จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

พระองค์ที่ ๖ สมเด็จพระสังฆราช (นาค) [ วัดราชบูรณะ ]

"
พระองค์ที่ ๖ สมเด็จพระสังฆราช (นาค) [ วัดราชบูรณะ ]
พระองค์ที่ ๖ สมเด็จพระสังฆราช (นาค)
[ วัดราชบูรณะ ]
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
( นิตยสารธรรมจักษุ ปีที่ ๘๑ ฉบับที่ ๙ มกราคม ๒๕๔๐ )


พระประวัติในเบื้องต้น 
          สมเด็จพระสังฆราช (นาค) ก็เช่นเดียวกับสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ก่อน ๆ คือ มีพระประวัติเบื้องต้นเป็นมาอย่างไร ไม่ปรากฏหลักฐาน ทราบแต่เพียงว่าประสูติในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ รัชกาลสุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๔ แรม ๔ ค่ำ ปีขาล จ.ศ. ๑๑๒๐ ตรงกับวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๐๑ สันนิษฐานว่า เป็นพระราชาคณะที่ พระนิกรมมุนี มาแต่ในรัชกาลที่ ๑

          ถึงรัชกาลที่ ๒ เลื่อนเป็นพระพรหมมุนี เมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๓๕๙ ในคราวที่ทรงตั้งสมเด็จพระพนรัตน (มี) เป็นสมเด็จพระสังฆราช มีสำเนาประกาศทรงตั้ง ดังนี้

“ศรีศยุภะมัศดุอดีตกาล พระพุทธศักราช ชะไมยะสหัศสังวัจฉะระ ไตรยสตาธฤกษ เอกุนสัฎฐิเตมาศะ ประจุบันกาล มุกสิกสังวัจฉะระสาวนมาศ กาฬปักษยะครุวาระสัตะดฤษถี ปริเฉทกาลอุกฤษฐ สมเด็จบรมธรรมมฤกะ มหาราชารามาธิราชเจ้า ผู้ทรงทศพิธราชธรรม์อะนันตะคุณวิปุลปรีชา อันมหาประเสริฐทรงพระราชศรัทธา มีพระราชโองการมาณพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ดำรัสสั่งพระราชูทิศถาปนาให้พระเทพโมลี เป็นพระพรหมมุนี ศรีวิสุทธิญาณนายกติปิฎกธรา มหาคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี สถิตยะในราชบุรณาวาสวรวิหาร พระอารามหลวง ให้จฤกถฤๅตฤกาลอวยผล พระชนมายุศมะศรีสวัสดิพิพัฒมงคล วิมลทฤฆายุศมะ ในพระพุทธศาสนาเถิด ฯ “

          ต่อมา ในรัชกาลที่ ๒ หรือในรัชกาลที่ ๓ ไม่ทราบแน่ เลื่อนเป็นพระธรรมอุดม ถึงปีชวด พ.ศ. ๒๓๗๓ ในรัชกาลที่ ๓ เลื่อนเป็นสมเด็จพระพนรัตน มีสำเนาประกาศทรงตั้งดังนี้

“ศรีศยุภะมัศดุอดีตกาล พระพุทธศักราช ชะไมยะสหัสสังวัจฉะระ ไตรสัตตาทฤกะเตสัตติสังวัจฉะระ ปัญจมาสะ ปัจจุบันกาล พยัฆสังวัจะระ กฎิกมาศ ศุขปักษย์ เตรัสมีดฤษถีสุกระวาระ ปริเฉทกาลอุกฤษฐ สมเด็จบรมธรรม์มฤกมหาราชารามาธิราชเจ้า ผู้ทรงทศพิธราชธรรม์ อนันตคุณวิบุลปรีชา อันมหาประเสริฐทรงพระราชศรัทธา มีพระราชโองการมาณพระบัณฑูร สุรสิงหนาทดำรัสสั่ง พระราชูทิศถาปนให้พระธรรมอุดม เป็นสมเด็จพระพนรัตนปริยัติวรา วิสุทธิสังฆาปรินายก ติปิฎกธราจารย์ สฤทธิขัติยสารสุนทร มหาคณิศรบวรวามะคณะสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี สถิตย์ ในราชบุรณาวาสวรวิหาร พระอารามหลวง ให้จฤกถฤๅตฤกาล อวยผลพระชนมายุศมะศรีสวัสดิพิพัฒมงคล วิมลทฤฆายุศมะ ในพระพุทธศาสนาเถิด ฯ”

สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
            พ.ศ. ๒๓๘๕ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) สิ้นพระชนม์และพระราชทานเพลิงพระศพ เมื่อเดือน ๔ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ศกนั้น

ครั้น ปีเถาะ เดือน ๖ แรม ๑๑ ค่ำ พ.ศ. ๒๓๘๖ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงตั้งสมเด็จพระพนรัตน (นาค) เป็นสมเด็จพระสังฆราชในราชทินนามว่า สมเด็จพระอริยวงษญาณ มีสำเนาประกาศทรงตั้งดังนี้

“ศิริศยุภมัศดุ อดีตกาลพระพุทธศักราช ชะไมยสหัสสังวัจฉะระ ไตรยสตาธฤกฉะอะสีติ ปัตยุบันกาล สะสะสังวัจฉะระ วิสาขมาศกาฬปักษ์เอกาทศะมีตฤตถี พุทธวาระ ปริเฉทกาลอุกฤษฐ สมเด็จบรมธรรม์มฤก มหาราชาธิราชเจ้าผู้ทรงทศพิธราชธรรม์ อนันตคุณวิบุลปรีชาอันมหาประเสริฐ ทรงพระราชศรัทธา มีพระราชโองการมาณพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ดำรัสสั่งพระราชูทิศถาปนา ให้เลื่อนสมเด็จพระพนรัตนขึ้นเป็น สมเด็จพระอริยวงษญาณปริยัติวราสังฆราชาธิบดี ศรีสมณุตปริณายก ติปิฎกธราจารย์ สฤษดิ์ขัติยสารสุนทร มหาคณฤศรทักษิณา สฤษดิสังฆะ คามวาสีอรัญวาสี เป็นประธานถานาทุกคณานิกรจตุพิธบรรพสัช สถิตย์ในพระศรีรัตนมหาธาตุวรวิหาร พระอารามหลวง (แล้วมีนามองค์อื่นต่อไป ลงท้ายจึงมีพรว่า) ให้จฤกถฤตฤกาลอวยผล พระชนมายุศมศิริสวัสดิพิพัฒมงคลวิมลทฤฆายุ ในพระพุทธศาสนาจงทุก ๆ พระองค์เทอญ ฯ”

           ในประกาศทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราช (นาค) ดังกล่าวข้างต้น ระบุว่าสถิต ณ วัดมหาธาตุ ซึ่งขณะนั้นเรียกว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แต่ในความเป็นจริง สมเด็จพระสังฆราช (นาค) มิได้เสด็จมาสถิต ณ วัดมหาธาตุเพราะขณะนั้นวัดมหาธาตุอยู่ในระหว่างการปฏิสังขรณ์ ครั้งใหญ่ซึ่งต้องรื้อลงแล้วทำใหม่ ดุจสร้างใหม่ทั่วทั้งพระอาราม โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริที่จะให้เป็นที่อยู่จำพรรษา ของภิกษุสามเณรได้ ๑,๐๐๐ รูป ได้เริ่มลงมือปฏิสังขรณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๗ จนสิ้นรัชกาลที่ ๓ ก็ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ดี จนต้นรัชกาลที่ ๔ จึงสำเร็จบริบูรณ์  สมเด็จพระสังฆราช (นาค) จึงสถิต ณ วัดราชบุรณะ จนถึงสิ้นพระชนม์

          ธรรมเนียมการแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ ก็เป็นอันเลิกไปตั้งแต่สมัยของสมเด็จพระสังฆราช (นาค) เป็นต้นมา นับแต่นั้นมา สมเด็จพระสังฆราชเคยสถิตอยู่ ณ พระอารามใด เมื่อก่อนที่จะเป็นสมเด็จพระสังฆราช ก็ยังสถิตอยู่ ณ พระอารามนั้นสืบไป ดังที่ถือปฏิบัติเป็นธรรมเนียมกันต่อมาจนถึงทุกวันนี้

สมณทูตไทยไปลังกา
พระอมราภิรักขิต (เกิด)
          ในสมัยสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) ในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้จัดส่งสมณฑูตไปลังกา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๕ เพื่อสืบข่าวพระศาสนาและยืมคัมภีร์พระไตรปิฎก ในส่วนที่ไทยยังบกพร่อง สมณฑูตชุดนี้ได้เดินทางกลับถึงกรุงเทพฯ ในต้นปี พ.ศ. ๒๓๘๖ อันเป็นปีที่ทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราช (นาค) ครั้นปี พ.ศ. ๒๓๘๗ พระสงฆ์ลังกาฝากหนังสือเข้ามาเตือน หนังสือพระไตรปิฎกที่ยืมมาเที่ยวก่อน ๔๐ พระคัมภีร์ พระบาทสมเด็็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้จัดสมณฑูตออกไปยังลังกาอีกครั้งหนึ่ง นับเป็นครั้งที่ ๒ ในรัชกาลนี้ พระสงฆ์ที่ไปในครั้งนี้ ๖ รูป คือ

๑. พระอมระ (คือ พระอมราภิรักขิต เกิด วัดบรมนิวาส) ซึ่งเคยร่วมไปในสมณฑูตชุดก่อนด้วย
๒. พระสุภูติ (คือพระสมุทรมุนี สังข์) ซึ่งเคยร่วมไปในสมณฑูตชุดก่อนด้วย
๓. พระสังฆรักขิต
๔. พระปิลันทวัชชะ (ในพระราชพงศาวดารเรียกว่า พระปิลินทวัจฉะ)
๕. พระยัญญทัตตะ
๖. พระอาสภะ
๗. สามเณรแก่น เปรียญ (ภายหลังลาสิกขา ได้เป็นพระยาโอวาทวรกิจ) (ในพระราชพงศาวดาร เรียกว่า สามเณรปันขาระ)

           สมณฑูตชุดนี้ ก็เป็นพระภิกษุสามเณรธรรมยุตล้วนเช่นเดียวกับชุดก่อน สมณฑูต ๗ รูป พร้อมด้วยพระภิกษุชาวลังกาอีก ๑ รูป และไวยาวัจกร ๑๐ คน ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ เมื่อเดือน ๑๒ ข้างแรม พ.ศ. ๒๓๘๗ โดยเรือหลวงอุดมเดช และได้กลับมาถึงกรุงเทพฯ ในเดือน ๔ ปีเดียวกัน พร้อมกับได้ยืมหนังสือพระไตรปิฏกเข้ามาอีก ๓๐ คัมภีร์ และในคราวนี้ ได้มีภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ชาวลังกาติดตามมาด้วยถึง ๔๐ คนเศษ

          คัมภีร์พระไตรปิฎกที่ยืมมาคราวนี้ มีอะไรบ้างยังไม่พบหลักฐาน แต่จากความในสมณสันเทศ (จดหมาย) ของพระสงฆ์ลังกา ที่ฝากเข้ามาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งยังทรงผนวชอยู่ และทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารอยู่ในขณะนั้น ปรากฏชื่อคัมภีร์บางส่วนที่พระสงฆ์ได้มาในครั้งนั้น คือ

๑. นามรูปปริเฉท
๒. มหานยสารทีปนี
๓. เอกักขรโกสฎีกา
๔. วัจจวาจฎีกา
๕. สัททัตถรชาลินีฎีกา
๖. วินยวินิจฉยฎีกา
๗. บุราณฎีกาบาลีมุต
๘. นวฎีกามูลสิกขา
๙ บุราณฎีกาอังคุตร
๑๐. ฎีกามหาวงศ์ (๑๐ คัมภีร์นี้ ให้ยืมมา)
๑๑. เภสัชมัญชุสา
๑๒ ชินจริต
๑๓. เรื่องทันตธาตุ

