที่ ๔ เพียง ๒ พรรษา ก็ประชวรด้วยพระโรคชรา และสิ้นพระชนม์เมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๙ ค่ำ ปีฉลู เบญจศก จุลศักราช ๑๒๑๕ เวลาบ่าย ๓ โมง ตรงกับวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๙๖ สิริรวมพระชนมายุได้ ๖๔ พรรษา 

           เมื่อพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวงแล้ว รัชกาลที่ ๔ โปรดให้มีตำแหน่งพระครูฐานานุกรม ประจำสำหรับรักษาพระอัฐิ ถึงเวลาเข้าพรรษา ก็เสด็จพระราชดำเนินไปถวายพุ่มบูชาพระอัฐิทุกปี และถึงวันเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน วัดพระเชตุพนฯ ก็โปรดให้อัญเชิญพระอัฐิไปประดิษฐานในอุโบสถ ทรงสักการบูชาแล้วทอดผ้าไตร ให้พระฐานานุกรมสดับปกรณ์พระอัฐิ เป็นประเพณีตลอดมา ตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ จนถึงรัชกาลปัจจุบัน ในรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงประกาศสถาปนา กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสขึ้นเป็น “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส” เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๔





( คัดลอกจาก http://www.watpho.com/wasukri_th.html )
เนื้อหา : หอมรดกไทย และ www.dharma-gateway.com
ภาพประกอบ : www.dhammajak.net

"
พระองค์ที่ ๗ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส [ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ]
พระองค์ที่ ๗ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
[ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ]
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


ประสูติ
          สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ ๒๘ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑ ) อันเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พระมารดา คือ เจ้าจอมมารดาจุ้ย พระสนมโท ต่อมาได้เลื่อนเป็น “ท้าวทรงกันดาล” เป็นตำแหน่งผู้รักษาการคลังใน เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓ ) ทรงประสูติเมื่อ วันเสาร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๕ ค่ำ ปีจอ จุลศักราช ๑๑๕๒ ตรงกับวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๓๓ และมีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชาย วาสุกรี

           สำหรับพระราชบิดาของพระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก นั้น ทรงมีพระนามเดิมว่า ทองด้วง ประสูติที่กรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ.๒๒๗๙ ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อทรงเจริญพระชันษาได้เข้ารับราชการ ทรงเป็นกำลังสำคัญของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีในการกู้บ้านเมือง จนได้เลื่อนยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และต่อมาได้ทรงสถาปนาพระราชวงศ์ขึ้นใหม่ และตั้งราชธานีขึ้นที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.๒๓๒๕ นับเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงครองราชย์เป็นเวลา ๒๗ ปี และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ.๒๓๕๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนี้ นอกจากจะทรงเป็นนักรบที่เก่งกล้าสามารถแล้ว ยังทรงเป็นกวีและนักปราชญ์อีกด้วย

การศึกษา
           สามเณรพระองค์เจ้าวาสุกรี ทรงเป็นศิษย์ในสำนักสมเด็จพระพนรัตน์ (แก้ว) อธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพนฯ ผู้เป็นนักปราชญ์ล้ำลึก และมั่นคงเคร่งครัดในพระธรรมวินัย สมเด็จพระพนรัตน์องค์นี้ เกิดในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กรุงศรีอยุธยา เคยเป็นพระราชาคณะที่พระธรรมเจดีย์ในสมัยกรุงธนบุรี ได้รับมอบหมาย ให้ไปจัดการสังฆมณฑลฝ่ายเหนือที่พิษณุโลก และได้เลื่อนเป็นที่พระพิมลธรรม แต่ต้องโทษในปลายรัชกาล เนื่องจากยึดมั่นในพระธรรมวินัย ไม่โอนอ่อนผ่อนตามพระเจ้ากรุงธนบุรี ต่อมาในรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นสมเด็จพระพนรัตน์ ครองวัดพระเชตุพนฯ และได้เป็นพระอาจารย์ของสามเณรพระองค์เจ้าวาสุกรี ได้ถ่ายทอดพระธรรมวินัย และความรู้ทางด้านภาษาไทย และภาษามคธ บาลี โบราณคดี โหราศาสตร์ และเวทมนตร์ ตลอดทั้งวิธีลงเลขยันต์ต่างๆ สมเด็จพระพนรัตน์องค์นี้ เป็นผู้อ่านประกาศเทวดา และเป็นแม่กองชำระพระอภิธรรมปิฎก ในรัชกาลที่ ๑ นอกจากนี้ได้นิพนธ์หนังสือภาษาบาลีไว้หลายเรื่อง และมีชื่อเสียงโด่งดังในการเทศน์มหาชาติ กัณฑ์ “นครกัณฑ์” ซึ่งบรรดาลูกศิษย์ของท่านก็ได้สืบทอดกันต่อๆ มาหลายรัชกาล