          เป็นที่น่าสังเกตว่า ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ไทยกับลังกา ได้มีการติดต่อกันในทางพระศาสนาค่อนข้างใกล้ชิด ทั้งโดยทางราชการและโดยทางเอกชน ทั้งพระสงฆ์และคฤหัสถ์ชาวลังกา ได้เดินทางเข้ามาประเทศไทยบ่อย ๆ และโปรดให้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงผนวช และทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร อยู่ทำหน้าที่ต้อนรับดูแลพระสงฆ์ลังกา ตลอดถึงจัดสมณฑูตไทยออกไปลังกา ตามพระราชประสงค์ถึง ๒ ครั้ง ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ถึงต้องมีหมู่กุฏิ ไว้รับรองพระสงฆ์ลังกาโดยเฉพาะ เรียกว่าคณะลังกา (คือตรงที่เป็นพระวิหารพระศาสดาในบัดนี้) ดังที่กล่าวไว้ในตำนานวัดบวรนิเวศวิหารว่า

“ครั้งนั้น พระเปรียญ (วัดบวรนิเวศวิหาร) พูดมคธได้คล่อง มีพระลังกาเข้ามา (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) จึงต้องทรงมีหน้าที่เป็นผู้รับรองในราชการ มีคณะไว้สำหรับพระลังกาที่วัด (บวรนิเวศวิหาร) ตั้งอยู่ที่เป็นพระวิหารพระศาสดาในทุกวันนี้ ทรงสื่อสารกับคณะสงฆ์ที่ลังกา บางคราวก็ทรงแต่งสมณฑูตส่งไปลังกาโดยราชการก็มี”

การที่ต้องมีคณะลังกาไว้ที่วัดบวรนิเวศวิหารนั้น แสดงว่าคงมีพระสงฆ์ลังกาเข้ามาพำนักอยู่บ่อยๆ หรือเป็นประจำ และที่น่าสนใจก็คือ พระเปรียญวัดบวรนิเวศวิหารครั้งนั้น ไม่เพียงแต่พูดมคธได้คล่องเท่านั้น แต่บางท่่าน ยังสามารถพูดภาษาอังกฤษได้คล่องอีกด้วย เช่น พระอมระ (คือพระอมราภิรักขิต เกิด) ซึ่งเป็นสมณฑูตไปลังกาถึง ๒ ครั้ง ในรัชกาลที่ ๓ ชาวลังกาก็ชมว่า “พูดได้เหมือนอังกฤษทีเดียว” สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ศรี) ซึ่งเป็นสมณฑูตไปลังกา แต่ครั้งยังเป็นพระราชาคณะที่ พระอโนมศิริมุนี ในรัชกาลที่ ๔ ก็สามารถเทศนาเป็นภาษามคธให้ชาวลังกาฟังได้ อันแสดงให้เห็นว่าการศึกษาภาษาบาลี ของพระสงฆ์ไทยยุคนั้นเจริญก้าวหน้ามาก ทั้งมีความตื่นตัวในการศึกษาภาษาของชาวตะวันตก เช่น ภาษาอังกฤษ เป็นต้นด้วย ทั้งนี้ ก็โดยมีพระสงฆ์สำนักพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดบวรนิเวศวิหารเป็นผู้นำ ซึ่งแบบอย่างอันนี้ได้ตกทอดมา จนถึงยุคของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ในรัชกาลที่ ๕

พระอวสานกาล
          สมเด็จพระสังฆราช (นาค) ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชอยู่ ๕ ปีเศษ สิ้นพระชนม์เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๓๙๒ รวมพระชนมายุได้ ๘๖ พรรษา