           สามเณรพระองค์วาสกรี ได้ทรงศึกษาอย่างใกล้ชิดกับพระอาจารย์ ทรงได้รับการถ่ายทอดวิทยาการไว้ทั้งหมด รวมทั้งได้รับมอบตำรับตำราพิชัยสงคราม โหราศาสตร์ เวทมนตร์ และพระธรรมวินัยไว้ด้วย จึงทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญแตกฉาน นับได้ว่าเป็นนักปราชญ์ที่ล้ำลึกของยุคต้นรัตนโกสินทร์

          ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้ทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ และได้มีการเชิญอัฐิของสมเด็จพระพนรัตน์ มาบรรจุไว้ในสถูปในบริเวณตำหนักของสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส มีโคลงจารึกเป็นเกียรติไว้ว่า

สถูปเสถียรธาตุไท้ ธิบดี สงฆ์แฮ
วันรัตน์เจ้าจอมชี ชื่ออ้าง
ปรากฏเกียรติมุนี เสนอโลกย ไว้เอย
องค์อดิศวรสร้าง สืบหล้าแหล่งเฉลิม

ผนวชเป็นสามเณร
           เมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๕ ในรัชกาลที่ ๑ กรมพระราชวังหลัง (เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์พระเจ้าหลานเธอ ในรัชกาลที่ ๑ ) ได้เสด็จออกผนวชเป็นพระภิกษุ เมื่อวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ ได้มีเจ้านายตามเสด็จออกผนวชเป็นสามเณร เป็นหางนาคหลวง ๒ พระองค์ คือ พระองค์เจ้าชายวาสุกรีกับพระองค์เจ้าชายฉัตร (กรมหมื่นสุรินทรรักษ์)

ผนวชเป็นพระภิกษุ
          สามเณรพระองค์เจ้าวาสุกรี ประทับจำพรรษาและศึกษาอยู่ในวัดพระเชตุพนฯ จนสิ้นรัชกาลที่ ๑ ขณะนั้นพระชนม์ได้ ๑๙ พรรษา ก็ไม่ทรงสึก เนื่องจากอายุยังไม่ครบผนวชเป็นพระภิกษ ุจึงทรงเป็นสามเณรต่อไป จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒ ) จึงได้ทรงผนวชเป็นพระภิกษุเมื่อปีมะแม พ.ศ.๒๓๕๔ สมเด็จพระสังฆราช (สุก) เป็นพระอุปัชฌาย์ และสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพนฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ทรงได้รับพระสมณฉายาว่า “สุวัณณรังษี”เป็นพระราชาคณะและอธิบดีสงฆ์

          พระองค์เจ้าพระ “สุวัณณรังษี” ทรงผนวชอยู่ได้ ๓ พรรษา สมเด็จพระพนรัตน์อธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพนฯ ก็ถึงแก่มรณภาพ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒ ) เสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดพระเชตุพนฯ พระองค์โปรดแต่งตั้งให้พระองค์เจ้าพระ “สุวัณณรังษี” เป็นพระราชาคณะและอธิบดีสงฆ์ วัดพระเชตุพนฯ

พระอิสริยยศและสมณศักดิ์
           ทรงได้รับเลื่อนเป็นเจ้าต่างกรมครั้งแรก ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒ ) เป็น “กรมหมื่นนุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัติยวงศ์” และดำรงพระยศนี้อยู่จนสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓ )

          เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔ ) เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติแล้ว ทรงมีพระบรมราชโอการประกาศเลื่อน”กรมหมื่นนุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัติวงศ์” ให้ดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก ณ วันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๙ ปีกุน จุลศักราช ๑๒๑๓ (พ.ศ.๒๓๙๔) และได้เลื่อนเป็น

“กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัติยวงศ์ บรมพงศาธิบดี จักรีบรมนาถ ปฐมพันธุมหาราชวรังกูร ปรเมนทรนเรนทร สูรสัมมานาภิสักกาโรดมสถาน อริยสมศีลาจารพิเศษมหาวิมล มงคลธรรมเจดีย์ยุตมุตวาที สุวีรมนุญ อดุลยคุณคุณาธาร มโหฬารเมตตยาภิธยาศรัย ไตรปิฎกกลาโกศล เบญจปดลเศวตฉัตร สิริรัตโนปลักษณ มหาสมนุตตมาภิเศกาภิสิต ปรมุกฤษฐสมณศักดิ์ธำรง มหาสงฆปริณายก พุทธสาสนดิลกโลกุตตมมหาบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฎิภาณ ไวยัติญาณมหากระวี พุทธาทิศรีรัตนตรัยคุณารักษ์ เอกอรรคมหาอนาคาริยรัตน์ สยามาทิโลกยปฎิพันธ พุทธบริษัทเนตร สมณคณินทราธิเบศร์ สกลพุทธจักโรปการกิจ สฤษดิศุภการ มหาปาโมกข ประธานวโรดม บรมนาถบพิตร”