เนื้อหา : หอมรดกไทย และ www.dharma-gateway.com
ภาพประกอบ : www.dhammajak.net

"
พระองค์ที่ ๖ สมเด็จพระสังฆราช (นาค) [ วัดราชบูรณะ ]
พระองค์ที่ ๖ สมเด็จพระสังฆราช (นาค)
[ วัดราชบูรณะ ]
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
( นิตยสารธรรมจักษุ ปีที่ ๘๑ ฉบับที่ ๙ มกราคม ๒๕๔๐ )


พระประวัติในเบื้องต้น 
          สมเด็จพระสังฆราช (นาค) ก็เช่นเดียวกับสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ก่อน ๆ คือ มีพระประวัติเบื้องต้นเป็นมาอย่างไร ไม่ปรากฏหลักฐาน ทราบแต่เพียงว่าประสูติในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ รัชกาลสุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๔ แรม ๔ ค่ำ ปีขาล จ.ศ. ๑๑๒๐ ตรงกับวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๐๑ สันนิษฐานว่า เป็นพระราชาคณะที่ พระนิกรมมุนี มาแต่ในรัชกาลที่ ๑

          ถึงรัชกาลที่ ๒ เลื่อนเป็นพระพรหมมุนี เมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๓๕๙ ในคราวที่ทรงตั้งสมเด็จพระพนรัตน (มี) เป็นสมเด็จพระสังฆราช มีสำเนาประกาศทรงตั้ง ดังนี้

“ศรีศยุภะมัศดุอดีตกาล พระพุทธศักราช ชะไมยะสหัศสังวัจฉะระ ไตรยสตาธฤกษ เอกุนสัฎฐิเตมาศะ ประจุบันกาล มุกสิกสังวัจฉะระสาวนมาศ กาฬปักษยะครุวาระสัตะดฤษถี ปริเฉทกาลอุกฤษฐ สมเด็จบรมธรรมมฤกะ มหาราชารามาธิราชเจ้า ผู้ทรงทศพิธราชธรรม์อะนันตะคุณวิปุลปรีชา อันมหาประเสริฐทรงพระราชศรัทธา มีพระราชโองการมาณพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ดำรัสสั่งพระราชูทิศถาปนาให้พระเทพโมลี เป็นพระพรหมมุนี ศรีวิสุทธิญาณนายกติปิฎกธรา มหาคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี สถิตยะในราชบุรณาวาสวรวิหาร พระอารามหลวง ให้จฤกถฤๅตฤกาลอวยผล พระชนมายุศมะศรีสวัสดิพิพัฒมงคล วิมลทฤฆายุศมะ ในพระพุทธศาสนาเถิด ฯ “

          ต่อมา ในรัชกาลที่ ๒ หรือในรัชกาลที่ ๓ ไม่ทราบแน่ เลื่อนเป็นพระธรรมอุดม ถึงปีชวด พ.ศ. ๒๓๗๓ ในรัชกาลที่ ๓ เลื่อนเป็นสมเด็จพระพนรัตน มีสำเนาประกาศทรงตั้งดังนี้

“ศรีศยุภะมัศดุอดีตกาล พระพุทธศักราช ชะไมยะสหัสสังวัจฉะระ ไตรสัตตาทฤกะเตสัตติสังวัจฉะระ ปัญจมาสะ ปัจจุบันกาล พยัฆสังวัจะระ กฎิกมาศ ศุขปักษย์ เตรัสมีดฤษถีสุกระวาระ ปริเฉทกาลอุกฤษฐ สมเด็จบรมธรรม์มฤกมหาราชารามาธิราชเจ้า ผู้ทรงทศพิธราชธรรม์ อนันตคุณวิบุลปรีชา อันมหาประเสริฐทรงพระราชศรัทธา มีพระราชโองการมาณพระบัณฑูร สุรสิงหนาทดำรัสสั่ง พระราชูทิศถาปนให้พระธรรมอุดม เป็นสมเด็จพระพนรัตนปริยัติวรา วิสุทธิสังฆาปรินายก ติปิฎกธราจารย์ สฤทธิขัติยสารสุนทร มหาคณิศรบวรวามะคณะสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี สถิตย์ ในราชบุรณาวาสวรวิหาร พระอารามหลวง ให้จฤกถฤๅตฤกาล อวยผลพระชนมายุศมะศรีสวัสดิพิพัฒมงคล วิมลทฤฆายุศมะ ในพระพุทธศาสนาเถิด ฯ”

สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
            พ.ศ. ๒๓๘๕ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) สิ้นพระชนม์และพระราชทานเพลิงพระศพ เมื่อเดือน ๔ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ศกนั้น

ครั้น ปีเถาะ เดือน ๖ แรม ๑๑ ค่ำ พ.ศ. ๒๓๘๖ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงตั้งสมเด็จพระพนรัตน (นาค) เป็นสมเด็จพระสังฆราชในราชทินนามว่า สมเด็จพระอริยวงษญาณ มีสำเนาประกาศทรงตั้งดังนี้

“ศิริศยุภมัศดุ อดีตกาลพระพุทธศักราช ชะไมยสหัสสังวัจฉะระ ไตรยสตาธฤกฉะอะสีติ ปัตยุบันกาล สะสะสังวัจฉะระ วิสาขมาศกาฬปักษ์เอกาทศะมีตฤตถี พุทธวาระ ปริเฉทกาลอุกฤษฐ สมเด็จบรมธรรม์มฤก มหาราชาธิราชเจ้าผู้ทรงทศพิธราชธรรม์ อนันตคุณวิบุลปรีชาอันมหาประเสริฐ ทรงพระราชศรัทธา มีพระราชโองการมาณพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ดำรัสสั่งพระราชูทิศถาปนา ให้เลื่อนสมเด็จพระพนรัตนขึ้นเป็น สมเด็จพระอริยวงษญาณปริยัติวราสังฆราชาธิบดี ศรีสมณุตปริณายก ติปิฎกธราจารย์ สฤษดิ์ขัติยสารสุนทร มหาคณฤศรทักษิณา สฤษดิสังฆะ คามวาสีอรัญวาสี เป็นประธานถานาทุกคณานิกรจตุพิธบรรพสัช สถิตย์ในพระศรีรัตนมหาธาตุวรวิหาร พระอารามหลวง (แล้วมีนามองค์อื่นต่อไป ลงท้ายจึงมีพรว่า) ให้จฤกถฤตฤกาลอวยผล พระชนมายุศมศิริสวัสดิพิพัฒมงคลวิมลทฤฆายุ ในพระพุทธศาสนาจงทุก ๆ พระองค์เทอญ ฯ”

           ในประกาศทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราช (นาค) ดังกล่าวข้างต้น ระบุว่าสถิต ณ วัดมหาธาตุ ซึ่งขณะนั้นเรียกว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แต่ในความเป็นจริง สมเด็จพระสังฆราช (นาค) มิได้เสด็จมาสถิต ณ วัดมหาธาตุเพราะขณะนั้นวัดมหาธาตุอยู่ในระหว่างการปฏิสังขรณ์ ครั้งใหญ่ซึ่งต้องรื้อลงแล้วทำใหม่ ดุจสร้างใหม่ทั่วทั้งพระอาราม โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริที่จะให้เป็นที่อยู่จำพรรษา ของภิกษุสามเณรได้ ๑,๐๐๐ รูป ได้เริ่มลงมือปฏิสังขรณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๗ จนสิ้นรัชกาลที่ ๓ ก็ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ดี จนต้นรัชกาลที่ ๔ จึงสำเร็จบริบูรณ์  สมเด็จพระสังฆราช (นาค) จึงสถิต ณ วัดราชบุรณะ จนถึงสิ้นพระชนม์

          ธรรมเนียมการแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ ก็เป็นอันเลิกไปตั้งแต่สมัยของสมเด็จพระสังฆราช (นาค) เป็นต้นมา นับแต่นั้นมา สมเด็จพระสังฆราชเคยสถิตอยู่ ณ พระอารามใด เมื่อก่อนที่จะเป็นสมเด็จพระสังฆราช ก็ยังสถิตอยู่ ณ พระอารามนั้นสืบไป ดังที่ถือปฏิบัติเป็นธรรมเนียมกันต่อมาจนถึงทุกวันนี้

สมณทูตไทยไปลังกา
พระอมราภิรักขิต (เกิด)
          ในสมัยสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) ในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้จัดส่งสมณฑูตไปลังกา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๕ เพื่อสืบข่าวพระศาสนาและยืมคัมภีร์พระไตรปิฎก ในส่วนที่ไทยยังบกพร่อง สมณฑูตชุดนี้ได้เดินทางกลับถึงกรุงเทพฯ ในต้นปี พ.ศ. ๒๓๘๖ อันเป็นปีที่ทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราช (นาค) ครั้นปี พ.ศ. ๒๓๘๗ พระสงฆ์ลังกาฝากหนังสือเข้ามาเตือน หนังสือพระไตรปิฎกที่ยืมมาเที่ยวก่อน ๔๐ พระคัมภีร์ พระบาทสมเด็็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้จัดสมณฑูตออกไปยังลังกาอีกครั้งหนึ่ง นับเป็นครั้งที่ ๒ ในรัชกาลนี้ พระสงฆ์ที่ไปในครั้งนี้ ๖ รูป คือ

๑. พระอมระ (คือ พระอมราภิรักขิต เกิด วัดบรมนิวาส) ซึ่งเคยร่วมไปในสมณฑูตชุดก่อนด้วย
๒. พระสุภูติ (คือพระสมุทรมุนี สังข์) ซึ่งเคยร่วมไปในสมณฑูตชุดก่อนด้วย
๓. พระสังฆรักขิต
๔. พระปิลันทวัชชะ (ในพระราชพงศาวดารเรียกว่า พระปิลินทวัจฉะ)
๕. พระยัญญทัตตะ
๖. พระอาสภะ
๗. สามเณรแก่น เปรียญ (ภายหลังลาสิกขา ได้เป็นพระยาโอวาทวรกิจ) (ในพระราชพงศาวดาร เรียกว่า สามเณรปันขาระ)

           สมณฑูตชุดนี้ ก็เป็นพระภิกษุสามเณรธรรมยุตล้วนเช่นเดียวกับชุดก่อน สมณฑูต ๗ รูป พร้อมด้วยพระภิกษุชาวลังกาอีก ๑ รูป และไวยาวัจกร ๑๐ คน ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ เมื่อเดือน ๑๒ ข้างแรม พ.ศ. ๒๓๘๗ โดยเรือหลวงอุดมเดช และได้กลับมาถึงกรุงเทพฯ ในเดือน ๔ ปีเดียวกัน พร้อมกับได้ยืมหนังสือพระไตรปิฏกเข้ามาอีก ๓๐ คัมภีร์ และในคราวนี้ ได้มีภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ชาวลังกาติดตามมาด้วยถึง ๔๐ คนเศษ

          คัมภีร์พระไตรปิฎกที่ยืมมาคราวนี้ มีอะไรบ้างยังไม่พบหลักฐาน แต่จากความในสมณสันเทศ (จดหมาย) ของพระสงฆ์ลังกา ที่ฝากเข้ามาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งยังทรงผนวชอยู่ และทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารอยู่ในขณะนั้น ปรากฏชื่อคัมภีร์บางส่วนที่พระสงฆ์ได้มาในครั้งนั้น คือ

๑. นามรูปปริเฉท
๒. มหานยสารทีปนี
๓. เอกักขรโกสฎีกา
๔. วัจจวาจฎีกา
๕. สัททัตถรชาลินีฎีกา
๖. วินยวินิจฉยฎีกา
๗. บุราณฎีกาบาลีมุต
๘. นวฎีกามูลสิกขา
๙ บุราณฎีกาอังคุตร
๑๐. ฎีกามหาวงศ์ (๑๐ คัมภีร์นี้ ให้ยืมมา)
๑๑. เภสัชมัญชุสา
๑๒ ชินจริต
๑๓. เรื่องทันตธาตุ