พระเกียรติคุณประกาศ
           ในปี พ.ศ.๒๕๓๒ องค์การยูเนสโก ได้มีมติรับข้อเสนอของคณะผู้แทนไทย ในการประชุมสมัยสามัญครั้งที่ ๒๕ ที่สำนักงานใหญ่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ประกาศยกย่องสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่น ทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก 

           องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศรายชื่อบุคคลสำคัญ ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๓ - ๒๕๓๔ และถวายพระเกียรติคุณ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ในฐานะ ปูชนียบุคคลสำคัญ ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๓ ตามมติที่ประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๒๕ ณ สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ ๑๗ ตุลาคม – ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ และชักชวนให้ประเทศสมาชิก ร่วมจัดกิจกรรมฉลองเนื่องในวันคล้ายวันประสูติครบ ๒๐๐ ปี วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๓

ผลงานด้านวรรณกรรม
           สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ได้ทรงพระนิพนธ์หนังสือต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมากทั้งบทร้อยกรองและร้อยแก้ว สมพระเกียรติที่เป็น “รัตนกวี” ของชาติ วรรณกรรมของพระองค์ นับว่าเป็นสมบัติที่ประมาณค่ามิได้ พระนิพนธ์ต่างๆ มีดังนี้

โคลง
(๑) โคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ
(๒) ลิลิตกระบวนแห่พระกฐินพยุหยาตราทางสถลมารคและชลมารค
(๓) ลิลิตตะเลงพ่าย
(๔) โคลงภาพฤาษีดัดตน
(๕) โคลงภาพคนต่างภาษา
(๖) โคลงกลบท
(๗) โคลงบาทกุญชร และวิวิธมาลี
(๘) โคลงจารึกศาลาหน้าพระมหาเจดีย์ ๒ หลัง
(๙) โคลงจารึกศาลาราย ๑๖ หลัง
(๑๐) ร่ายและโคลงบานแพนก

ฉันท์
(๑) กฤษณาสอนน้องคำฉันท์
(๒) สมุทรโฆษคำฉันท์ ตอนปลาย
(๓) ตำราฉันท์มาตรพฤติและวรรณพฤติ
(๔) สรรพสิทธิคำฉันท์
(๕) ฉันท์สังเวยกล่อมวินิจฉัยเภรี
(๖) จักรทีปนีตำราโหราศาสตร์
(๗) ฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างพัง

ร่ายยาว
(๑) มหาเวสสันดรชาดก (เว้นกัณฑ์ชูชกและมหาพน)
(๒) ปฐมสมโพธิกถา
(๓) ทำขวัญนาคหลวง
(๔) ประกาศบรมราชาภิเศก รัชกาลที่ ๔

กลอน
(๑) เพลงยาวเจ้าพระความเรียง
(๑) พระธรรมเทศนาพระราชพงศาวดารสังเขป
(๒) พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับความสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เล่ม ๑–๒

ภาษาบาลี
           ปฐมสมโพธิกถาฉบับภาษาบาลี มีต้นฉบับอยู่ในหอสมุดแห่งชาติ เป็นพระคัมภีร์ใบลานจำนวน ๓๐ ผูก ผูกละประมาณ ๒๔ หน้า เมื่อปริวรรตเป็นอักษรไทย และแปลออกมาแล้วจะเป็นหนังสือหนาประมาณ ๒,๑๖๐ หน้า หรือประมาณ ๒๗๐ ยก ซึ่งเป็นหนังสือพระพุทธประวัติ ฉบับที่มีขนาดหนาที่สุดในโลก

สิ้นพระชนม์
           สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสฯ ทรงมีพระชนมายุอยู่ในรัชกาลที่ ๔ เพียง ๒ พรรษา ก็ประชวรด้วยพระโรคชรา และสิ้นพระชนม์เมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๙ ค่ำ ปีฉลู เบญจศก จุลศักราช ๑๒๑๕ เวลาบ่าย ๓ โมง ตรงกับวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๙๖ สิริรวมพระชนมายุได้ ๖๔ พรรษา 

           เมื่อพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวงแล้ว รัชกาลที่ ๔ โปรดให้มีตำแหน่งพระครูฐานานุกรม ประจำสำหรับรักษาพระอัฐิ ถึงเวลาเข้าพรรษา ก็เสด็จพระราชดำเนินไปถวายพุ่มบูชาพระอัฐิทุกปี และถึงวันเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน วัดพระเชตุพนฯ ก็โปรดให้อัญเชิญพระอัฐิไปประดิษฐานในอุโบสถ ทรงสักการบูชาแล้วทอดผ้าไตร ให้พระฐานานุกรมสดับปกรณ์พระอัฐิ เป็นประเพณีตลอดมา ตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ จนถึงรัชกาลปัจจุบัน ในรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงประกาศสถาปนา กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสขึ้นเป็น “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส” เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๔





( คัดลอกจาก http://www.watpho.com/wasukri_th.html )
เนื้อหา : หอมรดกไทย และ www.dharma-gateway.com
ภาพประกอบ : www.dhammajak.net

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น