          เป็นที่น่าสังเกตว่า ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ไทยกับลังกา ได้มีการติดต่อกันในทางพระศาสนาค่อนข้างใกล้ชิด ทั้งโดยทางราชการและโดยทางเอกชน ทั้งพระสงฆ์และคฤหัสถ์ชาวลังกา ได้เดินทางเข้ามาประเทศไทยบ่อย ๆ และโปรดให้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงผนวช และทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร อยู่ทำหน้าที่ต้อนรับดูแลพระสงฆ์ลังกา ตลอดถึงจัดสมณฑูตไทยออกไปลังกา ตามพระราชประสงค์ถึง ๒ ครั้ง ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ถึงต้องมีหมู่กุฏิ ไว้รับรองพระสงฆ์ลังกาโดยเฉพาะ เรียกว่าคณะลังกา (คือตรงที่เป็นพระวิหารพระศาสดาในบัดนี้) ดังที่กล่าวไว้ในตำนานวัดบวรนิเวศวิหารว่า

“ครั้งนั้น พระเปรียญ (วัดบวรนิเวศวิหาร) พูดมคธได้คล่อง มีพระลังกาเข้ามา (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) จึงต้องทรงมีหน้าที่เป็นผู้รับรองในราชการ มีคณะไว้สำหรับพระลังกาที่วัด (บวรนิเวศวิหาร) ตั้งอยู่ที่เป็นพระวิหารพระศาสดาในทุกวันนี้ ทรงสื่อสารกับคณะสงฆ์ที่ลังกา บางคราวก็ทรงแต่งสมณฑูตส่งไปลังกาโดยราชการก็มี”

การที่ต้องมีคณะลังกาไว้ที่วัดบวรนิเวศวิหารนั้น แสดงว่าคงมีพระสงฆ์ลังกาเข้ามาพำนักอยู่บ่อยๆ หรือเป็นประจำ และที่น่าสนใจก็คือ พระเปรียญวัดบวรนิเวศวิหารครั้งนั้น ไม่เพียงแต่พูดมคธได้คล่องเท่านั้น แต่บางท่่าน ยังสามารถพูดภาษาอังกฤษได้คล่องอีกด้วย เช่น พระอมระ (คือพระอมราภิรักขิต เกิด) ซึ่งเป็นสมณฑูตไปลังกาถึง ๒ ครั้ง ในรัชกาลที่ ๓ ชาวลังกาก็ชมว่า “พูดได้เหมือนอังกฤษทีเดียว” สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ศรี) ซึ่งเป็นสมณฑูตไปลังกา แต่ครั้งยังเป็นพระราชาคณะที่ พระอโนมศิริมุนี ในรัชกาลที่ ๔ ก็สามารถเทศนาเป็นภาษามคธให้ชาวลังกาฟังได้ อันแสดงให้เห็นว่าการศึกษาภาษาบาลี ของพระสงฆ์ไทยยุคนั้นเจริญก้าวหน้ามาก ทั้งมีความตื่นตัวในการศึกษาภาษาของชาวตะวันตก เช่น ภาษาอังกฤษ เป็นต้นด้วย ทั้งนี้ ก็โดยมีพระสงฆ์สำนักพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดบวรนิเวศวิหารเป็นผู้นำ ซึ่งแบบอย่างอันนี้ได้ตกทอดมา จนถึงยุคของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ในรัชกาลที่ ๕

พระอวสานกาล
          สมเด็จพระสังฆราช (นาค) ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชอยู่ ๕ ปีเศษ สิ้นพระชนม์เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๓๙๒ รวมพระชนมายุได้ ๘๖ พรรษา




เนื้อหา : หอมรดกไทย และ www.dharma-gateway.com
ภาพประกอบ : www.dhammajak.net

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น